Thai Name : เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก
Common Name : Besra
Scientific Name : Accipiter virgatus ตัวผู้ : ตาแดง หัวและลำตัวด้านบนน้ำตาลแกมเทาเข้มมากกว่าชนิดอื่นๆ เส้นกลางคอดำ คอและอกตอนบนมีลายขีดหนาสีน้ำตาลเข้ม อกตอนล่างและท้องมีลายขวางค่อนข้างหนาสีส้มแกมน้ำตาล ขณะบินปีกค่อนข้างสั้นและกว้าง ใต้หางมีแถบขวางสีเข้ม 3 แถบชัดเจน
ตัวเมีย : ตาเหลือง ลำตัวด้านบนน้ำตาลแกมดำ หัวและท้ายทอยสีเข้มมากหรือเป็นสีดำแตกต่างจากหลัง
นกวัยอ่อน : จำแนกได้ยากจากเหยี่ยวนกเขาชิเคราและเหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น แต่หัวและท้ายทอยเข้มแตกต่างจากหลัง เส้นใต้คอชัดเจนกว่า ลายขีดที่อกดำ ขณะบินปลายปีกค่อนข้างมน
ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : ป่าดิบ ป่าโปร่ง ที่ราบถึงความสูง 2,000 เมตร
นกประจำถิ่น พบไม่บ่อยชนิดย่อย : -
แหล่งอ้างอิง : คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์ http://www.lowernorthernbird.com/checklist.php?cat_id=30&c_id=234.........................................................
ข้อมูลจากผู้แปล ไว้ใน
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=koklos&month=17-02-2011&group=3&gblog=10 Song Que Ying (ออกเสียงสำเนียงจีนกลางซงเชียะยิง)
Accipiter virgatus (Temminck) 1822
รากศัพท์จากภาษาละติน virgatus=ขีด หมายถึงมีขีด รวมความได้ว่าเหยี่ยวที่มีลาย
ชื่ออังกฤษ Besraชื่ออื่น เองไจ่โฮ้ว (ภาษาท้องถิ่นไต้หวัน) พ๊ะเจี้ยวเอง (ภาษาท้องถิ่นไต้หวัน)
ชื่อไทย เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก (เพิ่มเติมโดยผู้แปล)สถานะภาพ ประจำถิ่น
ขนาด ยาว 25-36 ซม. ปีกกว้าง 51-70 ซม. เทียบสัดส่วนลำตัวและปีก1.9 เทียบสัดส่วนปีกและหาง 0.55
สำหรับเหยี่ยวประจำถิ่นของไต้หวัน เหยี่ยวนกกระจอกเล็กมีขนาดเล็กที่สุด ทั้งยังมีนิสัยซ่อนเล้นอีกต่างหาก มักหลบตามร่มเงาแมกไม้ จึงหาตัวได้ยาก ในความจริงปริมาณและการแพร่กระจายของเหยี่ยวนกกระจอกเล็กนั้นมีมาก อีกทั้งการปรับตัวเข้ากับสภาพป่า หรือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปโดยมนุษย์ได้ง่าย ซึ่งจุดนี้มีความเหมือนกับเหยี่ยวนกเขาหงอน
สิ่งที่ต่างจากกันคือความตื่นกลัวมนุษย์ จะหลีกเลี่ยงเข้าใกล้ชิดมนุษย์ ถึงจะเป็นผู้มากประสบการณ์ในการศึกษาเหยี่ยว บ่อยครั้งกับเหยี่ยวนกกระจอกเล็ก มักเห็นร่างเพียงแค่เงาก่อนที่จะได้ศึกษาอย่างถี่ถ้วน แม้จะขี้อายแต่ชอบส่งเสียงร้องเป็นการเปิดเผยตัวเอง เสียงร้องที่แหลมเล็ก “ชิว---ชิวชิวชิวชิวชิว” พยางค์แรกเสียงยาว พยางค์ที่ตามมาจะรัวเร็ว ดังนั้นแม้จะไม่เห็นตัวก็สามารถบอกได้จากเสียงว่ามีเหยี่ยวนกเขาเล็กอยู่ในบริเวณนั้นๆ
ในการจำแนกมันมีลักษณะใกล้เคียงเหยี่ยวนกเขาหงอน แต่จากอุปนิสัยซ่อนแร้นทำให้จำแนกได้ยาก ทำให้ชุดขนมีอุปสรรคมาก เมื่อศึกษาชุดขนจากตัวอย่าง พบว่ามีชุดขนที่แตกต่างหลากหลาย ชุดขนตามธรรมชาติบ้างจะมีลายขีดกลางอกเด่นและบ้างก็ลางเลือน บ้างก็ลายขีดลายขวางเข้าแทนที่ ม่านตาของตัวผู้มีทั้งส้มเดง และทั้งเหลือง คาดว่าเป็นไปตามอายุขัย
เนื่องจากเมื่อเกาะนิ่งตามกิ่งไม้ยากแก่การจำแนก ดังนั้นการจำแนกมักกระทำได้ง่ายกว่าเมื่อเหยี่ยวบินวนในเวหา แม้ในขณะบินจะใกล้เคียงเหยี่ยววัยเด็ของเหยี่ยวนกเขาหงอน จึงต้องดูให้ละเอียดก่อนฟันธง
ถึงเหยี่ยวนกกระจอกเล็ก จะแฝงตัวซ่อนเล้นในป่าเพียงใด เมื่อผงาดในท้องฟ้านภาเวหา มักจะเป็นผู้ริเริ่มลงมือจู่โจมนกนักล่าชนิดอื่นก่อนเพื่อปกป้องอาณาเขต ภาพของตัวเล็กโจมตีตัวโตจึงเป็นภาพที่มีความหมายพิเศษ ชีวิตของเหยี่ยวนกกระจอกเล็ก จะโดดเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์จับคู่
เวลา
•พบได้ทั้งปี
•แต่เพราะอุปนิสัยซ่อนเร้น ไม่พบบินวนบนท้องฟ้าได้บ่อยนัก จึงหาตัวค่อยข้างยาก
•มีโอกาสพบได้ในช่วงเช้าวันที่มีอากาศอบอุ่น
•เดือนมีนาคมถึงมิถุนายนเป็นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์ จึงมักได้ยินเสียงร้องและพบเห็นได้ง่าย
ถิ่นอาศัย
•พบได้ในระดับความสูง0-2500เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามเขาที่ราบต่ำพบเจอได้ง่าย
•แหล่งพักพิงเหมือนเหยี่ยวนกเขาหงอน ปรับตัวได้กับทุกสภาพป่า และต้องการอาณาเขตไม่มาก เพียงผืนป่าเล้กๆก็อาศัยได้ตลอดไป
•หากไม่ชอบใกล้ชิดมนุษย์ ดังนั้นจึงจำกัดเฉพาะป่าที่ไร้คนเข้าไปถึง
ลักษณะ
• เต็มวัย ใกล้เคียงกันทั้งสองเพศ กะบาลสีเทา
• เพศผู้ตัวเล็กกว่าอย่างชัดเจน ม่านตาสีเหลือง แล้วเข้มจนส้มแดงเมื่อสูงวัย ใบหน้าสีเทา
• เพศเมียม่านตาสีเหลือง ใบหน้าสีน้ำตาล
• หนังคลุมโคนปากเหลืองอมเขียว จะงอยปากสั้น
• หลังสีน้ำตาลเข้ม ใกล้ส่วนคอสีออกเทา
• ท้องสีขาว คอขาวมีขีดกลางคอสีน้ำตาลชัดเจน กลางอกมีลายขวางสีน้ำตาล สีข้างในวัยเด็กลายขีดสีน้ำตาล พออายุมากขึ้นกลายเป็นลายขวาง จนเมื่อเต็มวัยสีน้ำตาลแดง โดยเฉพาะในเพศผู้
• ท้องและแข้งมีขนลายขวางสีน้ำตาลขั้นในระยะเท่ากัน
• ขนหางสีน้ำตาล มีแถบลายขวางสีแถบ ขนคู่นอกสุดมีลายแถบมากกว่า ใต้ขนหางสีขาว
• ขาเปลือย สีเหลือง ขาและนิ้วตีนผอมบาง นิ้วตีนกลางยาวเป็นพิเศษ
• ปีกสั้นหางยาว ปลายปีกยาวหนึ่งส่วนสามของหาง
• วัยเด็ก แผ่นหลังน้ำตาลอ่อนกว่า
• ม่านตาสีเหลืองอมเขียวหรืออมเทา
• ส่วนอกสีน้ำตาลเหลืองอ่อน เป็นรูปหยอดน้ำไม่เป็นระเบียบขนาดไม่สม่ำเสมอ ส่วนท้องเป็นรูปคล้ายหัวใจ
• เมื่อขึ้นปีที่สองจึงจะมีสีสันเหมือนตัวเต็มวัย
ลักษณะบิน
• ปีกสั้นมน ท้องปีกเป็นร่องมนชัดเจน
• นิ้วมือทั้งห้ายืดออกชัดเจน ดูคล้ายนิ้วสั้น
• ปลายขนปีกปฐมภูมิทั้งห้าจัดเรียงตัวกันเป็นแนวตรง ดูเหมือนหดเข้าหากันระหว่างปลายนิ้วและขนทุติยภูมิ
• หางยาว ปลายหางตัดเรียบ แผ่ออกเป็นรูปพัด
• เมื่อมองในระยะไกล ชุดขนใต้ท้องออกทึบ สังเกตไม่เห็นขนคลุมใต้หางสีขาว
• ในขณะบินวนยกแขนปีกระนาบเดียวกัน ปลายแขนโค้งขึ้นเล็กน้อย
• มักกระพือปีกสลับกับการร่อน กระพือปีกเร็วและลึก
• ใช้เวลากลางอากาศไม่นาน ทิศทางไม่แน่นอนและมักผลุบเข้าแมกไม้
เปรียบเทียบชนิดอื่น
• ขนาดของเหยี่ยวนกเขาหงอนใหญ่และบึกบึนกว่า หัวออกเหลี่ยม จะงอยปากยาว ขาและตีนหนาสั้น ท่วงท่าบินคล้ายกัน แต่ปลายนิ้วไม่ยืดออก ขอบปลายปีกมนเสมอกัน ท่วงท่าการบินหนักแน่นสม่ำเสมอ มักกดปีกเขย่าสั่น
• เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่นขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย แผ่นหลังของตัวผู้ สีออกน้ำเงินอมเทา ขีดกลางคอแคบไม่เด่นชัด ลาดขวางส่วนอกแคบเล็ก สีขนอ่อนกว่า ในขณะบินปีกแคบยาว นิ้วเหยียดออกชัดเจน หางสั้น
• เหยี่ยวท้องแดงวัยเด็กน่องหยาบสั้น ลายอกเป็นดวงหยาบไม่แน่น ใต้ปีกไม่มีลาย ในขณะบินแคบยาว ปลายปีกแหลม ขอบปีกเรียบไม่กลมมน หางค่อนข้างสั้น
แปลจาก
Lin,Wen Horn and Cheng, Civi. 2006. A field Guide to the Raptors of Taiwan. p.100-103 Yuan-Liou Publishing Company
original Chinese edition "A Field Guide to the Raptors of Taiwan " /text by Wen-Horn Lin; illustration by Civi Cheng/Yuan-Liou Publishing Company
http://www.ylib.com .......................................................