Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
» Make Tonight Unforgettable: Casual Dating Awaits You in Your Town
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptySun Nov 17, 2024 9:24 pm by nfcner

» Looking for Fun? Connect with Women Seeking Casual Encounters in Your City
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyFri Nov 15, 2024 10:41 pm by nfcner

» Beautiful Womans from your town - Authentic Maidens
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyTue Oct 08, 2024 7:44 pm by nfcner

» Find Pretty Womans from your city for night - Verified Ladies
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyWed Oct 02, 2024 1:10 am by nfcner

» Find Beautiful Womans in your town for night
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyWed Jul 24, 2024 8:15 am by nfcner

»  Cassin's hawk-eagle (Aquila africana)
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyTue May 28, 2024 3:30 pm by SFC.Thai

» Ornate Hawk-Eagle
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyMon Jan 17, 2022 7:31 pm by SFC.Thai

» โรคนิวคาสเซิล (Newcastle Disease)
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptySat Apr 04, 2020 5:59 pm by SFC.Thai

» จำหน่อย กระดิ่ง ทองเหลืองแกะลาย คุณภาพเสียงดี
การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyThu Aug 01, 2019 5:22 pm by SFC.Thai

Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum

สร้างหัวข้อใหม่   ตอบ
 

 การเลี้ยงหนูไมค์

Go down 
3 posters
ผู้ตั้งข้อความ
ZERK18
SFC_members
SFC_members
ZERK18


จำนวนข้อความ : 220
Points : 344
Join date : 16/08/2010
Age : 35
ที่อยู่ : BKK-Rajaburi

การเลี้ยงหนูไมค์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: การเลี้ยงหนูไมค์   การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyThu Feb 10, 2011 2:35 pm

1.
ชื่อ : Mouse
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mus Musculus
สายพันธุ์ : ICR
แหล่งที่มา : ประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ.1980)
2. ข้อมูลทางชีววิทยา
น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัย : เพศผู้ 25-40 กรัม
: เพศเมีย 20-35 กรัม
น้ำหนักลูกแรกเกิด : 1-1.5 กรัม
อายุขัยเฉลี่ย : 2-2.5 ปี
อายุที่ใช้ผสมพันธุ์ : เพศผู้ 6-8 สัปดาห์ (นน. 25-40 กรัม)
: เพศเมีย 6-8 สัปดาห์ (นน. 25-35 กรัม)
วงรอบการเป็นสัด : 4-5 วัน
ระยะเวลาเป็นสัด : 10 ชั่วโมง
ระยะเวลาตั้งท้อง : 19-21 วัน
อายุลูกสัตว์หย่านม : 19-21 วัน
ขนาดครอก : 1-23 ตัว (เฉลี่ย 14 ตัว)
การลืมตาหลังคลอด : 12 วันหลังคลอด
จำนวนเต้านม : 5 คู่ (หน้าอก 3 คู่, หน้าท้อง 2 คู่)
ปริมาณการกินอาหาร : 3-6 กรัม/ตัว/วัน (โตเต็มวัย)
ปริมาณการกินน้ำ : 3-8 มิลลิลิตร/ตัว/วัน (โตเต็มวัย)

4. การจัดการงานเลี้ยงสัตว์
4.1. ระบบการผสมพันธุ์
หนูเม้าส์ของสำนักฯ มีระบบการผสมพันธุ์ 2 ระบบ ดังนี้
1. Rotation mating system สำหรับการสืบสายพันธุ์ในกลุ่มพ่อแม่พันธุ์ (Foundation stock)
2. Random mating system เป็นการผสมพันธุ์เพื่อบริการ (Production stock)
4.2 สภาพแวดล้อม
มีการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในห้องเลี้ยงให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น อัตราการระบายอากาศและอื่นๆ ดังนี้
- อุณหภูมิ 23 ± 2 ํC
- ความชื้นสัมพัทธ์ 55±10 % RH
- การระบายอากาศ 15-20 รอบต่อชั่วโมง
- มีแสงสว่าง 12 ชั่วโมง มืด 12 ชั่งโมง
- ควบคุมเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล
4.3 การให้อาหารและน้ำ
สำนักฯ ให้อาหารเบอร์ 082 ที่ผลิตโดยบริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งผลิตตามข้อกำหนดของสำนักฯจะให้อาหารอย่างเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน
สำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทดลอง จะเป็นน้ำ RO ที่ผสมคลอรีนในระดับความเข้มข้น 10 – 12 ppm. เพื่อให้ปราศจากเชื้อ ผ่านการฆ่าเชื้อ Pseudomonas aeruginosa อย่างเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน
4.4 การใช้วัสดุรองนอน
ใช้ขี้กบ (Wood shaving) เป็นวัสดุสำหรับรองนอนของสัตว์ทดลองซึ่งผ่านการอบนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 135 ํC เป็นเวลา 7 นาที
ICR mouse
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
. จุลชีววิทยา (Microbiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านแบคทีเรีย , ไวรัส , เชื้อรา , ปรสิต เป็นต้น
. พยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาเนื้องอก (Oncology), ศึกษาเปรียบเทียบพยาธิสภาพของโรคต่างๆ (Comparative pathology study) เป็นต้น
. เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing) , ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing) , การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
. สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ เป็นต้น




ที่มา : http://www.nlac.mahidol.ac.th/nlacwwwtha/spec_outMouse.htm

การเลี้ยงหนูไมค์ Mouse
การเลี้ยงหนูไมค์ ThaisellingP7786602-1
การเลี้ยงหนูไมค์ P7343233n3
การเลี้ยงหนูไมค์ Ellie's%20Litter%20010

ตัวนี้เป็นหนูไมค์ซาติน(ขนสวยเงางามมาก)
การเลี้ยงหนูไมค์ Img4839n
การเลี้ยงหนูไมค์ MOUSERedSatinBroken
การเลี้ยงหนูไมค์ YellowVariations
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://www.facebook.com/zerk18
ZERK18
SFC_members
SFC_members
ZERK18


จำนวนข้อความ : 220
Points : 344
Join date : 16/08/2010
Age : 35
ที่อยู่ : BKK-Rajaburi

การเลี้ยงหนูไมค์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: การเลี้ยงหนูไมค์   การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyThu Feb 10, 2011 2:37 pm

การเลี้ยงหนู


หนู mice เป็นหนูที่มีลักษณะของความใจดีมากมากครับ เป็นหนูขนาดเล็กที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ง่ายหาก แต่ติดปัญหาเรื่องของความเหม็นอย่างเดียวเท่านั้นครับ แม่หนูมีช่วงระยะการเป็นสัด 4-5 วันครับ อุณหภูมิที่เหมาะกันการเลี้ยงอยู่ที่ 25 +- 2 คับ (ตามทฤษฏี) แต่ที่บ้านผมก็อุณหภูมิปกติเนี้ยแหละครับ ลูกก็จะได้น้อยหน่อย ตามทฤษฏีได้ ถึง 12-14 ตัว แต่ส่วนใหญ่ผมได้ 6-10 ตัวเองครับ

สถานที่เลี้ยง ก็ไม่ต้องอะไรมากครับ ให้เป็นลักษณะเงียบๆดีที่สุดคับแบบไม่ให้มีอะไรไปรบกวน ควรเก็บไว้ในมุมที่แสงส่องไม่ถึง มีอุณหภูมิ ต่ำครับ หรือเย็นนั่นเอง หากไม่เย็น หนูจะกินอาหารและน้ำมากเนื่องจากความเครียดครับ และจากความเครียดนี้เอง พ่อและแม่หนูกินลูกมันด้วยครับ แสงส่องไม่ถึงแต่ต้องมีช่วงสว่างช่วงมืดนะครับ ไม่ใช่ไม่มีแสงมือทั้งวันก็ไม่ได้ครับ ช่วงแสงมีความสำคัญกับกิจวัตรของหนูครับ มีผลกับช่วง เป็นสัดของหนูด้วยครับ ช่วงที่ใช้เป็นมาตรฐานก็คือ สว่าง 12 มืด 12 ชั่วโมง


กล่องที่เลี้ยง ก็ให้มี ลักษณะของ ปลอดโปร่งครับ ให้อาการถ่ายเทได้อย่างสบายและสามารถป้องกันการหลบหนีได้ หากจะใช้ตะแกรงในการป้องกันก็ต้องใช้ตะแกรงที่มีขนาดความกว้างของช่องเล็กหน่อยครับ หากหนูรอดหัวออกได้ตัวมันก็จะออกได้ทั้งตัวครับ หากที่บ้านมีหมามีแมวก็เสร็จแน่ครับ (รูปกล่องเลี้ยงหนูและวิธีการทำกล่องเลี้ยงหนูอย่างง่าย)

เรื่องของอาหาร มันกินอะไรก็ได้ครับ อะไรที่คนกินได้มันก็สามารถกินได้หมด แต่ไม่ใช่ แกงป่า แผนง ต้มยำนะคับ ผมหมายถึง ผัก ผลไม้ ขนมปัง แล้วก็เมล็ดธัญญพืชต่างต่างครับ ที่ผมเลี้ยงอยู่นั้นผมใช้ผักบุ้งที่มีอยู่มากมายตามคลองแถวบ้าน ผสมกับข้าวสุกครับ ถ้าจะให้เจ๋งจริงๆต้องใช้ข้าวกล้อง เอาสองอย่างนี้มาผสมกัน อัตราส่วนประมาณ ผักบุ้ง 80/ข้าว 20 หรืออาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้คับไม่เครียดคับที่ผมให้ข้าวน้อยกว่าเพราะว่าเปลืองครับ อาหารเสริมก็อาจจะมีบ้างครับเช่น ถั่วเขียว หรือถั่วเหลืองครับ

เรื่องของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ก็สามารถไปนั่งเลือกได้ที่ร้านเลยครับว่าจะเอาสีไหน ลายไหนยังไงครับ ส่วนวิธีเลือกถ้าคุณจะเอาไปให้งูกินก็ไม่มีอะไรมากมายครับ แต่ถ้าจะเอามาทำพันธุ์ก็ให้เลือกตัวที่ขนสวยๆขนเกรียนหน่อยครับ หางไม่หงิกงอ หางไม่มีลักษณะเป็นปล้องๆครับ พวกนี้เป็นอาการของเลือดชิดครับ หรือพี่น้องผสมกันเองทำให้ได้ลูกออกมาเป็นแบบนี้ ครับ ขนที่หัวไม่มีลักษณะฟูเพราะถ้าขนฟูนี่ ไม่นานมันก็จะตายครับ

เริ่มต้นเลี้ยงหนูก็ให้หาวัสดุรองพื้นมารองก่อนคับเพื่อจะดูดซึมฉี่ของหนูครับ อาจจะใช้ขี้เลื่อย หรือแกลบก็ได้ครับของฟรีด้วย อีกอย่างที่หลายคนบอกว่าดูดกลิ่นดีนักแลคือ ดินครับ นำวัสดุรองพื่นมารองสูง สัก 2-3 cm ครับ อย่าให้มากไปหรือน้อยไปครับ มากไปมันก็จะคุ้ยไปที่ขวดน้ำทำให้น้ำไหลไม่หยุด แล้วหนุเราก็จะได้ว่ายน้ำกันล่ะ ส่วนถ้าน้อยไปก็จะดูดซึมฉี่หนูได้ไม่ดีครับ หลังจากรองพื่นแล้วก็ให้นำหนู ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 3 ตัวใส่กล่อง ปิดตะแกรง แล้วรอลูกมันได้เลยครับ

หลังจากที่เราเอาหนูใส่ไปแล้วอีกประมาณ 2 เดือนมันก็จะเริ่มผสมพันธุ์กันครับ แล้วก็จะเกิดการปฏิสนธิภายใน1 วัน แล้วมันก็จะเริ่มตั้งท้อง ใช้ระยะเวลา 20 วัน เมื่อเราเห็นแม่ของหนูตั้งท้องซึ่งสังเกตได้ง่ายมากมากจากท้องที่โตขึ้นอย่างกะท้องมาร ก็ให้เราแยกออก จากตัวอื่นๆครับ หลังจากการคลอดครอกแรกของแม่หนู แม่หนูอาจจะกินลูกหนูบ้างนะคับเพราะว่าเค้าไม่รู้คับว่านี่มันตัวอะไร ที่มันกัดก็เพราะว่าตอนลูกหนูออกมาแม่หนูทำการตัดสายรกและกินรกของลูกหนู บางทีอาจจะกินเกินเลยเถิดไปถึงลูกหนูครับ ซึ่งแม่มันกินไม่กี่ตัวก็อิ่มแล้วครับ หากเราไม่แยกออกมา จะมีตัวอื่นช่วยกินอีกเยอะ เราก็จะไม่ได้ลูกหนูสักตัว แล้วรอลูกหนูประมาณ 18-20 วันครับก็สามารถแยกลูกออกจากแม่มันครับ


หลังจากครอกแรกแล้วแม่หนูก็จะรู้เองครับว่า ตัวที่ออกมานั้นเป็นลูกของมันเอง เมื่อแม่หนูทำการคลอดครอกที่สองส่วนใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องแยกอีกต่อไปครับ(แล้วแต่แม่หนูด้วยนะครับ บางตัวของผมคลอดมา 5 ครอกแล้วยังกัดลูก ขาขาด หางขาด กินเหลือครึ่งเดียวอยู่เลยก็มี) แต่ถ้าแม่หนู ตัวที่คลอดเกิดตายลง ให้เอาลูกหนูไปฝากแม่หนูตัวอื่นเลี้ยงได้เลยครับรับรองมันไม่กัด ถ้าเป็น hamster ทำอย่างนี้ไม่ได้นะครับเนี้ย

ปัญหาคือ เราจะเอาแม่หนูใส่คืนกลับไปในกล่องได้ยังไง ให้เอากล่องใหม่ที่ทำความสะอาด ปราศจากกลิ่นหนูตัวอื่นมาใส่วัสดุรองพื้นแล้วเอาหนูกล่อง พ่อแม่ที่อยู่ในกล่องเดิมใส่ไปครับ แล้วเอาแม่หนู ไปใส่กล่องที่ พ่อแม่พวกนั้นเคยอยู่ แล้วให้จับหางแม่หนูไว้ ไม่ให้หนีแล้วหาที่ตัก ขี้เลื่อยราดไปบนตัวแม่หนูเพื่อให้ได้กลิ่นเดียวกันกับ พ่อแม่กล่องเดิม แล้วจึงจับแม่หนูตัวนี้ใส่รวมกับตัวอื่น
แล้วให้รอดูอาการสักพักคับ ตัวอื่นจะเข้ามาดมหรือมีการกัดบ้างคับ ถ้าผ่านไปสัก 1 นาทียังไล่กัดกันก็ให้เอาอาหารใส่เข้าไปครับแล้วเดี๋ยวก็จะหยุดเองครับ

พอครอกที่สองคลอดภายใน 1 วัน แล้วหากเราไม่ได้แยกแม่หนู แม่หนู่ก็จะพร้อมที่จะการผสมพันธุ์ใหม่สำหรับครอกสามทันทีครับ อีกอย่างครับระหว่างที่แม่หนูให้นมลูกอยู่นั้น ควรให้อาหารอย่างพอเพียงด้วยนะคับ คิดดูว่าต้องกินกันกี่ตัว แม่หนู 1 ลูกอีก 10 ตัว ระหว่างที่แม่หนูให้นมแม่หนูจะกินอาหารมากกว่าเดิมเป็น 2-3 เท่าเลยครับ แบบกินไม่ยั้ง

ข้อควรระวัง อาหารอย่าให้ขาด น้ำสะอาดอย่าให้ขาด ไม่งั้น ซากศพเกิดแน่นอนคับ เพราะถ้าหนูที่น่ารักกินไม่พอ มันจะกลายเป็นปีศาจ ไล่กัดกินเพื่อนร่วมกล่องแน่นอนครับ สยองสุดสุด
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://www.facebook.com/zerk18
ZERK18
SFC_members
SFC_members
ZERK18


จำนวนข้อความ : 220
Points : 344
Join date : 16/08/2010
Age : 35
ที่อยู่ : BKK-Rajaburi

การเลี้ยงหนูไมค์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: การเลี้ยงหนูไมค์   การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyThu Feb 10, 2011 2:39 pm

ขึ้นไปข้างบน Go down
https://www.facebook.com/zerk18
nfcner
VIP_members
VIP_members
nfcner


จำนวนข้อความ : 887
Points : 1054
Join date : 17/07/2010
ที่อยู่ : เนินดิน อุบลฯ

การเลี้ยงหนูไมค์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: การเลี้ยงหนูไมค์   การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyThu Feb 10, 2011 3:33 pm

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล ไม่ต้องไปค้นหาข้อมูลที่อื่นให้เสียเวลา เข้ามาที่นี่จบเลย ไม่ว่าเรื่องชนิดนกเหยี่ยว เรื่องอาหาร เรื่องโรค และเทคนิคการฝึกต่างๆ ฯลฯ แฮะๆๆๆๆ thank Very Happy cheers
ขึ้นไปข้างบน Go down
ongnisuka
New members.
New members.
ongnisuka


จำนวนข้อความ : 156
Points : 182
Join date : 12/10/2010
ที่อยู่ : อ.ไทรน้อย นนทบุรี

การเลี้ยงหนูไมค์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: การเลี้ยงหนูไมค์   การเลี้ยงหนูไมค์ EmptyThu Feb 10, 2011 4:23 pm

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
การเลี้ยงหนูไมค์
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณสามารถพิมพ์ตอบได้
Siam Falconry Club :: สุขภาพ อาหาร การดูแล สุขาภิบาล Care and Prevention-
สร้างหัวข้อใหม่   ตอบไปที่: