ชื่อสามัญ
เหยี่ยวขาว Black-shouldered Kite
วงศ์
Accipitridea
ชื่อวิทยาศาสตร์
Elanus caeruleus
ถิ่นอาศัย เหยี่ยวขาวมีการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา ยูเรเซียตอนใต้ อินเดีย จีนด้านตะวันตกและตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนนีเซีย ฟิลิปปินส์ และนิวกินี
ลักษณะ ปากแหลมคม ปลายปากขอหัวใหญ่ คอสั้น ปีกยาว25.9-28.7 ซม. ปลายปีกแหลม หางยาวเรียว ปลายหางตัด ขาและนิ้วแข็งแรง เล็บแหลมคม ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน แต่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ขณะร่อนกลางอากาศจะเห็นขนปลายปีกสีเข้มตัดกับสีขาวของลำตัว ปลายปีกแหลมหักเป็นมุมและหางตัดชัดเจน ในธรรมชาติ ขณะเกาะจะเห็นช่วงไหล่สีดำ ตัวไม่เต็มวัยสีสันคล้ายคลึงกับตัวเต็มวัย แต่ลำตัวด้านบนมีลายสีน้ำตาลอ่อนประปราย อกสีน้ำตาลอ่อน
ขนาด เป็นนกขนาดเล็กจนถึงขนาดเล็ก-กลาง (28-35 ซม.)
อุปนิสัย มีกิจกรรมและการหากินในเวลากลางวัน อาศัยอยู่ตามทุ่งโล่ง ทุ่งนา ป่าละเมาะและบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำทั่วไป ปกติพบอยู่โดดเดี่ยว ชอบเกาะตามสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขบริเวณสองข้างถนน บางครั้งเกาะกิ่งไม้ในบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งกิน เวลาหากินมักร่อนกลางอากาศไปเรื่อย ๆ ในระดับที่ไม่สูงนัก ไม่ร่อนเป็นวงกลมอย่างอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นเหยี่ยวชนิดเดียวในวงศ์นี้ที่บินอยู่กับที่ โดยการเหยียดขาลงข้างล่าง ลำตัวเกือบตรง กระพือปีกค่อนข้างเร็ว และก้มหัวลงมองข้างล่างเพื่อหาเหยื่อ
อาหาร เหยี่ยวขาวเป็นนกล่าเหยื่อ ซึ่งได้แก่นกขนาดเล็กต่าง ๆ โดยเฉพาะนกที่หากินตามพื้นดินหรือชายน้ำ เช่น นกชายเลน นกอัญชัน นกหัวโต นกเขา เป็นต้น บางครั้งก็บล่านกที่กำลังบิน นอกจากนี้มันอาจล่าสัตว์อื่นด้วย เช่น กบ เขียด กิ้งก่า จิ้งเหลน สัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ เป็นต้น มันล่าเหยื่อด้วยการเกาะตามสายไฟฟ้า สายโทรเลข หรือกิ่งไม้ ร่อนกลางอากาศ หรือบินอยู่กับที่กลางอากาศ ตาคอยจ้องหาเยื่อ ซึ่งเห็นได้แม้ระยะทางไกล เมื่อพบเหยื่อกินเป็นชิ้น ๆ สำหรับเหยื่อที่เป็นนก มันอาจให้ปากถอนขนก่อน
การแพร่พันธุ์ เหยี่ยงขาวทำรังวางไข่ในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม และอาจทำรังในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
สถานภาพ เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางในทุกภาคของประเทศ เหยี่ยวขาวจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือชุด นกเมืองไทย ของ คุณโอภาศ ขอบเขตต์