Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
» Make Tonight Unforgettable: Casual Dating Awaits You in Your Town
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptySun Nov 17, 2024 9:24 pm by nfcner

» Looking for Fun? Connect with Women Seeking Casual Encounters in Your City
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyFri Nov 15, 2024 10:41 pm by nfcner

» Beautiful Womans from your town - Authentic Maidens
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyTue Oct 08, 2024 7:44 pm by nfcner

» Find Pretty Womans from your city for night - Verified Ladies
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyWed Oct 02, 2024 1:10 am by nfcner

» Find Beautiful Womans in your town for night
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyWed Jul 24, 2024 8:15 am by nfcner

»  Cassin's hawk-eagle (Aquila africana)
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyTue May 28, 2024 3:30 pm by SFC.Thai

» Ornate Hawk-Eagle
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyMon Jan 17, 2022 7:31 pm by SFC.Thai

» โรคนิวคาสเซิล (Newcastle Disease)
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptySat Apr 04, 2020 5:59 pm by SFC.Thai

» จำหน่อย กระดิ่ง ทองเหลืองแกะลาย คุณภาพเสียงดี
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyThu Aug 01, 2019 5:22 pm by SFC.Thai

Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum

สร้างหัวข้อใหม่   ตอบ
 

 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535   พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyTue Aug 10, 2010 10:26 am

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ได้มีการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติฉบับเดิม มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 15 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับนี้มีการอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะได้ เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดได้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ที่มีจำนวนน้อยและใกล้สูญพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นการเสริมรายได้ของประชาชน แต่ไม่มีผลกระทบที่จะทำให้สถานการณ์การสูญพันธุ์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มโทษต่อการกระทำความผิดให้สูงขึ้น ดังสาระสำคัญของกฎหมายตามที่ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริม การอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ได้รวบรวมไว้ ดังนี้

- ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515
- ยกเลิกใบอนุญาตต่างๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเดิมทั้งหมด
- สำหรับกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเดิมให้ใช้ ต่อไป หากไม่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติฉบับนี้จนกว่าจะมี กฎ ระเบียบ และประกาศฉบับใหม่ออกมาใช้บังคับ เช่น ชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเดิมยังคงให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ไปก่อน
- คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เดิมมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีบทบาทมากขึ้น เช่น การออกกฎระเบียบต่างๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ
- ในส่วนของการอนุญาตต่างๆ เจ้าหน้าที่จะต้องรีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน หากไม่เสร็จให้ถือว่าอนุญาตไปโดยปริยาย ซึ่งพระราชบัญญัติเดิมไม่เคยบัญญัติไว้
- ผู้มีหน้าที่ควบคุมตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ คือ กรมป่าไม้และกรมประมง (เดิมมีเพียง กรมป่าไม้) โดยกรมประมงมีอำนาจเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำ เท่านั้น
- มีการเพิ่มโทษให้สูงขึ้นจากเดิม
- ห้ามล่าสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองในทุกกรณี นอกจากล่าเพื่อการศึกษา หรือวิจัยทางวิชาการ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ
- ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้นชนิดที่ให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ
- ห้ามค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง รวมทั้งซากและผลิตภัณฑ์ของสัตว์ป่าเหล่านั้น ยกเว้นชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองที่กำหนดให้เพาะเลี้ยง และได้รับอนุญาตให้เพาะเลี้ยง
- ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่ กำหนดให้เพาะพันธุ์และผู้ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่ได้รับอนุญาต
- การนำเข้าส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ตามความตกลงระหว่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
- การนำเคลื่อนที่สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและซาก ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า จะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน
- การดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะจะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน (จากอธิบดี)

แนวปฏิบัติสำหรับผู้มีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง

ผู้ที่มีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าโดยชอบด้วยกฎหมาย (มีใบอนุญาตให้ครอบครองหรือมีจำนวนไม่เกินกำหนดตามกฎหมายเก่า) หรือไม่ก็ตาม ให้ไปแจ้งการครอบครองต่อกรมป่าไม้ หรือป่าไม้อำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใหม่มีผลบังคับใช้ และได้กำหนดแนวทางให้ปฏิบัติ ดังนี้
ในกรณีที่มีสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
- สำหรับสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง จะตกเป็นของแผ่นดิน แต่ทางราชการอาจมอบสัตว์ป่านั้นให้กลับไปดูแลก็ได้ ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงสวัสดิการความปลอดภัยของสัตว์ เป็นสำคัญ (นำมามอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ต้องรับโทษ)
- สำหรับซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งและจด รายการแล้ว จะให้ผู้แจ้งครอบครองซากสัตว์ป่านั้นต่อไป ทั้งนี้ ห้ามนำไปจำหน่ายหรือมอบให้ผู้อื่น นอกจากจะเป็นการตกทอดทางมรดก
ในกรณีที่มีสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องแจ้งภาย ใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ
สัตว์ป่าสงวน ผู้เป็นเจ้าของจะต้องจำหน่ายสัตว์ป่าสงวนให้แก่ผู้ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะภายใน 180 วันนับแต่วันแจ้ง สัตว์ป่าสงวนที่เหลือจากการจำหน่ายต้องมอบ ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง (กรมป่าไม้หรือกรมประมง)
ซากของสัตว์ป่าสงวน ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ครอบครองต่อไปได้ แต่ห้ามจำหน่ายหรือมอบให้ผู้อื่น นอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี หรือเป็นการตกทอดทางมรดก
สัตว์ป่าคุ้มครอง เมื่อได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
- หากไม่ต้องการเลี้ยงดูต่อไป ให้จำหน่ายสัตว์ป่านั้นให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตให้ ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่แจ้ง หลังจากนั้นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เหลือจะตกเป็นของแผ่นดิน ต้องนำไปมอบให้หน่วยราชการ ที่เกี่ยวข้อง (กรมป่าไม้หรือกรมประมง)
- หากเจ้าของต้องการจะเลี้ยงดูต่อไป เจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบสภาพการ เลี้ยงดูว่าจะปลอดภัยแก่สัตว์หรือไม่ หากเห็นว่าเหมาะสมจะออกใบอนุญาตให้ครอบครองจนกว่าสัตว์นั้นจะตายไป หากสัตว์ป่าดังกล่าวเพิ่มจำนวนโดยการสืบพันธุ์หรือตายต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
- หากเจ้าของต้องการจะเพาะพันธุ์สัตว์ป่านั้นต่อไป (หมายถึง สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้) ให้เจ้าของยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ ภายใน 30 วัน
ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่อยู่ในความครอบครองขอรับใบอนุญาตให้ค้าตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 เมื่อแจ้งแล้วจะต้องจำหน่ายซากนั้นให้หมดภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หลังจากนั้นซากสัตว์ป่าคุ้มครองที่เหลือจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของผู้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 คือ
- ถ้าเป็นชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตเพาะพันธุ์ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
- ถ้าเป็นชนิดที่ไม่ได้อนุญาตให้เพาะพันธุ์ ให้จำหน่ายให้หมดภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน (มีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับใหม่มีผลบังคับใช้หรือกฎกระทรวงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้กรณีกำหนดชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มเติมขึ้น)
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: แก้ กม.ค้าเสรีสัตว์ป่าคุ้มครอง เพาะขยายพันธุ์มุ่งเป้าสู่ตลาดโลก    พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 EmptyFri Mar 18, 2011 3:42 pm

แก้ กม.ค้าเสรีสัตว์ป่าคุ้มครอง เพาะขยายพันธุ์มุ่งเป้าสู่ตลาดโลก

"ไก่ฟ้าสายพันธุ์ไทย" สัตว์ป่าหาดูได้ยาก และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่มีความสวยงามสะดุดตา เป็นสัตว์ป่าที่มีชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ตามพระราชบัญญัติสงวน ประกอบด้วยสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ 12 ชนิด

แต่การเพาะเลี้ยงไก่ฟ้า ยังคงมีกลุ่มคนที่ยังเพาะเลี้ยงในหมู่คนรักสัตว์ เลี้ยงไว้เพื่อดูเล่น เพื่อความสวยงาม แบบหลบๆ ซ่อนๆ เพราะว่ากฎหมายไม่อนุญาต บางคนหันไปเพาะเลี้ยงไก่ฟ้าสายพันธุ์ต่างประเทศแทน

จึงมีพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้มีการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติฉบับเดิม มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 15 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับนี้

มีการอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะได้ เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดได้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์สัตว์ที่มีจำนวนน้อย และใกล้สูญพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นการเสริมรายได้ของประชาชน แต่ไม่มีผลกระทบที่จะทำให้สถานการณ์การสูญพันธุ์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มโทษต่อการกระทำความผิดให้สูงขึ้น ดังสาระสำคัญของกฎหมายตามที่ฝ่ายพัฒนา และส่งเสริม การอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้

หลังจากนั้นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีประกาศเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เพื่อเร่งการขยาดพันธุ์สัตว์ป่า และการสงวนและคุ้มครองควบคู่กัน อาศัยอำนาจตามระเบียนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการอนุญาตให้ทางราชการกระทำการล่า เพาะพันธุ์ ครอบครอง นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ซึ่งสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่า การเก็บทำอันตราย หรือมีไว้ครอบครอง ซึ่งรังของสัตว์ป่า และการเรียกเก็บ และชำระค่าใช้จ่าย ค่าบริการ หรือค่าตอบแทน และราคาสัตว์ป่า พ.ศ.2540 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงมีการกำหมดราคาสัตว์ป่า เพื่อจำหน่ายให้ผู้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์คุ้มครองนำไปเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หรือผู้อนุญาตให้ตั้งและดำเนินการกิจการสวนสัตว์สาธารณะนำไปดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ซึ่งมีแบบออกเป็นสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 8 ชนิด สัตว์ป่าจำพวกนก 42 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน 4 ชนิด

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เริ่มโครงการจากการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงไก่ฟ้าสายพันธุ์ไทยซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกของไทย คาดว่าภายใน 2-3 ปี จะเพิ่มประชากรไก่ฟ้าสายพันธุ์หายากให้เพิ่มมากขึ้น จนถึงสามารถส่งออกได้

ดร.ชวาล ทัฬหิกรณ์ ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงไก่ฟ้า) บอกว่า ตามที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ(สพภ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงไก่ฟ้า ซึ่งถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อประโยชน์ในเชิง เศรษฐกิจ รวมทั้งสร้างความสมดุลต่อระบบนิเวศน์ ปัจจุบันทั่วโลกมีไก่ฟ้ารวม 16 ตระกูล ส่วนในไทยมี 6 ตระกูลรวม 14 ชนิด จึงนับว่ามีความหลากหลายมากพอสมควร แต่ที่ผ่านมามีการเพาะเลี้ยงไก่ฟ้า แต่ยังไม่ถูกกฎหมาย กระทั่งในปี 2546 ทางกรมอุทยานฯ ได้ออกกฎกระทรวงเปิดให้สามารถเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าคุ้มครองได้ 54 ชนิด เพื่อเร่งรัดขยายพันธุ์สัตว์ป่า แต่ยังไม่เปิดให้มีการค้าขายได้

จนเมื่อเดือน ธ.ค. 2551 สพภ.ได้มีการหารือกับ อธิบดีกรมอุทยานฯ เพื่อเปิดโอกาสให้เพาะเลี้ยงไก่ฟ้าในเชิงธุรกิจได้ โดยกรมอุทยานฯ มีมติกำหนดราคากลางพ่อแม่พันธุ์ไก่ฟ้า ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 500-30,000 บาท เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีสีสันสวย ทำให้ได้รับความนิยมนำไปเลี้ยงเพื่อความสวยงาม แต่หลังจากนี้ การเพาะเลี้ยงไก่ฟ้า ต้องเป็นไปตามกฎหมายทุกขั้นตอน โดยจะนำร่องไก่ฟ้าสายพันธุ์ไทย 5 ชนิดได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว หรือ จันทรบูร ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหน้าเขียว และไก่ฟ้าหางลายขวาง ซึ่งมีพ่อแม่พันธุ์จำนวนกว่า 300 ตัวอยู่ในสถานีวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ซึ่งเบื้องต้นมีกลุ่มเกษตรกร และธุรกิจประมาณ 30 คนให้ความสนใจที่จะทำธุรกิจเพาะเลี้ยงไก่ฟ้า เพื่อความสวยงามในเชิงการค้า จัดอบรมทั้งเทคนิคการเพาะเลี้ยง การป้องกันโรค ตลอดจนคำแนะนำจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ที่จะเข้ามาช่วยในการสนับสนุนแหล่งทุน

เมื่อช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการลักลอบเพาะเลี้ยงไก่ฟ้าแบบใต้ดิน เนื่องจากกรมอุทยานฯ ออกกฎกระทรวงให้เพาะเลี้ยงสัตว์ป่า จำนวน 54 ชนิด รวมทั้งไก่ฟ้า และนกสวยงามอื่นๆ แต่ยังไม่อนุญาตให้ค้าขายได้ จนมีการหารือร่วมกับระหว่าง สพภ. และกรมอุทยานฯ เห็นว่าน่าจะนำกระบวนการใต้ดิน มาทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่รัฐต้องมีระเบียบ กติกาที่ชัดเจน เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้มีการอนุรักษ์ไก่ฟ้า แต่ยังจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และอนาคตจะช่วยขยายพันธุ์ไก่ฟ้าที่มีความเสี่ยงกลับคืนป่าได้อีกด้วย

การอนุญาตให้เพาะเลี้ยงไก่ฟ้า เพื่อความสวยงามเท่านั้น ไม่ส่งเสริมให้นำไปบริโภคเนื้อ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่เปิดให้ค้าขายสัตว์ป่าบางรายการ โดย สพภ.ยังหารือสัตว์อื่นๆ อาทิ ชะมด เนื่อง จากไขของชะมดจะต่อมฮอร์โมน ที่มีมูลค่าราคาสูง รวมทั้ง กวางม้า แต่กรมอุทยานฯให้ความเห็นว่าถ้าจะให้ขยายพันธุ์สัตว์อื่นๆในเชิงการค้าต้องมีตำรา และมีข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจนก่อน จึงจะอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในการจัดโครงการดังกล่าว

ด้าน นายทรงกลด พู่ทอง หัวหน้าสถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงไก่ฟ้าบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บอกว่า ในอดีตกฎหมายในเรื่องของสัตว์ป่ารุนแรง ควบคุมมาก ทั้งการครอบครอง การเลี้ยง การล่า หรือการฆ่า แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้รักสัตว์มีความต้องการ และลักลอบเพาะเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก หรือมีการลักลอบสัตว์ป่าต่างถิ่นเข้ามาขายกันจึงไม่สามารถที่จะทนต่อกระแสความต้องการของกลุ่มผู้ต้องการได้ และการจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของคนไทยมีศักยภาพที่สูงมาก ประกอบกับสัตว์ป่าบางชนิดมีจำนวนลดน้อยลง จึงมีการกำหมดสัตว์ป่า 54 ชนิด ที่สามารถให้กลุ่มผู้ที่สนใจเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าได้ แต่ต้องขออนุญาตกับกระทรวงทรัยากรฯ ถูกต้องตามกฎหมายก่อน

"การอนุรักษ์สัตว์ป่า คือ การใช้ประโยชน์กับสัตว์ป่า และคำนึงถึงจำนวนประชากรในธรรมชาติถึงความเหมาะสม เช่น ไก่ฟ้า ใน 1 ปี ออกลูก 40-50 ตัว ซึ่งในตลาดมีความต้องการสูง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในอนาคตสามารถเพาะพันธุ์ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ยังเป็นการขยายพันธุ์ เพื่อช่วยไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากโลกด้วย"นายทรงกรด กล่าว

ขณะที่นายสุรัตน์ อนันต์สุข ชาว กทม. เพาะเลี้ยงไก่ฟ้ามาตั้งปี2546 บอกว่า เดิมเพาะเลี้ยงไก่ฟ้าเพื่อความสวยงาม ปัจจุบันไก่ฟ้า มีการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และกฎหมาย เปิดโอกาสให้เป็นไปในเชิงการค้าได้ จึงประกาศขายชุดแรกมีไก่ฟ้าอยู่ 100 คู่ ขายเริ่มต้นราคา 1,500 บาท เมื่อประกาศเพียง 2 สัปดาห์ มีกลุ่มผู้รักไก่ฟ้า สนใจเข้ามาซื้อไปจนหมด

ขณะนี้กำลังศึกษามองถึงตลาดต่างประเทศ โดยเข้าไปศึกษาในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีผู้สนใจ สั่งจองไก่ฟ้าจำนวนมาก อนาคตจะทำเป็นธุรกิจ ส่งขายไก่ฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านก่อน

คงเป็นข่าวดีสำหรับกลุ่มผู้อนุรักษ์เพาะเสี้ยงสัตว์ป่า ที่ไม่ต้องเลี้ยงกัน หลบๆ ซ่อนๆ อีกต่อไป และยังสามารถเพาะขยายพันธุ์ไปในเชิงการค้าได้ เพียงแค่ยื่นอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎมายเท่านั้น ก็สามารถเสี้ยง และทำเป็นธุรกิจได้

แนวหน้า 2552
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณสามารถพิมพ์ตอบได้
Siam Falconry Club :: FALCONRY :: กฏหมายน่ารู้ (Law)-
สร้างหัวข้อใหม่   ตอบไปที่: