ชื่ออื่น Bat-eating Buzardมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macheiramphus alcinus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีดคือ alc, -ae แปลว่า แข็งแรงหรือแกร่ง และ –inus เป็นคำลงท้ายในภาษาละติน แปลวาเหมือนหรือเป็นของ ความหมายคือ “นกที่มีปากแข็งแรง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Macheiramphus alcinus alcinus Westerman ชื่อชนิดย่อมมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิด
เหยี่ยวค้างคาวมีกระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของเทือกเขาตะนาวศรี ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และนิวกินี
ลักษณะทั่วไป เป็นนกขนาดกลาง (46-47 ซม.) ปากสีดำและแหลมคม ตาสีเหลือง ปีกยาว 36.0-41.2 ซม. ปีกกว้าง ปลายปีกแหลม หางสั้น ปลายหางตัด ขาและนิ้วสีเทาแข็งแรง ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกน ตัวเต็มวัยหัวมีหงอนขนยืนยาวออกไปเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นได้บางครั้งเท่านั้น บริเวณเหนือและใต้ตามแถบเล็กสีขาว ร่างกายสีดำ คอหอยและอกสีขาว ตรงกลางคอหอยมีลายขีดสีดำ ตัวไม่เต็มวัยสีสันออกเป็นสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีขาว และมีลายจุดสีดำกระจายทั่วไป
อุปนิสัยและอาหา มีกิจกรรมและหากินในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำ ไม่ค่อยพบหากินในเวลากลางวันยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์ มันชอบเกาะตามกิ่งไม้แห้งหรือก้อนหินบริเวณปากถ้ำหินปูนซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของค้างคาว บินได้ดีมากและค่อนข้างเร็ว ลักษณะการกระพือปีกคล้ายพวกนกนางแอ่น (swift)
อาหาร ไดแก่ ค้างคาว นกแอ่นที่อยู่ตามถ้ำ และแมลงขนาดใหญ่ หาอาหารด้วยการบินโฉบด้วยกรงเล็บขณะที่ค้างคาวหรือนกแอ่นบินออกหรือเข้าถ้ำในช่วงเช้าตรู่และเย็น เมื่อจับได้แล้ว มันจะนำมาฉีกกินตามกิ่งไม้หรือบนก้อนหินซึ่งไม่ไกลจากแหล่งอาหารมากนัก หากยังไม่อิ่ม มันจะล่าเหยื่อต่อไปอีก
การผสมพันธุ์ ยังไม่เคยมีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย แต่เข้าใจว่าคงทำรังตามต้นไม้บริเวณใกล้กับแหล่งหากิน ชีววิทยาการสืบพันธ์อื่นคงไม่แตกต่างไปจากเหยี่ยวอื่นมากนัก
สถานภาพ เป็นนกประจำถิ่น หายากและปริมาณน้อย พบเฉพาะทางภาคใต้ กฎหมายจัดเหยี่ยวค้างคาวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ปากเล็กมากและแบนข้าง หัวตาก็มีขนสั้น ๆ ดูคล้ายนกตบยุง
เดินจากต้นไทรต้นนั้นมาได้เพียงไม่กี่ก้าว นกขนาดใหญ่สีดำ ๆ ตัวหนึ่งก็บินข้ามศีรษะเราไป มนบินไม่สูงนัก เราจึงมองเห็นตัวของมันได้ชัดเจน ผมรีบยกกล้องสองตาส่องตามดูมันไปเรื่อยๆ มันเป็นเหยื่อชนิดหนึ่งอย่างแน่นอน สีดำสนิททั้งตัว ยกเว้นบริเวณใต้คอและหน้าอกซึ่งเป็นสายสีขาว ๆ ปีกองมันก็มีปลายแหลมอย่างกับปีกของเหยี่ยวปีกแหลม (Falcon) ไม่ได้แตกออกเป็นรูป “นิ้วมือ” อย่างเหยี่ยวชนิดอื่น ๆ ใช่แน่แล้วมันคือ เหยี่ยวค้างคาว (Bat Hawk) ที่ผมค้นหามานาน พลอยทำให้หมอวิโรจน์ พิชิต และคนอื่น ๆ ตื่นเต้นตามผมไปด้วย
เหยี่ยวชนิดนี้เป็นเหยี่ยวที่หายากชนิดหนึ่งของประเทศไทย ผมจึงภูมิใจมากที่สุดที่ได้เห็น มากกว่านกชนิดใด ๆ ทั้งสิ้นที่ได้เห็น เมื่อคราวไปเยือนปักษ์ใต้ในครั้งนั้น เพราะไม่เคยคิดมาก่อนว่าชาตินี้จะได้เห็นเหยี่ยวค้างคาว เนื่องจากเหยี่ยวค้างคาวเป็นเหยี่ยวในวงศ์ Acipitridae จึงมีโครงสร้างของร่างกายเช่นเดียวกับเหยี่ยวขาว (Black – shouldered Kite) เหยี่ยวรุ้ง (Crested Serpent Eagle) และเหยี่ยวนกเขาซิครา (Shikra) ที่นักดูนกรู้จักกันดี รูปร่างเพรียว คอค่อนข้างสั้น แต่ก็ใหญ่และแข็งแรง หัวค่อนข้างโตเช่นเดียวกับเหยี่ยวชนิดอื่น แต่ดวงตามีลักษณะกลมตามแบบฉบับของสัตว์ที่อกหากินในเวลาโพล้เพล้
ปากบนเป็นตะขององุ้ม และแหลมคมเช่นเดียวกับเหยี่ยวชนิดอื่นปากล่างสั้นกว่าปากบน เมื่อหุบปากสนิทปากล่างจึงซ่อนอยู่ในปากบนพอดี แต่ปากของเหยี่ยวค้างคาวมีขนาดเล็กมากและแบนข้างอีกด้วย ยิ่งกว่านั้น ตอนบนของปากบนหนังเป็นสันขึ้นไปอีกด้วย
ส่วนบริเวณหัวตรา (lore) ก็มีขนเส้นสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม จึงทำให้หน้าตาของมนดูคล้ายนกตบยุง (Nightjar) มากกว่าเหยี่ยวเสียอีก และปากของมันยงอ้าได้กว่างเช่นเดียวกับนกตบยุงอีกด้วย ปากของมันจึงแตกต่างจากเหยี่ยวชนิดอื่นโดยในสิ้นเชิง แต่รอบ ๆ รูจมูกก็มีแผ่นหนังที่เรียกว่า เซเร (cere) เช่นเดียวกับเหยี่ยวโดยทั่วไป
เหยี่ยวค้างคาวมีปีกกว้างและยาว ปลายปีกแหลม คล้ายคลึงกับปีกของเหยี่ยวปีกแหลม (Falcon) ในวง Falconidae ขนปลายปีก (primaries) มี 10 เส้น หางสั้น และปลายทางตัดตรง ขาท่อนล่ง (tarsus) ค่อนข้างยาวเรียวและทางด้านหน้าที่เกล็ดขนาดใหญ่เรียงซ้อนทับกัน นิ้วเท้ามีข้างละ 4 นิ้ว ยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว และยื่นไปข้างละ 1 นิ้ว แต่นิ้วเท้าหลังค่อนข้างใหญ่และแข็งแรงมาก เล็บเท้าโค้งแหลมคนมาก และแข็งแรงเช่นกัน สามารถทำให้เหยื่อบาดเจ็บหรือตายได้ เมื่อเหยื่อถูกขยุ้มด้วยกรงเล็บแม้เพียงคร้งเดียว ผมก็ไม่อาจบอกได้ว่าเหยี่ยวค้างคาวที่พวกเราเห็นในวันนั้นเป็นเหยี่ยวตัวผู้หรือเหยี่ยวตัวเมีย ทั้งนี้เพราะเหยี่ยวตัวผู้และเหยี่ยวตัวเมียมีสีสันเหมือนกัน และยังมีขนาดพอ ๆ กันอีกด้วย
เหยี่ยวค้างคาวที่พบในประเทศไทยนั้น เป็นเหยี่ยวค้างคาวพันธุ์เอเซีย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mcheiramphus alcinus alcinus มีความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 45 เซนติเมตร มีสีดำเกือบทั่วทั้งตัว ยกเว้นกึ่งกลางใต้คอ และหน้าอกซึ่งเป็นสีขาว แต่มีเส้นกึ่งกลางคอ (median streak) สำอยู่ขีดหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ เหนือตาและใต้ตายังมีจุดสีขาว ๆ อีกด้วย ดวงตากลมโตของมันมีสีเหลืองสดใสแลเห็นเด่นชัด แผ่นหนังรอบรูจมูกมีสีดำ ปากก็มีสำ ทางด้านหลังของท้ายทอยมีขนหงอนเล็ก ๆ สั้น ๆ สีดำยื่นออกด้วย ต้องสังเกตดี ๆ จึงจะแลเห็นได้ ขาและนิ้วเท้ามีสีเทาอมฟ้า เล็บสีดำ
สำหรับเหยี่ยวค้างคาวที่ยังไม่โตเต็มวัยนั้น มีสีน้ำตาลคล้ำทั่วทั้งตัว ไม่ดำอย่างนกที่โตเต็มวัยแล้ว และเป็นลายจุดกระ โคนขนหางแต่ละเส้นก็มีสีจาง ใต้คอและหน้าอกมีสีขาวมากกว่านกที่โตเต็มวัยแล้ว และมีลายจุดกระสีดำ ดูแล้วก็ไม่แตกต่างจากนกที่โตเต็มวัยแล้ว และมีลายจุดกระสีดำด้วย ดูแล้วก็ไม่แตกต่างจากนกที่โตเต็มวัยเท่าไหร่นัก
ในขณะที่เหยี่ยวค้างคาวกำลังบินอยู่กลางอากาศนั้น นักดูนกก็สามารถบอกได้ว่า เป็นเหยี่ยวค้างคาว เพราะลำตัวของมันเพรียวและมีสีดำ ยกเว้นบริเวณใต้คอและหน้าอกซึ่งมีสีขาว ปีกกว้างและยาว ปลายปีกแหลม เพราะขนปลายปีกไม่แตกต่างออกมาเป็นรูปนิ้วมือ กระพือปีกไวและบินเร็วมาก
นอกจากนี้เรามักจะพบเห็นมนบินหากินเฉพาะในเวลาโพล้เพล้ ไปจนกระทั่งแสงแดดหมดเท่านั้น ไม่ค่อยได้เห็นมันบินหากินในตอนเช้าตรู่ หรือในตอนกลางวัน
ออกล่าค้างคาวและนกแอ่นในเวลาโพล้เพล
้เหยี่ยวค้างคาวตัวนั้นบนข้ามลำธารไปยังอาคารที่ทำการ แล้วมันก็โผลงเกาะบนต้นไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ อาคารหลังนั้น ต้นไม้ต้นนั้นค่อนข้างสูง แต่ผมก็สามารถตั้งกล้องเทเลสโคปเพื่อส่องดูมันได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะตั้งกล้องเทเลสโคปส่องดูมันอยู่นานแสนนานแล้ว เพราะมันนอนในตอนกลางวัน ในเวลาที่มันเกาะลำตัวของมันตั้งตรงและหันหน้ามาทางเรา ผมมองไม่เห็นขนหงอนสั้น ๆ ของมัน แต่พอมันเอี้ยวคอไปทางอื่น จึงเห็นขนหงอนโผล่ออกมาจากท้ายทอย ซึ่งมีเหยี่ยวเพียงไม่กี่ชนิดที่จะมีขนหงอนสั้น ๆ แบบนี้
ในเวลากลางวันเช่นนี้ เหยี่ยวค้างคาวจะเกาะพักผ่อนอยู่บนต้นไม้สูงอย่างเงียบ ๆ จะไม่บินไปไหนมาไหน แม้ว่าจะเป็นระยะสั้น ๆ ก็ตาม แต่มันจะเลือกเกาะบนต้นไม้ที่มีใบหนาทึบ และมีร่มเงาบังแดดได้ โอกาสที่จะเจอตัวของมันในเวลากลางวันจึงเป็นไปได้ยากมาก นาน ๆ สักครั้งจึงจะเห็นเหยี่ยวค้างคาวเกาะพักผ่อนอยู่บนต้นไม้ที่มีใบค่อนข้างโปร่ง มันจะเกาะพักผ่อนอยู่เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งตกเย็นจึงเริ่มออกหากิน ในช่วงเวลาโพล้เพล้เป็นช่วงเวลาที่เหยื่อของมัน คือ ค้างคาว กำลังเริ่มออกหากินและนกแอ่น (Swift) และนกนางแอ่น (Swalow) กำลังเริ่มกลับรัง มันจึงต้องออกหานในช่วงเวลานี้ นอกจากเหยื่อเหล่านี้แล้ว นกเล็ก ๆ ชนิดอื่น และแมลงตัวโต ๆ มันก็จับกินบ้าง
เหยี่ยวค้างคาวมดวงตากลมโตสีเหลืองสุกใส ทำให้มันสามารถมองเห็นเหยื่อเหล่านี้ได้ดีในเวลาโพล้เพล้ และช่วยให้มันบินได้รวดเร็วมากในเวลาโพล้เพล้ด้วย มันจึงบินไล่จับค้างคาว และนกเหล่านั้นขณะกำลังบินอยู่กลางอากาศในเวลาโพล้เพล้ได้อย่างแม่นยำ มันจึงต้องบินไปล่าเหยื่อเหล่านี้ในบริเวณที่เป็นที่โล่ง ๆ ซึ่งเหยื่อของมันกำลังบินหากินอยู่ บางครั้งก็เห็นมันหากินอยู่เหนือบึง หนอง แม่น้ำ หรือชายหาด แม้กระทั่งเหนือสนามบริเวณหญ้าโล่ง ๆ สถานีรถไฟ หรืออาคารบ้านเรือน เราก็ยังมีโอกาสพบเห็นเหยี่ยวค้างคาวกำลังบินหากินได้
เหยี่ยวค้างคาวบางตัวชอบกักล่าค้างคาวและนกแอ่นบริเวณปากถ้ำโดยจะเกาะอยู่บนต้นไม้ข้างหน้าปากถ้ำ หรือเกาะอยู่บนเหลี่ยมหินของปากถ้ำก็ได้ เพราะในช่วงเวลาโพล้เพล้ค้างคาวเริ่มทยอยกันออกจากถ้ำเพื่อไปหากิน ส่วนนกแอ่นก็กำลังบินกับเข้าไปนอนในถ้ำ มันสามารถออกไปโฉบจับได้สบาย ๆ
ถ้าเราออกไปเดินดูบริเวณปากถ้ำหินปูนในเวลาโพล้เพล้ อาจจะเห็นเหยี่ยวค้างคาว 1 หรือ 2 ตัว บินป้วนเปี้ยนอยู่แถว ๆ ปากถ้ำก็ได้ นอกจากเหยี่ยวค้างคาวแล้ว ในบางครั้งนกเค้าเหยี่ยว (Brown Hawk Owl) ก็อาจเกาะอยู่ตามต้นไม้หนาปากถ้ำ เพื่อคอยกักโฉบค้างคาวไปกินเช่นกัน
วิธีการล่าเหยื่อของเหยี่ยวค้างคาวนั้นจะแตกต่างจากเหยี่ยวชนิดอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง มันจะบินไปบินมา หรือบินวนเวียนอยู่เหนือบริเวณที่มันออกล่าเหยื่อด้วยความเร็วสูง มองหาเหยื่อทั้งที่บินอยู่เหนือตัวของมัน บินอยู่ต่ำกว่าตัวของมัน และบินอยู่ข้าง ๆ ตัวของมันด้วย ผิดกับเหยี่ยวชนิดอื่น ๆ ซึ่งมักจะมองหาเหยื่อเฉพาะที่บินอยู่ หรือเกาะอยู่ต่ำกว่าตัวของมันเท่านั้น
พอมันเห็นเหยื่อมันจะบินเข้าไปโฉบจับอย่างคล่องแคล่วด้วยความเร็วสูง โดยใช้กรงเล็บอันแหลมคมขยุ้มจับเหยื่อทันที แล้วจึงใช้ปากดึงเหยื่อออกมาจากกรงเล็บอย่างรวดเร็ว แล้วกลืนกินเหยื่อทั้งตัวขณะกำลังบินอยู่กลางอากาศ ถึงแม้ว่าค้างคาวจะมีปีกเกะกะ แต่มันก็กลืนกินได้ทั้งตัวโดยไม่ต้องดึงปีกทิ้งเลย เพราะปากของมันอ้าได้กว้างมาก ปากของมันจึงเล็กกว่าเหยี่ยวชนิดอื่น ๆ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ดึงหรือฉีกเหยื่อแบบเหยี่ยวชนิดอื่น ๆ นั่นเอง
ถ้าหากเหยื่อที่บินอยู่กลางอากาศมีอยู่เป็นจำนวนมาก มันจะใช้เวลาหากินไม่นานนัก เพราะจับเหยื่อได้บ่อยและไว แต่ถ้าเหยื่อที่บินอยู่กลางอากาศมีอยู่น้อยตัว มันจะใช้เวลาในการหากินนานมาก เพราะนาน ๆ จึงจะจับเหยื่อได้สักตัว นอกจากนี้ถ้าหากเหยื่อของมันเป็นนกแอ่น ซึ่งบินได้รวดเร็วกว่าค้างคางมาก มันจะต้องใช้เวลาในการไล่จับเหยื่อนานกว่าเหยื่อที่เป็นค้างคาว
สำหรับค้างคาวที่มันไล่จับกินนี้ มันจะเลือกจับกินเฉพาะค้างคาวตัวเล็ก ๆ ที่กินแมลงเป็นอาหารเท่านั้น ซึ่งเราเรียกกันว่า ค้างคาวลูกหนู ค้างคาวตัวโต ๆ ที่กินผลไม้มันจะไม่จับกินเลย ยิ่งกว่านั้นมันจะไม่บินไล่เหยื่อที่บินเรี่ยพื้นดินอีกด้วย แต่ก็เคยมีคนเห็นเหยี่ยวค้างคาวไล่ติดตามเหยื่อเข้าไปในตัวอาคารเหมือนกัน เนื่องจากมันชอบกินค้างคาวมากเป็นพิเศษเช่นนี้ ชาวผิวขาวจึงเรียกมันว่า Bat Hawk
เหยี่ยวค้างคาวจะหากินไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งแสงสว่างหมดและความมืดเข้ามาครอบงำ มันจึงบินกลับไปพักผ่อนหลับนานบนตนไม้ และจะไม่ออกหากินในเวลากลางคืน เว้นแต่ว่าคืนนั้นจะเป็นคืนเดือนหงายที่ท้องฟ้ามีความสว่าง มันจึงจะออกมาหากินบ้าง เพราะมองเห็นเหยื่อได้ มันจะหลับนอนไปจนถึงรุ่งเช้า แล้วอาจจะออกมาหากินอีกครั้งในตอนเช้าตรู่ แต่พอแสงอาทิตย์เริ่มสาดส่อง มันก็ต้องบินกลับไปหลับนอนแล้ว และจะไม่บินออกมาหากินในเวลากลางวันเลย เว้นแต่ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งมันจะต้องออกมาหากินในเวลากลางวันด้วย
แพร่กระจายอยู่ในแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวกินี
ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้พบเหยี่ยวค้างคาวที่นี้ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีรายงานพบว่าอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์เพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา จังหวัดกระบี่ จนจัดเป็นนกประจำถิ่นที่หายากใกล้สูญพันธุ์ ทั้งนี้ก็เพราะเหยี่ยวชนิดนี้อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นบนที่ราบต่ำและเชิงเขา ตั้งแต่ระดับคอคอดกระลงไปจนถึงใต้สุดเท่านั้น ไม่เคยพบบนภูเขาสูงเลย แต่เนื่องจากป่าดิบขึ้นเหล่านั้นถูกทำลายจนเกือบหมดแล้ว เพื่อนำพื้นที่ที่มาปลูกสร้างบ้านเรือน และทำการเกษตรกรรม แหล่งอาศัยของมันจึงถูกจำกัด ประชากรของมนจึงลดน้อยลง แต่ก็นับว่าโชคดี เพราะเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ร.ต.อ. กิตติญาณ สัมพันธารักษ์ ได้พบและถ่ายภาพเหยี่ยวค้างคาวไว้ได้ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส และยังได้พบเห็นถึง 2 ตัว ตัวผู้และตัวเมีย ขณะกำลังทำรังวางไข่อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นรายงานการทำรังวางไข่ของเหยี่ยวชนิดนี้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็ได้มีผู้พบเห็นเหยี่ยวค้างคาว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นประจำแทบทุกปี
นอกจากในประเทศไทยแล้ว เหยี่ยวค้างคาวพันธุ์เอเซียังพบได้ในประเทศพม่า ทางตอนใต้ของแคว้นตะนาวศรี (Tenasserim) มลายู เกาะสุมาตรา สิงคโปร์ เกาะบังกา (Bangka) เกาะบอร์เนียว และเกาะสุลาเวซี (Sulawesi) ทางตอนเหนือ แต่ก็ล้วนแล้วแต่เป็นนกประจำถิ่นที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์เช่นเดียวกับในประเทศไทย แต่บนเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวนั้น เราสามารถพบเห็นเหยี่ยวชนิดนี้ได้จนถึงระดับความยาวสูง 1,000 เมตรทีเดียว
ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะนิวกินี เราก็พบเหยี่ยวค้างคาวได้เช่นกัน แต่เหยี่ยวค้างคาวที่นี่เป็น เหยี่ยวค้างคาวพันธุ์นิวกินี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macheiramphus alcinus papanus มีขนาดเล็กกว่าเหยี่ยวค้างคาวพันธุ์เอเซีย และหงอนก็ยังสั้นกว่า สีขาวที่หน้าอกจะยื่นขึ้นมาทางข้าง ๆ คอ แล้วไปต่อกันที่หลังคอ จึงเห็นรอบคอเป็นสีขาว ที่ท้องก็มีลายสีขาวมากกว่าอีกด้วย
ในโลกนี้ยังมีเหยี่ยวค้างคาวอีก 1 พันธุ์ คือ เหยี่ยวค้างคาวพันธุ์แอฟริกา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macheiramphus alcinus andersssoni มีขนาดเล็กกว่าเหยี่ยวค้างคาวพันธุ์เอเซีย สีสันของลำตัวไม่ออกดำ แต่จะเป็นสีดำออกน้ำตาล แต่เหยี่ยวบางตัวก็ออกสีดำ แต่คอเป็นสีน้ำตาล ส่วนล่างของลำตัวออกขาว และมีลายสีน้ำตาลขวางหน้าอกบ้าง เราจะพบเหยี่ยวค้างคาวพันธุ์นี้ได้ในทวีปแอฟริกา ทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาร่า ลงไปจนถึงแหลมกู้ดโฮบ (Cape of Good Hope) ยกเว้นทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทะเลทราย รวมทั้งเกาะมาดาากสคาร์ด้วย
ชาวผิวขาวในทวีปแอฟริกาเรียกเหยี่ยวค้างคาวพันธุ์แอฟริกา อีกชื่อว่า Bat-eating Buzzard เหยี่ยวค้างคาวพันธุ์นี้ ชอบอาศัยอยู่ในป่าริมฝั่งแม่น้ำ และป่าประเภทอื่น ๆ ที่มีไม้ยืนต้นสูง ขึ้นอยู่ริมน้ำ เพราะมันชอบออกล่าเหยื่อเหนือแม่น้ำ ทะเลสาบ และพื้นที่โล่งโดยทั่วไป ในทางตอนกลางของทวีปแอฟริกา เหยี่ยวชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่นที่หายาก
ถึงแม้ในประเทศไทย เฮอร์เบิร์ต จี. เด็กแนน (Herbert G. Deignan) จะรายงานไว้ในหนังสือ Checklist of the Birds of Thailand ว่า เหยี่ยวค้างคาวพบในบริเวณเขาหินปูนในภาคใต้ ตั้งแต่ระดับคอคอดกระเรื่อยลงไป แต่ นพ.บุญส่ง เลขะกุล ได้กล่าวไว้ในหนังสือธรรมชาตินานาสัตว์ ชุด 2 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2504 ว่าเคยพานักเรียนไปดูค้างคาวที่ถ้ำรูดิน และถ้ำกระแซ ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีค้างค้าวอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด และในเวลาเย็นจวนพลบในขณะที่ค้างคาวบินออกจากถ้ำเพื่อไปหากิน จะมีเหยี่ยวค้างคาว 1 หรือ 2 ตัว บินออกมาจากต้นไม้เหนือถ้ำค้างคาง คอยโฉบจับค้างคาวไปกิน แสดงว่าในอดีตเหยี่ยวชนิดนี้อาจแพร่กระจายขึ้นมาถึงจังหวัดกาญจนบุรีด้วย
นกตัวเมียกกไข่ตามลำพังตัวเดียว
ถึงแม้ว่าเหยี่ยวค้างคาวจะจะเป็นเหยี่ยว (Hawk) ในวงศ์ Accipitridae แต่เหยี่ยวค้างคาวกลับมีปีกกว้างยาว และปลายปีกแหลมแบบเหยี่ยวปีกแหลม (Falcon) ในวงศ์ Falconidae นักดูนกบางคนอาจเข้าใจว่า เหยี่ยวชนิดนี้เป็นเหยี่ยวปีกแหลม ในเวลาที่นักดูนกเห็นเหยี่ยวชนิดนี้บินอยู่กลางอากาศ อาจเข้าใจว่าเป็นเหยี่ยวเพเรกริน (Peregrine Falcon) ซึ่งมีขนาดพอ ๆ กับมันก็ได้ แต่เหยี่ยวค้างคาวมีปลายปลีกแหลมกว่า แต่บินได้ช้ากว่าเหยี่ยวเพเรกริน การที่มันมีปีกกว้าง ยาว และปลายปีกแหลมก็เพื่อความคล่องแคล่วในการบินล่าเหยื่อกลางอากาศ เช่นเดียวกับเหยี่ยวเพเรกริน และเหยี่ยวปีกแหลมชนิดอื่น ๆ นั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์บางคนสรุปว่าเหยี่ยวค้างคาวมีเชื้อสายใกล้ชิดกับเหยี่ยวกิ้งก่า (Bazas) ในสกุล Aviceda และเหยี่ยวผึ้ง (Honey Buzzards) ในสกุล Pernis มากกว่าเหยี่ยวในสกุลอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเหยี่ยวกิ้งก่าบางชนิดออกหากินในเวลาพลบค่ำ และเลี้ยงชีวิตด้วยค้างคาวเช่นกัน แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนก็เชื่อว่าเหยี่ยวค้างคาวมีเชื้อสายใกล้ชิดกับเหยี่ยวขาว (Black-shouldered Kite) และเหยี่ยวชนิดอื่น ๆ ในสกุล Elanus
ในปัจจุบันในการจัดอนุกรมวิธาร นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้จัดเหยี่ยวค้างคาวไว้ระหว่างเหยี่ยวผึ้ง (Honey Buzzard) และเหยี่ยวในสกุล Elanus เพราะเชื่อว่ามันมีเชื้อสายใกล้ชิดกับเหยี่ยวจำพวก Kite ซึ่งมีวิวัฒนาการต่ำมากกว่าเหยี่ยวในสกุลอื่น ๆ และเพราะเหตุนี้อีกเหมือนกันชาวผิวขาวบางคนจึงเรียกมันอีกชื่อว่า Bat Kite
สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ของเหยี่ยวค้างคาวคือ Macheiramphus alcinus นั้นมาจากลักษณะของปากและความแคล่วคล่องในการล่าเหยื่อ ชื่อสกุลคือ Macheiramphus มาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ makhaira แปลว่า มีด หรือ มีดโกน และ rhamphos แปลว่า ปาก รวมความแล้วแปลว่า ปากคมดั่งมีด หรือมีดโกน ทั้งนี้เพราะเหยี่ยวชนิดนี้ มีจะงอยปากงองุ้ม และแหลมคมนั่นเอง ส่วนชื่อชนิดคือ alcinus มาจากคำว่า alkimos ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งแปลว่า แข็งแรง กล้าหาญ บึกบึน เพราะมันมีความคล่องแคล่วมากในการล่าเหยื่อ
ในหนังสือบางเล่มใช้ชื่อสกุลของเหยี่ยวค้างคาวว่า Machae rhamphus ซึ่งเป็นชื่อที่สะกดไม่ถูกต้อง ดังที่ อาร์. เค. บรู๊ค (R.K. Brooke) และ พี. เอห. แคลนซี่ (P. A. Clancey) ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง The autorship of the generic and specific names of the Bat Hawk ในวารสาร Bulletin British Ornithological Club ฉบับที่ 101 หน้า 371-372
ฤดูผสมพันธ์ของเหยี่ยวค้างคาวนั้นจะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค สำหรับเหยี่ยวค้างคาวพันธุ์เอเซีย เคยมีรายงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์และทำรังวางไขอยู่ในบางท่องที่เท่านั้น บนเกาะสุมาตรา เหยี่ยวชนิดนี้ผสมพันธุ์และทำรังวางไขระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม และในประเทศไทยเคยพบการทำรังไข่ของมันในเดือนเมษายน 2540 และพบอีกครั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2542
ในฤดูผสมพันธุ์นี้ เหยี่ยวค้างคาวตัวผู้และตัวเมียที่จับคู่กันแล้ว จะบินเกี้ยวพาราสีกันเหนือต้นไม้ที่มันจะใช้ทำรัง มันจะบินไล่กันกลางอากาศ เอาเท้ามาแตะกันบ้าง หรือบนม้วนตัวบ้าง และแล้วนกทั้งคู่ก็จะบินพุ่งตัวลงมาอย่างรวดเร็วเพื่อจะเกาะบนต้นไม้นั้น แต่พอบินมาจะถึงต้นไม้ มันจะชะลอความเร็วหน่อยหนึ่งก่อน แล้วจึงโผลงเกาะบนกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว
ในเวลาทำรัง ทั้งเหยี่ยวตัวผู้และเหยี่ยวตัวเมียจะช่วยกันทำรัง แต่เหยี่ยวตัวเมียจะทำรังมากกว่าเหยี่ยวตัวผู้ มันจะพากันบินไปดึงกิ่งไม้แห้ง ๆ จากลำต้นไม้ เพื่อนำมาขัดสานกันอย่างหยาบ ๆ บนกิ่งไม้ขนาดใหญ่ที่ทอดนอน หรือตอนกลางของต้นไม้ รังของมันมีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 91 เซนติเมตร และหนาราว 31 เซนติเมตร ในบางครั้งมันก็คาบใบไม้เขียว ๆ มารองรังบ้าง แต่บางครั้งมันก็ไม่รองรังด้วยวัสดุใด ๆ เลย ซึ่งผิดกับเหยี่ยวชนิดอื่น ตอนกลางของรับมีแอ่งตื้น ๆ พอใช้วางไข่ได้รังของมันจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตร จนถึง 60 เมตร แล้วแต่ความสูงของต้นไม้ที่มันใช้ทำรัง
ในมลายูนั้นเคยมีรายงานว่า เหยี่ยวค้างคาว 2 คู่ รังอยู่บนต้นไม้คนละต้นที่อยู่ติดกัน ทั้ง ๆ ที่เหยี่ยวส่วนใหญ่จะทำรังอยู่โดดเดี่ยวห่างไกลกัน ในทวีปแอฟริกานั้น บางครั้งก็พบรังของเหยี่ยวค้างคาวอยู่บนต้นไม้ภายในตัวเมือง
เหยี่ยวค้างคาววางไข่ครอกละ 1 ฟอง แต่บางครั้งก็ 2 ฟอง เปลือกไข่สีขาว แต่มีลายสีเทา จาง ๆ บ้างไข่มีขนาดยาว 59.8 มิลลิเมตร และกว้าง 46.5 มิลลิเมตร เหยี่ยวตัวเมียจะทำหน้าที่กกไข่ตามลำพังตัวเดียวในเวลากลางวันมันจะนั่งกกไข่ตลอดเวลา จะออกไปโผบินบ้างเป็นบางครั้งบางคราว เพื่อยืดเส้นยืดสาย แต่ในเวลาพลบค่ำเหยี่ยวตัวเมียจะบินออกจากรัง เพื่อบินไปรอบ ๆ แต่ยังไม่มีผู้ใดทราบว่าเหยี่ยวตัวเมียบินออกไปล่าเหยื่อเอง หรือเหยี่ยวตัวผู้นำมาป้อนให้เหยี่ยวตัวเมีย
เหยี่ยวตัวเมียนั้นมีนิสัยก้าวร้าวและหวงรังมาก ถ้าหากมีมนุษย์เข้ามาใกล้ ๆ รัง มันจะไม่ยอมบินหนีไปไหนง่าย ๆ แต่จะเข้ามานั่งกกไข่ในรังตามเดิม แม่ว่ามนุษย์จะมองเห็นมันก็ตาม เหยี่ยวตัวเมียจะกกไข่อยู่นานราว 1 เดือน ไข่จึงฟักออกมาเป็นตัว
ลูกเหยี่ยวฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีขนอุยสีขาวปกคลุม พ่อเหยี่ยวและแม่เหยี่ยวจะช่วยกันหาเหยื่อ มาป้อนลูกเหยี่ยวจนกว่าลูกเหยี่ยวจะโตพอที่จะเริ่มหัดบินได้ ซึ่งใช้เวลาราว 35-40 วันแต่พ่อเหยี่ยวและแม่เหยี่ยวจะนำเหยื่อ ซึ่งรวมทั้งแมลงด้วย มาป้อนลูกเหนี่ยวในเวลา 15-20 นาทีก่อนมืดเท่านั้น โดยจะป้อนเหยื่อถี่มากทุก ๆ 3 หรือ 4 นาที พ่อเหยี่ยวหรือแม่เหยี่ยวมักจะนำเหยื่อมาวางไว้ที่ขอบรัง แล้วก็บินกลับมาในไม่ช้านักพร้อมกับเหยื่อในกรงเล็บ
ในระยะแรก เหยี่ยวตัวเมียจะนอนอยู่กับลูกเหยี่ยวในรัง แต่ในเวลาราว 1 สัปดาห์หรือ 10 วันก่อนที่ลูกเหยี่ยวจะเริ่มหัดบิน พ่อเหยี่ยว และแม่เหยี่ยวจะนอนอยู่บนต้นไม้ที่เป็นที่ตั้งของรังหรือต้นไม้ใกล้ ๆ กัน ลูกเหยี่ยวที่บินได้แล้วนั้น จะยังคงป้วนเปี้ยนอยู่รอ ๆ รังสักระยะหนึ่งก่อน หลังจากนั้นมันก็แยกย้ายกันไปที่อื่น แต่ยังไม่มีผู้ใดทราบว่าลูกเหยี่ยวที่บินได้แล้วนี้ แยกจากพ่อแมเหยี่ยวเมื่อมีอายุได้เท่าไร
เหยี่ยวค้างคาวนั้น ตามปกติเป็นนกที่ไม่ชอบส่งเสียง แต่ในเวลาพลบค่ำ หรือในเวลาเกี้ยวพาราสีกัน อาจส่งเสียงแหลมคล้ายเสียงผิวปากดัง “คี คิด.. คิด.. คิด.. คีอี..” หรือ “ควีค.. ควีค..” บ้าง แต่ก็ค่อนข้างเบา คล้าย ๆ เสียงร้องของเหยี่ยวปีกแหลม (Falcon)
เอกสารอ้างอิง
นกไทยในบันทึกและความทรงจำ เล่ม 2 สุธี ศุภร์ฐวิกร. มิถุนายน 2543.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนก ธีรยุทธ์ เลาหะจินดา, 2528. ปักษ์วิทยาเล่ม 1. บูรพาสาส์น ; กรุงเทพฯ.
นกในเมืองไทย เล่ม 3. ร.ศ. โอภาส ขอบเขตต์. กรุงเทพ : สารคดี,2543.