Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum

 

 สายพันธุ์นกเค้าแมว

Go down 
+2
w_peak
ytw05
6 posters
ผู้ตั้งข้อความ
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyFri Aug 13, 2010 11:41 pm

นกผีที่ชาวบ้านไม่ชอบ เพราะความเชื่อผิดๆมีมานานแสนนานแล้ว แก้ไม่ได้ครับ ทำให้ชาวบ้านจัดการกับมันหมดป่าสวนหลังบ้าน
นกแสกปรับตัวได้แต่ต้องอาศักวัดกัดคนทำร้าย น่าเศร้าใจครับ มันหายไปเพราะการทำให้เชื่อว่านกนี้เป็นนกแห่งความตาย ไม่ใช่เป็นการอนุรักษ์เลยครับ ที่จะประชาสัมพันธ์แบบนี้ Falconry ในบ้านเราก็ไม่ได้นิยมเลย แต่ที่มันหายไปจากป่า ก็เพราะไม้ใหญ่ๆโดนตัด จากการทำลายป่าไม้ มันทำรังในโพรงครับ และที่แน่ๆพบเห็นไกล้ๆบ้านมันจะโดนยิง นี่เป็นเพราะความเชื่อที่คิดว่าเป็นการอนุรักษ์ที่ผิด เป็นดาบ10คมที่ทำลายนกฮูก

ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม
สำนักพิมพ์สารคดี


นกฮูกกับนกเค้าแมวไม่ มีความต่างกันเพราะเป็นนกชนิดเดียวกัน คือวงศ์ของนกเค้า สาเหตุที่เรียกว่านกฮูกซึ่งเป็นชื่อของชาวบ้านตั้ง คงเพราะชาวบ้านเรียกตามเสียงที่มันร้องว่า 'คุก ๆ ฮูก' โดยชื่อทางการของนกฮูก คือ นกเค้าแมว

นกฮูกหรือนกเค้าแมว เป็นนกตระกูลหนึ่งที่กินเนื้อเป็นอาหารมีอยู่ ๑๓๔ ชนิดทั่วโลก โดยจะพบได้ในทุกส่วนของโลก ยกเว้นในแถบขั้วโลกใต้และเกาะในมหาสมุทรบางแห่ง เป็นนกที่ชอบหากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นจึงมีระบบตาและหูที่ดีเป็นพิเศษเหนือกว่านกชนิดอื่น โดยมีดวงตาใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าของศีรษะ รอบ ๆ ตามีขนซึ่งเรียงออกไปเหมือนจานกลม ๆ ใบใหญ่ ตาของมันใช้ชำเลืองดูไปมารอบ ๆ เหมือนตาคน หรือตาสัตว์อื่น ๆ ไม่ได้ ดังนั้นหากต้องการจะดูอะไร นกชนิดนี้จึงต้องหันหน้าตรงไปด้วยจึงจะมองเห็น คอมีขนปกคลุมหนาจึงดูเหมือนเป็นนกคอสั้น แต่ความจริงคอของมันยาวพอที่จะหันหัวไปข้างหลังได้อย่างสบาย ๆ มีหูที่ดีมาก แต่หูทั้งสองข้างโตไม่เท่ากัน จึงทำให้มันรู้ว่าเสียงนั้นมาจากทางไหนได้ดีกว่าสัตว์อื่น ๆ ดังนั้นนกเค้าแมวจึงสามารถจับเหยื่อได้ในที่มืดสนิท โดยโฉบเอาตามเสียง ประกอบกับขนของนกเค้าแมวส่วนมากอ่อนนุ่ม ปลายขนก็อ่อนเป็นพิเศษ ทำให้บินได้เงียบมาก

ไข่ของนกเค้าแมวโดยมากเป็นสีขาว และค่อนข้างกลม ในประเทศไทยนกชนิดนี้มักวางไข่เพียง ๒-๓ ฟอง แต่ในเมืองหนาวจะวางไข่มากฟองกว่า การวางไข่ไม่ได้วางพร้อม ๆ กันวันเดียว แต่วางไข่ห่างวันกันมาก แม่นกจะเริ่มกกไข่ตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ฉะนั้นในรังหนึ่ง ๆ จึงมีลูกนกขนาดใหญ่เล็กผิดกันมาก

นกเค้าแมวเป็นนกที่ทำประโยชน์ให้แก่ชาวนามาก เพราะมันชอบกินหนู บางชนิดก็ทำลายตั๊กแตนและแมลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นศัตรูของพืช
เหตุ ที่คนกลัวนกเค้าแมว นกฮูก หรือนกแสกซึ่งเป็นนกในวงศ์เดียวกันนี้ ก็เพราะนกเหล่านี้ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเฉพาะนกเค้าแมวที่เราเรียกกันว่านกแสกนั้น เมื่อเอาไฟส่องดูมันในเวลากลางคืนจะเห็นวงหน้าน่ากลัวคล้ายหน้าปิศาจที่ เดียว


ประเทศไทยมีนกเค้าแมวถึง 19 ชนิด

นกแสก
นกแสกทุ่งหญ้า
นกแสกแดง
นกเค้าเหยี่ยว
นกเค้าหน้าผากขาว
นกเค้าแดง
นกเค้าภูเขาหูยาว
นกเค้าหูยาวเล็ก
นกเค้ากู่
นกเค้าแคระ
นกเค้าโมง
นกเค้าป่าหลังจุด
นกเค้าป่าสีน้ำตาล
นกเค้าแมวหูสั้น
นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล
นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา
นกเค้าใหญ่สีคล้ำ
นกทึดทือพันธุ์เหนือ
นกทึดทือมลายู

มาเริ่มกันเลยนะครับ


นกทึดทือพันธุ์เหนือ Brown Fish-Owl
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ketupa zeylonensis
(ไม่รู้จะเรียกว่า Eagle Owl ได้ไหม)

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดง ด้านล่างมีสีอ่อนกว่า บริเวณเหนือตามีขนยาวยื่นออกไปทั้งสองข้าง ขนตรงท้องมีสีเนื้อ แต้มด้วยลายขีดสีน้ำตาลแก่ นอกจากนี้ยังมีลายตามขวางเป็นเส้นบางๆ สีน้ำตาลอ่อน มีตาสีเหลืองกลมโต


ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปเอเชียแถบประเทศจีน ไต้หวัน มาเลเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้
อาหารได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน นก และแมลงขนาดใหญ่

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้ลำธาร ทะเลสาบและใกล้ท้องทุ่งนา มักออกหากินเพียงตัวเดียวทั้งกลางวันและกลางคืน หรือเป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์
นกทึดทือพันธุ์เหนือเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม นกชนิดนี้ไม่ทำรังแต่จะวางไข่ตามซอกหินบริเวณหน้าผาหรือตามโพรงไม้ สูงจากพื้นไม่เกิน 30 เมตร วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง มักทำรังที่เดิมทุกปี

สถานภาพปัจจุบัน
เป็นนกประจำถิ่นตามธรรมชาติ หาพบได้น้อยเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก และภาคใต้ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


สายพันธุ์นกเค้าแมว 111px-Brown_Fish_Owl;_Ketupa_zelolensis
สายพันธุ์นกเค้าแมว Brown-fish-owl-ketupa-zeylonensis-by-nikhildevasar


แก้ไขล่าสุดโดย ytw05 เมื่อ Tue Aug 17, 2010 3:12 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptySat Aug 14, 2010 8:30 am

นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl)
นกเค้าแมวพันธุ์มลายู หรือ นกฮูกมลายู และอีกชื่อหนึ่ง...นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl) ถิ่นกำเนิดพบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศ อินโดนีเซีย กระจายพันธุ์ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่ เมื่อสำรวจไปทั่วโลกพบว่ามี นกเค้าแมวพันธุ์มลายู 4 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Ketupa ketupu aagaardi neumann โดยพบครั้งแรกที่ จังหวัดนราธิวาส

นกเค้าแมวมลายู มี ลักษณะหน้าตาคล้ายแมว เป็นนกขนาดกลาง 49-50 ซม. ปีกสั้นกว่า 40 ซม. ดวงตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง มีขนเหนือคิ้วเป็นแผง ยาวออกไปด้านข้างทั้งสอง ด้าน ส่วนขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้าน บนสีน้ำตาลมีลายสีจางกระจาย ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อ หุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว มีเล็บโค้งแหลม และมีปากงุ้มแหลม

ส่วนการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน จากนั้นจึงพากันไปทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใช้รังเก่าของนกอื่นๆ มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบ จนกระทั่ง ความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้แหล่งน้ำ ลำธารในป่า และบริเวณใกล้ฝั่งทะเล ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน ชอบจับสัตว์เล็กๆกิน โดยอาหารของมันจะเป็น ปลา กบ ปู ค้างคาว นก และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิด

อ้างข้อมูลจาก ไชยรัตน์ ส้มฉุน
ไทยรัฐ Adlink
สายพันธุ์นกเค้าแมว Species-Bubo-ketupu-1สายพันธุ์นกเค้าแมว Buffy+Fish-owl-01สายพันธุ์นกเค้าแมว Buffy-Fish-Owl-held-by-a-Girl
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptySat Aug 14, 2010 9:54 am

นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล (เป็นนกเค้าที่ใหญ่ที่สุดในไทย)
Spot-bellied Eagle-Owl. (Bubo nipalensis)
หรือ Forest Eagle-Owl

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกเค้าขนาดใหญ่มาก ความยาวลำตัวประมาณ 61 เซนติเมตร ปากสั้นงุ้มสีเหลืองอ่อน มีขนหูยาวชันขึ้น ขนหัวและบนลำตัวสีน้ำตาล ช่วงท้องและด้านล่างลำตัวสีขาวและมีลายจุดรูปหัวใจ

นิสัย
นกเค้าชนิดนี้มักอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบตามภูเขาและป่าใกล้ลำธารใหญ่ ๆ มักอยู่ตัวเดียวหากินตั้งแต่ตอนเช้าถึงพลบค่ำและตอนกลางคืน กลางวันจะเกาะพักตามต้นไม้ที่มีใบหนาทึบ หรือตามโพรงไม้

ถิ่นอาศัย
อินเดีย จีน พม่า เทือกเขาตะนาวศรี เขมร เวียดนาม ลาว และในประเทศไทยมีทางภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พบบ่อยๆที่เขาใหญ่)

อาหาร
ไก่ป่า ไก่ฟ้า กระต่ายป่า ลูกเก้ง ลิง หนู ค้างคาว นก งู ปลาชนิดต่างๆ

การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์เดือนกุมภาพันธุ์ - มิถุนายน โดยทำรังในโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง

สถานภาพปัจจุบัน
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=narongrith&topic=775


สายพันธุ์นกเค้าแมว 3138216826_c3f94a6d42สายพันธุ์นกเค้าแมว 3461345799_344f396d4a
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyMon Aug 16, 2010 11:47 am

นกเค้าใหญ่พันธุ์ สุมาตรา
ชื่อสามัญ Barred Eagle Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo sumatranus

นกเค้าใหญ่พันธุ์ สุมาตรามีถิ่นกำเนิดในเกาะซุนดาส์ เทือกเขาตะนาวศรีไทย และ มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีเฉพาะทางภาคใต้ นกเค้านี้ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกันมีลักษณะคล้ายกับนกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล แต่ตัวเล็กกว่า และขนด้านบนของตัวมีลายขางเล็กๆสีเหลืองซีด ส่วนด้านล่างของตัวก็มีลายขวางเล็กๆ สีน้ำตาลบนพื้นขาว ชอบอยู่ตามป่าดงดิบซึ่งอยู่ไม่สูงนัก ชอบอยู่ตัวเดียวในขณะที่บินมักส่งเสียงร้องไปด้วย อาหารได้แก่ สัตว์เล็กๆ ไปถึงขนาดใหญ่ เช่น หนู กระรอก ลิง ค่าง กระจง

สายพันธุ์นกเค้าแมว Barred-eagle-owl-bubo-sumatranus-ear-tufts-yellow-beak-brown-eyes-bird-of-prey-feathers-wing-white-belly-photo

สถานภาพปัจจุบัน
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ผ่อง เล่งอี้.สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง.กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์ , 2521

โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2545

สายพันธุ์นกเค้าแมว Malay_eagle_owl_001_cwc
สายพันธุ์นกเค้าแมว Barred_eagle_owljuvenile6ashssสายพันธุ์นกเค้าแมว Bubo.sumatranus.gunung_emas_jeสายพันธุ์นกเค้าแมว Owl_barredeagle_owl_calling_angสายพันธุ์นกเค้าแมว Barredeagleowl9594_lp
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyTue Aug 17, 2010 2:52 pm

นกแสก
ชื่อสามัญ Barn owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tyto alba

นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกเค้าแมว (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae จัดเป็น 1 สายพันธุ์ในจำนวน 19 สายพันธุ์ของนกในวงศ์เค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกสายพันธุ์หนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 สายพันธุ์นั้นคือ นกแสกแดง)

นกแสก มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปหัวใจ ตาใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของหัว คอสั้น ปีกยาว หางค่อนข้างสั้น ขาและนิ้วแข็งแรง มีขนปกคลุมแข้งเกือบถึงนิ้ว ปลายนิ้วเป็นกรงเล็บ โดยกรงเล็บของนิ้วที่ 3 มีลักษณะหยักคล้ายซี่หวีทางด้านขอบด้านใน ทั้ง 2 เพศมีลักษณะเหมือนกัน แต่เพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย สีทางด้านล่างลำตัวและใต้ปีกเป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบเป็นสีขาว มีจุดลักษณะกลมรีสีน้ำตาล หรือสีเทากระจายอยู่ทั่วไป ทางด้านบนลำตัวและขนปกคลุมปีกสีเหลืองทอง มีจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกัน บริเวณใบหน้ามีสีขาว ไม่มีจุดใด ๆ มีขนสีน้ำตาลเข้มเป็นขอบอยู่รอบนอก ม่านตาสีดำ ใบหน้าเป็นสีขาว ปากเรียว แหลม และจะงอยปากเป็นปากขอ

ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 1 ฟุต

พฤติกรรมและการขยายพันธุ์
นกแสกเป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยมากพบในถิ่นที่ใกล้กับชุมชนของมนุษย์ โดยจะอาศัยอยู่ตามสิ่งก่อสร้างที่มีความสงบ เช่น หลังคาโบสถ์ในวัดวาต่าง ๆ หรือบ้านร้าง, ซอกมุมตึกหรือโพรงไม้ จึงนับได้ว่าเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด ในป่าพบตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นครอบครัว ไม่ค่อยที่อยู่เป็นฝูงใหญ่ ในตอนกลางวันหากมีสิ่งรบกวนจะพยายามหลบไปหามุมมืดของแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัยนั้น ๆ บางครั้งก็บินไปยังที่อื่น ๆ ซึ่งก็ห่างไกลพอสมควรเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะบินกลับมายังที่เดิม ในตอนพลบค่ำหรือตอนกลางคืน นกแสกจะมีความคล่องแคล่วว่องไวพอสมควร เมื่อเทียบกับตอนกลางวัน นกแสกออกหากินในตอนกลางคืน กลับเข้ามายังที่พักอาศัยในตอนรุ่งสาง นกแสกร้องเป็นเสียงดังกังวานโดยออกเป็นเสียง "แสก-แสก" อันเป็นที่มาของชื่อ จะได้ยินเสียงร้องเฉพาะในตอนกลางคืนเท่านั้น โดยจะร้องเพื่อเตือนนกตัวอื่นมิให้เข้ามาในอาณาเขตหาอาหารของตัว นกแสกโดยเฉพาะตัวผู้จะมีอาณาเขตหาอาหารกว้างได้ถึง 40 ตารางกิโลเมตร

อาหารหลักโดยปกติจะเป็นหนู โดยนกแสกไม่ได้เป็นนกมีนิสัยก้าวร้าวดุร้ายแต่อย่างใด เมื่อโฉบเหยื่อจะบินด้วยความว่องไวและเงียบกริบ ตะครุบเหยื่อด้วยกรงเล็บที่แหลมคมและจะงอยปาก จะกลืนอาหารเข้าไปทั้งตัว แต่ไม่อาจย่อยในส่วนที่เป็นขนหรือกระดูกแข็ง ๆ ได้ ดังนั้นจึงจะสำรอกออกมาทางปากไว้ในรัง ลักษณะเป็นก้อนขน
นกแสกมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน โดยเดือนกันยายนเป็นช่วงที่จับคู่และเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงของการวางไข่ ปรกติจะไม่มีการก่อสร้างรังใด ๆ แต่จะวางไข่ตามโพรงไม้ หรือตามชายคาโบสถ์ กุฏิ หรือบริเวณที่ใช้เป็นแหล่งอาศัยหลับนอนดังกล่าวแล้ว ไข่มีรูปร่างเป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 32.5 x 40.7 มม. ไข่สีขาว ไม่มีจุดหรือลาย รังมีไข่ 4-7 ฟอง โดยพบ 5 ฟองมากที่สุด ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 32-34 วัน ลูกนกแสกที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่ลืมตา มีขนอุยสีขาวปกคลุมลำตัวห่าง ๆ ขาและนิ้วยังไม่แข็งแรง ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันกกลูก และหาอาหารมาป้อน ลูกนกจะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ทำให้มีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ลูกจะเจริญเติบโตและพัฒนาขนปกคลุมร่างกายอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุได้ 2 สัปดาห์ ขนาดจะโตขึ้นมาก มีขนอุยสีขาวปกคลุมทั่วร่างกาย อายุ 3 สัปดาห์ เริ่มแข็งแรงพอที่จะเดินภายในรังได้ อายุ 4 สัปดาห์ มีขนแข็งปกคลุมลำตัวแทนขนอุย และเริ่มหัดบิน อายุ 5 สัปดาห์ขึ้นไปจะบินได้แข็งแรงและหากินเองได้ ในขณะที่ลูก ๆ ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ช่วยกันหาอาหารมาป้อน อาหารที่นำมาป้อนนั้นพ่อแม่จะฉีกเป็นชิ้น ๆ เสียก่อน แต่เมื่อลูกนกโตพอประมาณและแข็งแรงบ้างแล้ว พ่อแม่จะนำเหยื่อทั้งตัวมาให้ ซึ่งบางครั้งเหยื่อยังมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อฝึกให้ลูก ๆได้เรียนรู้ถึงวิธีการจับเหยื่อตั้งแต่ยังเล็กอยู่

การกระจายพันธุ์
นกแสกนับได้ว่าเป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมาก โดยพบได้แทบทุกมุมโลก ยกเว้นในทวีปอเมริกาเหนือในส่วนของรัฐอลาสก้าและประเทศแคนาดา บางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนเหนือ และทวีปเอเชียในส่วนของภูมิภาคเอเชียเหนือ, เอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเท่านั้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ในทุกภาค จึงทำให้นกแสกมีสายพันธุ์ย่อยมากมายถึง 28 สายพันธุ์ด้วยกัน เช่น T. a. alba พบในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์, T. a. javanica พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น

ความเชื่อและความสัมพันธ์กับมนุษย์
นกแสกนับว่าเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่อาจนับได้ว่าใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยความที่มีถิ่นอาศัยใกล้หรืออยู่ในชุมชนของมนุษย์ จึงทำให้มีความเชื่อในบางวัฒนธรรมว่า เป็นนกที่ส่งสัญญาณเตือนถึงความตาย เช่น ในความเชื่อของไทย เชื่อว่า หากนกแสกบินข้ามหลังคาบ้านผู้ใดหรือไปเกาะที่หลังคาบ้านใคร หรือส่งเสียงร้องด้วย จะต้องมีบุคคลในที่แห่งนั้นถึงแก่ความตาย จึงทำให้เชื่อกันว่าเป็นนกผีหรือนกปีศาจ

ซึ่งในเรื่องนี้ ได้ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมผ่านหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ว่าที่วัดแห่งหนึ่งที่อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา ชาวบ้านและพระที่จำวัด ณ วัดแห่งนั้น เชื่อว่าเมื่อใดที่นกแสกที่วัดส่งเสียงร้องดัง หรือเสียงแปลก ๆ จะมีคนตายส่งมาฌาปณกิจเสมอ โดยในช่วงเวลาที่เป็นข่าวก็มีคนตายไปแล้วถึง 6 คนด้วยกัน
แต่สำหรับในบางพื้นที่เช่นที่ จังหวัดชุมพร เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันได้ใช้นกแสกในการกำจัดศัตรูพืช คือ หนู โดยปลูกรังให้นกแสกอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สวน ปรากฏว่านกแสกสามารถกำจัดศัตรูพืชได้ดีกว่าการใช้ยาเบื่อหรือวิธีการทางธรรมชาติใด ๆ ทั้งมวล

สายพันธุ์นกเค้าแมว 18_copy3สายพันธุ์นกเค้าแมว Barnowl1สายพันธุ์นกเค้าแมว Barnoสายพันธุ์นกเค้าแมว Barn_owl_1
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyTue Aug 17, 2010 2:57 pm

นกแสกแดง
ชื่อสามัญ Oriental Bay Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phodilus badius (Horsfield) 1821

นกแสกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phodilus badius อยู่ในวงศ์ Tytonidae มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น

จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก

นกแสกแดงจัดเป็นนกแสก 1 ใน 2 สายพันธุ์ที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกพบได้น้อยและพบได้เฉพาะพิ้นที่บางส่วนเท่านั้น ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา จนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ทำให้แบ่งออกได้เป็น 6 สายพันธุ์ย่อยด้วยกัน เช่น P. b. badius พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, P. b. saturatus พบในรัฐสิกขิม, P. b. ripleyi พบในอินเดียตอนใต้, P. b. assimilis พบในศรีลังกา เป็นต้น


สายพันธุ์นกเค้าแมว Oriental_bay_owl_copy1
สายพันธุ์นกเค้าแมว Orientalbayowl_02kbสายพันธุ์นกเค้าแมว Asian_bay_owl_2_dw
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyTue Aug 17, 2010 3:06 pm

นกเค้าเหยี่ยว
ชื่อสามัญ : Brown Hawk-Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ninox scutulata (Raffles, 1822

ลักษณะ : ลำตัวใหญ่ ปีกกว้างและมน ตาสีทองแกมเหลือง ระหว่างตาคาดแถบสีเหลือง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีเนื้อถึงขาว มีลายจุดใหญ่สีน้ำตาลแกมน้ำตาลเหลือง

สถานภาพ : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ถิ่นอาศัย : อาศัยในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าไผ่ ป่ารุ่น พื้นที่โล่งที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่างกันจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล และป่าโกงกาง

การแพร่กระจาย : นกประจำถิ่น พบในภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ และบางส่วนของตะวันออก นกอพยพ พบในภาคกลาง

*เป็นนกล่ากลางคืนที่มีความพิเศษ หากินกลางวันได้ด้วย และยังสามารถบินล่าจับเหยื่อกลางอากาศได้

***น่าสนใจมากๆครับ http://www.bcst.or.th/forum/index.php?topic=1744.0


สายพันธุ์นกเค้าแมว Brown_hawk_owl_3สายพันธุ์นกเค้าแมว Humes_hawk_owlnsสายพันธุ์นกเค้าแมว Owlbrownhawk_8502_rsสายพันธุ์นกเค้าแมว Browhawkim
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyTue Aug 17, 2010 3:26 pm

นกแสกทุ่งหญ้า Grass Owl
(Tyto capensis Jerdon, 1839)

นกแสกทุ่งหญ้า (Grass Owl: Tyto capensis Jerdon, 1839) เป็นนกแสกในวงศ์ Tytonidae และสกุล Tyto เช่นเดียวกับนกแสก (Barn Owl) แต่ลักษณะของชุดขนและถิ่นที่อยู่ต่างกัน โดยสิ้นเชิง ชื่อสามัญระบุประเภทของถิ่นที่อยู่แบบทุ่งหญ้าสำหรับทำรังวางไข่ แม้ว่าลักษณะทางกายวิภาคจะคล้ายคลึงกันแต่ความแตกต่างของชุดขนระหว่างนกแสกร่วมสกุล (congener) 2 ชนิดนี้ สามารถจำแนกออกจากกันในภาคสนามได้อย่างชัดเจน นกแสกทุ่งหญ้าแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะในโลกเก่ากอปรด้วย ทวีปแอาฟริกา อนุทวีปอินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนของหมู่เกาะของประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย และทวีปออสเตรเลีย ตำราบางเล่มยกฐานะชนิดย่อยในทวีปเอเชียและหมู่เกาะ ต่างๆ รวมเป็นชนิดโดยสมบูรณ์ เรียกว่า Eastern หรือ Australasian Grass Owl: Tyto longimembris (Sibley & Monroe, 1990; Clements, 2007)เช่น T. (capensis) longimembris ที่อนุทวีปอินเดีย ประเทศลาวและเวียดนาม อินโดนีเซีย และออสตรเลีย T. (l.) chinensis ที่ประเทศจีนตอนใต้และเวียดนาม T. (l.) pithecops ที่ประเทศไต้หวัน เป็นต้น เนื่องจากเขตแพร่กระจายพันธุ์ไม่มีรอยเชื่อมต่อหรือทับซ้อนระหว่างประชากรในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย (allopatric species)

ในอดีตไม่ปรากฏหลักฐานพบนกแสกทุ่งหญ้าในประเทศไทยจนกระทั่งเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2549 นกแสกทุ่งหญ้า จำนวน 1 ตัวถูกถ่ายภาพได้ ณ ทุ่งหญ้ากลางพื้นที่ชุ่มน้ำแบบพรุใน อ. แม่จัน จ. เชียงราย (ชัยวัฒน์ 2550) นับเป็นรายงานแรกที่มีหลักฐานภาพถ่ายยืนยัน
นกแสกทุ่งหญ้าเป็นนกล่าเหยื่อในเวลากลางคืน ขนาดกลาง วัดจากจะงอยปากจรดปลายหางยาว 35-38 ซม. โดยเฉลี่ยใหญ่กว่านกแสก (T. alba) เล็กน้อย จากการตรวจชุดขนของนกแสกทุ่งหญ้าที่จับใส่ห่วงขาเพื่องานวิจัย พบว่าขนใบหน้าขาวปลอด ชุดขนโดยรวมมีสีเข้มกว่านกแสก กระหม่อมสีน้ำตาลเข้มแบบสีช็อคโกแลต ต่างจากนกแสกที่เป็นสีเทา ใบหน้ายาวรีกว่านกแสก บริเวณอกมีแถบกว้างสีน้ำตาลอ่อนตัดกับพื้นท้องสีขาว ประด้วยจุดดำ ขนคลุมใต้ปีกมีสีขาวประจุดดำเหมือนพื้นท้อง ปลายปีกโดยเฉพาะขนปลายปีกชั้นนอก (outer primaries) มีแถบดำ บนปีก(upperwing) และบนหาง (uppertail) มีแถบดำพาดขวาง (เกิดจากจุดดำเรียงตัวเป็นแนวเส้น)ตัดกับสีน้ำตาลอ่อนของเส้นขน ขนคลุมบนปีกสีน้ำตาลเข้ม เสมอขนบนกระหม่อม ประเมินจากลักษณะของชุดขน นกแสกทุ่งหญ้าตัวนี้เป็นชนิดย่อยหลัก (nominate subspecies) คือ T. (l)longimembris พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย ลาว เวียดนาม ลงไปที่หมู่เกาะของอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย (Clements, 2007) ซึ่งจะพิสูจน์ยืนยันด้วยวิธีเทคโนโลยีเชิงโมเลกุล โดยเปรียบเทียบชนิดย่อยต่างๆ ในพื้นที่ต่างประชากรต่อไป
ลักษณะทางกายวิภาคที่แตกต่างจากนกแสกที่เด่นชัด ได้แก่ ความยาวแข้ง (tarsus length)ของนกแสกทุ่งหญ้า ยาว 9.66 - 10 ซม. แต่แข้งของนกแสกยาว 7.37 ซม. ทำให้นกแสกทุ่งหญ้าขณะเกาะมีรูปลักษณ์สูงโปร่งและขณะบิน จะเห็นตีนและกรงเล็บยื่นยาวเลยปลายหางชัดเจน ในขณะที่ตีนของนกแสกจะหลบอยู่ภายใต้ขนหางโดยสรุป นกแสกทุ่งหญ้าเป็นนกประจำถิ่น ผสมพันธุ์ในประเทศไทย การจำแนกชนิด
นกแสกทุ่งหญ้า ประกอบด้วยถิ่นที่อยู่ คือ พบนก "แสก" ในทุ่งหญ้าระดับสูง รูปลักษณ์ขณะบินมีขายื่นยาวกว่าปลายหาง และลักษณะของชุดขนมีกระหม่อมสีน้ำตาลเข้ม แถบอกสีน้ำตาลอ่อนตัดกับท้องขาว ปลายปีกคาดแถบดำ ขนคลุมบนปีกสีน้ำตาลเข้มตัดกับบนปีกสีน้ำตาลอ่อนมีแถบดำพาดขวางข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกแสกทุ่งหญ้าในประเทศไทยยังไม่ทราบชัด แต่ในเบื้องต้นพบว่า ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2551 ขณะสำรวจเหยี่ยวทุ่งในทุ่งหญ้ากลางพรุน้ำจืดที่เคยพบนกแสกทุ่งหญ้าครั้งแรก พบรังของนกแสกทุ่งหญ้า จำนวน 2 รัง
และตัวเต็มวัย จำนวน 3 ตัว ภายในรังไม่มีวัสดุรอง มีเพียงหญ้าแห้งสานทับกันเป็นพื้นรังมีลักษณะเป็นอุโมงค์มีทางเข้าด้านข้าง และมีโพรงหลายโพรงเชื่อมต่อกัน ซ่อนอยู่ในทุ่งหญ้าซึ่งประกอบด้วยหญ้าไซและหญ้าคา สูงราว 100 -150 ซม. ที่รังแรก พบนกตัวเต็มวัย 1 ตัว และลูกนก
2 ตัว อายุประมาณ 2 สัปดาห์ มีขนอุยสีน้ำตาลอ่อนขึ้นทั่วตัว และรังที่สองมีโพรง 2 โพรงต่อกันคล้ายตัวอักษรแอล พบนกตัวเต็มวัย 2 ตัว และลูกนก 4 ตัว อายุประมาณ 3 สัปดาห์ มีขนอุย สีน้ำตาลอ่อนขึ้นทั่วตัว แต่ขนปีกและขนหางกำลังงอก (pin feathers) ในรังที่สอง นกสำรอกก้อน
กากอาหาร (pellet) มากองรวมกันไว้ในโพรงแยกจากอุโมงค์หลักที่ลูกนกนั่งพักอยู่ เสมือนเป็นห้องขับถ่าย จากการตรวจก้อนกากอาหารเบื้องต้น พบชิ้นกะโหลกของหนู ตอกย้ำความสำคัญของนกแสกทุ่งหญ้า ในฐานะตัวกำจัดหนูในธรรมชาติ เช่นเดียวกับนกแสก จึงสรุปได้ว่านกแสกทุ่งหญ้าเป็นนกประจำถิ่น ทำรังวางไข่ในประเทศไทย คาดว่าฤดูผสมพันธ์ุของนกแสกทุ่งหญ้าอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคมภัยคุกคามของนกแสกทุ่งหญ้าในพื้นที่ ไม่พบการล่าหรือรบกวนของมนุษย์ จากการสอบถามชาวบ้านในชุมชนรอบพื้นที่ พบว่าชาวบ้านเรียกนกแสกทุ่งหญ้าว่า
"นกเก๊าจ๊าง" และไม่นิยมเลี้ยงในบ้านเพราะถือว่าอัปมงคล เช่นเดียวกับนกแสก แต่ 2 วันหลังจากสำรวจพบรังของนกแสกทุ่งหญ้า ปรากฏว่ามีการเผาหญ้าหน้าแล้งโดยชาวบ้านที่เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อหาของป่า ของกิน และไม่น่าจะมีเจตนารบกวนนก เนื่องจากไม่ทราบว่ามีรังนกอยู่
ผลจากการเผาหญ้าครั้งนี้ ได้ทำลายรังและลูกนกในรังที่สองทั้งหมด แต่ในรังแรกนกตัวเต็มวัยและลูกนกปลอดภัย

สายพันธุ์นกเค้าแมว Jay_4806easterngrassowlสายพันธุ์นกเค้าแมว Owlgrass07jan21_2842_ckสายพันธุ์นกเค้าแมว 1grass_owl_npcvo
ขึ้นไปข้างบน Go down
ytw05
Admin members
Admin members
ytw05


จำนวนข้อความ : 1104
Points : 1249
Join date : 09/08/2010
Age : 40
ที่อยู่ : Saraburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyTue Aug 17, 2010 3:35 pm

นกเค้าป่าสีน้ำตาล
Brown Wood-Owl
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Strix leptogrammica

ลักษณะทั่วไป
นกเค้าป่าสีน้ำตาล จัดเป็นนกเค้าขนาดใหญ่ มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 47-53 เซนติเมตร สีโดยรวมเป็นสีออกน้ำตาลๆ วงหน้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง สีอ่อนกว่าบริเวณหัวและหน้าผากซึ่งเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีเกือบขาวลากจากโคนปากด้านบนขึ้นไปทางหัวตาดูคล้ายคิ้ว นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน

ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในอินเดีย จีน ไหหลำ ไต้หวัน ซูดาน พม่า มาเลเซีย เวียดนาม ตังเกี๋ย และลาว สำหรับประเทศไทยมีทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นกเค้าป่าสีน้ำตาลอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูงในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบเขาตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2590 เมตรจากระดับน้ำทะเล

อาหารได้แก่ นกขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

นกเค้าป่าสีน้ำตาลจับคู่ผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ วางไข่ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยจะอาศัยโพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นขุดไว้ หรือซอกหินบริเวณที่ลาดชันเป็นรัง ไข่จะมีลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกไข่สีขาว วางไข่ครอกละ1-2ฟอง เริ่มฟักตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อน

สถานภาพปัจจุบัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

* นกเค้าขนาดใหญ่ จะไม่มีรังวางไข่ เพราะว่าการตัดไม้ทำลายป่า
สายพันธุ์นกเค้าแมว Woodowl2

วัยเด็ก
สายพันธุ์นกเค้าแมว Brown_wood_owl_chick2สายพันธุ์นกเค้าแมว Brown_wood_owlj20080921ch

เต็มวัย
สายพันธุ์นกเค้าแมว Brown_woodowl_1019b_cwmสายพันธุ์นกเค้าแมว Brown_wood_owl_ad_copy1
ขึ้นไปข้างบน Go down
w_peak

w_peak


จำนวนข้อความ : 239
Points : 252
Join date : 09/08/2010
ที่อยู่ : Rama 2

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptySat Aug 28, 2010 2:39 pm

ตัวนี้น่ารักน่าเลี้ยงสุด "นกเค้าเหยี่ยว"
ขึ้นไปข้างบน Go down
tonkfalconry

tonkfalconry


จำนวนข้อความ : 429
Points : 512
Join date : 09/08/2010

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyTue Oct 12, 2010 8:15 pm

ผมว่าน่ารัก น่าเลี้ยงทุกตัวเลย น่าจะมีคนสนใจมาก กว่านี้หน่อย นะ
ขึ้นไปข้างบน Go down
ZERK18
SFC_members
SFC_members
ZERK18


จำนวนข้อความ : 220
Points : 344
Join date : 16/08/2010
Age : 35
ที่อยู่ : BKK-Rajaburi

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyFri Jan 21, 2011 9:19 pm

กบชอบๆๆๆๆ
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://www.facebook.com/zerk18
????????
ผู้มาเยือน




สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyWed Feb 02, 2011 9:37 am

ผมก็อยากเลี้ยงเหมือนกันครับ แต่พ่อไม่ปลื้มเลยอด...
ขึ้นไปข้างบน Go down
ongnisuka
New members.
New members.
ongnisuka


จำนวนข้อความ : 156
Points : 182
Join date : 12/10/2010
ที่อยู่ : อ.ไทรน้อย นนทบุรี

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyThu Feb 10, 2011 4:33 pm

ได้มาแล้วนกเค้าเหยี่ยวเสียงร้องน่ากลัวดีแต่หน้าตาน่ารักได้มาจากแหล่งเดียวกับชิคราเลยแต่ถูกกว่านิดหน่อย แล้วจะเอารูปให้ดู
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: สายพันธุ์นกเค้าแมว   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyTue Mar 08, 2011 12:05 pm

แก้ไขรูปภาพแล้วนะครับ
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

สายพันธุ์นกเค้าแมว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: นกเค้าใหญ่สีคล้ำ Dusky Eagle Owl   สายพันธุ์นกเค้าแมว EmptyWed Mar 09, 2011 5:16 pm

Dusky Eagle Owl (Bubo coromandus). Size 53 cm (21 in). Large size with erect ear tufts when alert. Greyish brown upperparts marked with narrow dark streaks together with pale greyish buff underparts with fine blackish streaks distinctive. Iris orange. Feathered tarsi. Occurs in the Indian subcontinent through Myanmar and south-western Thailand to the Malay Peninsula. Found in forest and forest edge, plantation.

ลักษณะทั่วไป : มีขนาด 53 ซม. ปากสั้นงองุ้มสีเหลืองจาง ๆ มีขนหูยาวชัน ดวงตากลมโตสีเหลือง ขนคลุมลำตัวสีน้ำตาลอมเทา มีลายขีดสีตาลแก่ตามแนวความยาวลำตัว มีขนคลุมจนถึงปลายนิ้ว

อุปนิสัย : ออกหากินเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ อาหารได้แก่ แมลงขนาดใหญ่ สัตว์เลื้อยคลานและหนู

สถานภาพ : เป็นนกที่พบได้ยากมาก และสถานะภาพยังไม่ทราบแน่นอน มีรายงานการพบทางภาคใต้ตอนบน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ป่าระดับต่ำ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ

ข้อมูลจาก www.thaigreenzone.com

สายพันธุ์นกเค้าแมว Dusky_eagle_owl__keoladeo_np__babakotoสายพันธุ์นกเค้าแมว Dusky_eagle_owl_copy1สายพันธุ์นกเค้าแมว Dsc0021สายพันธุ์นกเค้าแมว Dusky_eagle_owl_009_dmสายพันธุ์นกเค้าแมว 084_dusky_akสายพันธุ์นกเค้าแมว Dusky-eagle-owl-maleสายพันธุ์นกเค้าแมว 2915038058_f12af78700
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
สายพันธุ์นกเค้าแมว
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Siam Falconry Club :: ชนิดนกล่าเหยื่อ (Birds of prey species.) :: กลุ่มนกเค้าแมว (Owl)-
ไปที่: