Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum

 

 การดูแลนก Health Care (พิราบ)

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
SFC.Thai
Admin members
Admin members
SFC.Thai


จำนวนข้อความ : 230
Points : 443
Join date : 14/07/2010
Age : 52
ที่อยู่ : Thailand

การดูแลนก Health Care (พิราบ)  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: การดูแลนก Health Care (พิราบ)    การดูแลนก Health Care (พิราบ)  EmptyMon Mar 17, 2014 5:29 pm

บทความที่สตีฟส่งมาเรื่อง การดูแลนก Health Care

มีวิธีในการดูแลสุขภาพนกพิราบให้ปลอดภัยจากโรคได้อยู่ 2 แนวทางคือ แนวทางที่หนึ่งคือการให้ยาหลังจากวิเคราะห์โรคแล้ว และ แนวทางที่สองคือการให้ยาล่วงหน้า

ที่ดีที่สุดคือการให้ห้องแลปในการวิเคราะห์โรคก่อนการรักษา แต่เนื่องจากเหตุผลทางค่าใช้จ่าย หรือห้องแลปไม่เพียงพอ หรือนักเลี้ยงนกเองมีความมั่นใจว่าจะวิเคราะห์โรคได้เอง ทำให้วิธีการนี้นำมาปฏิบัติได้ยาก

1. แนวทางที่หนึ่ง การให้ยาหลังการวิเคราะห์โรคแล้ว

1.1 การให้วัคซีนสำหรับป้องกันโรค

ก. พารามิกโซ
ข. พาราไทฟอยร์
ค. ฝีดาษ ที่เกิดกับลูกนก

การให้วัคซีนกันฝีดาษ ให้ทำก่อน 8 อาทิตย์ก่อนแข่งขัน พารามิกโซ และพาราไทฟอยร์ สามารถทำควบคู่กับยาฝีดาษหากพบแนวโน้มว่าจะมีการระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว

หลังนกหย่านมแล้วสามารถให้วัคซีนได้ แต่นกไม่ควรอ่อนกว่าอายุ 28 วัน หลังจากให้ครั้งแรกแล้ว ให้ซ้ำได้ตามความเหมาะสม

ง. การตรวจวิเคราะห์มูลนก สามารถตรวจหาพยาธิโดยตรงจากนกตัวที่สงสัยจะพบเชื้อหรือตรวจโดยรวมจากการเก็บตัวอย่างจากช่องเกาะ เพื่อหาพยาธิตัวกลม ตัวแบน เส้นด้าย หรือพยาธิในลำใส้

การรักษา ให้ใช้ยา Ivermectin หรือ Ivomec โดยทำให้เจือจางโดยมีอัตราส่วน 1:9 กับ propylene Glycol ให้แก่นก 0.1cc (1-2 หยด) หยอดใส่ปาก จะสามารถฆ่าพยาธิได้หลายชนิด ยกเว้น Tape worm พยาธิตัวแบน และในกรณีของพยาธิในท้อง Stomach worms ต้องให้ยา Ivomec 1 cc โดยตรง ในกรณีเช่นนี้ ยา Ivomec ที่ค้างอยู่ในสายเลือดยังสามารถฆ่าไรนกได้อีกด้วย

ใช้ยา Mobendazole หรือ Telmintic ให้ใช้ 1/4 หรือ 1/2 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แกลลอน ให้นกดื่มซัก 3-5 วัน หลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้ทำซ้ำอีกครั้งหากสงสัยว่ายังมีการระบาดอีกและกรณีหน้าหนาวซึ่งนกดื่มน้ำน้อยอันอาจจะทำให้ได้ยาน้อยเกินไป และให้มากขึ้นเพื่อฆ่าพยาธิในท้อง Stomach Wall worm แต่ให้ระวัง นักเลี้ยงนกบางคนให้มากเกินไปเช่นเป็น 10 เท่าของที่แนะนำ จะมีผลทำให้ขนนกเสียและไข่ไม่มีเชื้อ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในช่วงนกผลัดขนหรือวางไข่

Levamisole หรือ Tramisol ให้ 1,000 หรือ 1,500 mg ต่อน้ำ 1 แกลลอน ให้ 1-2 วัน ให้เลือกใช้แบบน้ำ เพราะแบบเม็ดจะไม่ละลายน้ำ แต่ยา Tramisol อาจใช้ไม่ได้ผลต่อ พยาธิ Capillarial และพยาธิตัวแบน ทั้งยังอาจทำให้นกอาเจียนได้

Praziguantel หรือ Droncit ให้ 1/4 เม็ดต่อนก 1 ตัว ได้ผลต่อพยาธิ Tape worm

การให้ยานกที่มีปัญหาอุจจาระร่วงหรือบิด

Sulfachlorpridazine หรือ Vetisulid ให้ 2/3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอน เป็นเวลา 3-5 วัน
Amprolium หรือ Amprol ให้ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอน 3-5 วัน
ให้ยาหนึ่งในสองชนิดนี้ แล้วตามด้ววิตามินอีก 1-2 วัน
Clazoril ให้ 1 เม็ดต่อตัว
Nitrofurazone เป็นยาที่ไม่แนะน้ำให้ใช้

การรักษา Canker แคงเกอร์

Emtryl ให้ 3/4 ช้อนชาต่อน้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 5-7 วัน ยาชนิดนี้ถูกยกเลิกการใช้แล้ว แต่ถือว่าใช้ได้ผลดี แต่อาจเกิดพิษถ้าใช้มากเกินไป

Ipropan ให้ 1/4 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอนเป็นเวลา 3-5 วัน ยาราคาค่อนข้างแพงแต่ใช้ได้ผล ยานี้มีแนวโน้มว่าจะถูกห้ามใช้ในอนาคต (บทความนี้เขียนมาหลายปีแล้ว - ผู้แปล)

spartrix หรือ Carnidazole 1 เม็ดต่อนกหนึ่งตัว

Fagyl หรือ Motronidazole ยาต้องมีใบสั่งแพทย์ เป็นยาเม็ดต้องบดให้ละเอียดแล้วผสมน้ำ ให้ดูวิธีใช้ยาให้ละเอียด

การเพาะเชื้อจากมูลนก

ไม่ว่าจะเป็นการนำมูลนกที่เจาะจงตัวนั้น ๆ หรือจากกรง ก็เป็นการศึกษาปริมาณเชื้อในกลุ่มอุจจาระร่วง เช่น Salmonella หรือ E. Coli ซึ่งถ้าพบได้จำนวนน้อย ซึ่งถือว่าเป็นปกติ แต่ถ้าขยายตัวมากขึ้น ก็เรียกได้ว่ากรงเริ่มมีการติดเชื้อแล้ว การให้ยา แอนตี้ไบโอติก Amoxicillin trihydrate นับว่าให้ผลดี การให้ยา 25-50 mg ต่อนกหนึ่งตัวต่อวัน ตลอด 2 อาทิตย์ ยา Vetisulid ใช้ได้ผลดีมากต่อเชื้อ E. Coli เช่นเดียวกับยา Aproycin ยาตัวหลังนี้ ไม่ได้ถูกดูดซึมจากลำใส้ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะหยุดการขยายตัวของโรค แต่ไม่ตัดวงจรการติดเชื้อ ซึ่งอาจติดไปถึงเนื้อเยื้อได้โดยผ่านทางสายเลือด

โรคมาเลเรียในเม็ดเลือด

ในกรณีที่นกอยู่ในบริเวณที่มีโรคมาเลเรีย การใช้ยา Antimalarials อย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความรุนแรงลง สำหรับนกที่ติดเชื้อ ต้องให้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ยา Atabrine 10 mg ทุกวันจนครบ 30 วัน ในถิ่นที่มีความเสี่ยง ต้องให้ยา Atabrine 1-2 เม็ด/แกลลอน Primagine 1 เม็ด/แกลลอน หรือ Aralen 1 เม็ด/แกลลอน เป็นเวลา 1-2 วัน ต่ออาทิตย์ในช่วงนกเข้าแข่งขัน (ผู้เขียนบทความใช้คำว่า 1Tab/gallon แต่ผู้แปลนึกสภาพของยาไม่ออกว่ามีขายในลักษณะใด จึงใช้คำว่า เม็ด แทน tab )

ต้องดูแลเรื่องริ้น ไร ที่อยู่บนขนและตัวนกอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากยาที่ผสมในน้ำที่ใช้อาบไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปในขนนกอย่างทั่วถึง จึงควรใช้ยาเป็นผงอัดเป็นแท่งแบบข๊อค Chalkขูดตามขนและตัว ขณะนี้ถูกห้ามใช้เพราะมีส่วนผสมของสารหนู แต่ยังคงหาซื้อได้จากประเทศแถวเอเซีย ชื่อยาเหล่านี้คือ Permothrin Malathion หรือ Carbaryl

ใช้ยาผง Permothrin นี้ 2-4 อาทิตย์ หรือ Malathion ทุก ๆ อาทิตย์ จะกำจัดแมลงวันตัวแบนที่ซ่อนในขนนกได้ จะช่วยลดโรคติดเชื้อในเม็ดเลือด (haemoproteus)

ยุง เป็นพาหะนำเชื้อมาเลเรีย ยาฆ่าแมลงประเภทระเหยใช้แขวนไว้ในกรงให้กลิ่นระเหยออกมานับว่าใช้ได้ผลพอสมควร จะใช้ยาจำนวนมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับขนาดของกรงและอากาศถ่ายเทมากน้อยเพียงใด

ยา Ivermectin จำนวน 1cc ผสมน้ำ 32 ออนซ์ ใช้ได้ผลในการฆ่าไร แต่ไม่สามารถไล่แมลงวันตัวแบนได้

การใช้ยาฆ่าแมลงในกรงและในช่องเกาะมีความจำเป็น เพื่อตัดวงจรการแพร่พันธุ์ของแมลงเหล่านี้ แต่เนื่องจากเป็นอันตรายจึงต้องใช้อย่างระวัง

โรค Mycoplasmosis หรือ Chlamydiosis ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ

การรักษา

Crylhromycin หรือ Gallimycin 25-30mg ต่อนก1 ตัว หรือ Tylasin 50mg ต่อนก 1 ตัว หรือ Lincocin 35-50 mg ต่อนก 1 ตัว ทุกวัน เป็นเวลา 1-2 อาทิตย์สำหรับรักษาโรค Mycoplasmosis

Tetracyclines (โดยไม่ใช้รวมกับแร่และเปลือกหอยต่าง ๆ) 50 mgต่อนก 1 ตัว เป็นเวลา 2-4 อาทิตย์เพื่อรักษาโรค Chalmydiosis และรวมถึงโรค Mycoplasmosis ได้

Doxycycline Hyclate จำนวน 25mg/lb 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 5-7 วัน จากนั้นให้วันละครั้งอีก 4 อาทิตย์

ให้ยาปฏิชีวนะเพิ่มเติมเมื่อนกมีอาการน้ำมูกไหล

-------------------------------------------------------

แนวทางที่ 2 คือ การให้ยาเพื่อป้องกันโรคโดยไม่มีการวิเคราะห์ก่อนล่วงหน้า

สำหรับนกพันธุ์ ให้ทำล่วงหน้า 4-6 อาทิตย์ ก่อนเข้าคู่

สำหรับนกแข่งหรืออื่น ๆ ให้ทำล่วงหน้า 6-8 อาทิตย์ ก่อนแข่งขันหรือก่อนนำนกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ นอกกรง (ที่ยุโรปคงมีการนำนกไปโชร์ตัวหรืออื่น ๆ ที่เมืองไทยคงไม่มี)

ลำดับการให้ยา

ให้วัคซีน พารามิกโซ พาราไทฟอยร์ ฝีดาษ เสร็จแล้ว เว้นไว้ 1 อาทิตย์ แล้วให้ยาฆ่าพยาธิ Ivomec หรือ Telmintc หรือ Tramisol จากนั้นให้วิตามินอีก 2 วัน แล้วเว้นไว้อีก 2-3 วัน

ต่อด้วยโรคบิด โรคลำใส้ ให้ยา
Vetisulid
Coprid หรือ Amprol
Clazoril ถ้าหาซื้อได้
ต่อด้วยให้วิตามินอีก 2 วันแล้วเว้นไว้ 2-3 วัน

ตามด้วยยา Canker โดยใช้ตัวหนึ่งตัวใดในกล่มนี้คือ
Emtryl Spartrix Flagyl(น่าจะดีที่สุด แต่ต้องมีใบสั่งแพทย์)
Risol

ในกรณีที่ให้ยาแก่นกทั้งฝูง ใช้ยาชนิดหนึ่งในครั้งแรกแล้วให้เปลี่ยนเป็นยาอีกชนิดในโอกาสที่ต้องใช้ต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงการดื้อยา

จากนั้นต่อด้วยวิตามิน อีก 2 วัน แล้วเว้นไว้อีก 2-3 วัน

การให้ยาตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จำนวนโด๊ส ให้เป็นไปตามที่ให้ไว้ในแนวทางแรก

ข้อสังเกตุ สามารถให้ยา Telmintic emtryl และ amprol ร่วมกันได้ ขณะเดียวกันก็ให้ยาฆ่าพยาธิ โรคอุจจาระร่วง และบิด รวมกันได้เช่นกัน แต่อย่าลืมต้องตามด้วยวิตามินอีก 2 วัน อย่าใช้ยาชนิดอื่น ๆ แบบปนกัน นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เพราะส่วนผสมกันแล้วอาจเกิดการสร้างพิษแก่ร่างกายได้

การให้ยาป้องกัน E. coli หรือ พาราไทฟอยร์ถือว่าไม่ใช่จะปลอดภัยเลยทีเดียวนัก แต่โดยรวมแล้วถือว่ามีประโยชน์มากในบางกรณี
ยา Amoxicillin, Nitrofurozone, Vetisulid หรือ Aprolan เป็นยาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

การใช้ยาเพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจเช่น Chiamydia และ Mycoplasmal ให้ใช้ต่อเมื่อพบอาการของโรคแสดงออกมาแล้วเท่านั้น ยาที่ใช้คือ Erythromycin Gollimycin, Tylosin Tylan Lincomysin Lincocin และ Tetracycline .

ข้อสังเกตุ การใช้ยาปฏิชีวนะในลักษณะเหวี่ยงแหมีผลต่อการทำลายแบตทีเรียดี ๆ ที่มีประโยชน์ และยังมีผลทำให้โรคดื้อยาด้วย ดังนั้น ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่ความจำเป็นเท่านั้น

ลำดับการให้ยาดังที่กล่าวมานี้ ทำซ้ำได้หลังการแข่งขันหรือหลังการนำนกกลับจากการแสดงอื่น ๆ หรือการเพาะพันธุ์นกแล้ว

อย่าลืมหลังให้ยาแล้ว ต้องให้วิตามินรวมด้วยอีก 1-2 วัน

อย่าลืมให้ความสำคัญด้านการเสริมแบททีเรียดี ๆ แก่นกหลังให้ยาปฏิชีวนะเพื่อเสริมภูมิต้านทานแก่นกเองและรวมทั้งสภาพโดยรวมของกรงด้วย

สภาพและโครงสร้างของกรงขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ/อากาศของกรงนั้น ๆ รวมทั้งให้อยู่ในแบบที่ดูแลทำความสะอาดง่าย พื้นที่เป็นตะแกรงทำความสะอาดได้ดีและง่ายกว่าพื้นที่คอนกรีดที่ถึงแม้จะดูสะอาดแต่อาจสะสมความชื้นและเปียกได้มากกว่า

ไข่พยาธิและบิดมีวงจรการเจริญเติบโตก่อนที่จะกลายเป็นโรค สภาพอากาศชื้นและอุ่นมีส่วนเสริมในการขยายการเจริญเติบโตของโรคดังกล่าว ดังนั้นการแซะมูลนกทุก ๆ วันถ้าทำได้จะเป็นการดีที่สุดที่จะทำลายไข่พยาธิ กรงสะอาดหมายถึงสภาพที่อยู่อาศัยที่ทำให้นกสมบูรณ์ ความแออัดถือว่าเป็นศัตรูของนักเลี้ยงนกลำดับต้น ๆ นกไม่มีทางทำผลงานได้ดีเลยถ้าอยู่ในกรงที่สกปรกและแออัด

การควบคุมโรค

สร้างแหล่งกักกันโรคสำหรับลูกนกใหม่ ซึ่งอาจเป็นพาหะนำเชื้อต่างเข้ากรง รวมทั้งอาจผ่านมาทางนกเร่ร่อนด้วย ถ้าให้ดีที่สุด ต้องกักกันนกใหม่ก่อนเข้ากรง 30-60 วันก่อนนำมารวมกัน ให้แยกนกป่วยออกมาไว้กรงเล็ก ๆ และให้แน่ใจด้วยว่าจะไม่ไปติดต่อสู่นกในกรงเล็ก ๆ ตัวอื่น ๆ

เมื่อพบว่านกมีอาการเป็นโรค อย่าใช้วิธีคาดเดาว่าจะเป็นอะไร แล้วเดินหน้ารักษาเลยแบบสุ่มสี่สุ่มห้า สัตวแพทย์จะให้คำปรึกษาได้ ถึงแม้ว่าบางคนจะไม่มีประสพการณ์เกี่ยวกับนกพิราบ แต่อย่างน้อยก็อาจช่วยแนะนำให้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือนำนกป่วยหรือตายไปวิเคราะห์ได้ถูกที่ โดยทั่ว ๆ ไป น่าจะมีสัตวแพทย์ที่ให้ความสนใจสัตว์ปีกรวมทั้งนกพิราบ ที่จะช่วยดูแลให้โดยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง อย่าหยิ่งกินไปที่จะถามหรือขอคำแนะนำหรือขอความช่วยเหลือ คิดดูว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปให้แก่ผู้เชี่ยวชาญเมื่อเทียบกับราคาค่านกที่ซื้อมาเข้ากรงนั้น ว่าคุ้มกันหรือไม่

โดย Gordon A Chamlers
อนุญาติให้พิมพ์และแปลแล้ว
ขึ้นไปข้างบน Go down
SFC.Thai
Admin members
Admin members
SFC.Thai


จำนวนข้อความ : 230
Points : 443
Join date : 14/07/2010
Age : 52
ที่อยู่ : Thailand

การดูแลนก Health Care (พิราบ)  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: การดูแลนก Health Care (พิราบ)    การดูแลนก Health Care (พิราบ)  EmptyMon Mar 17, 2014 5:34 pm

2.จุดประสงค์ของบทความนี้ เพื่อให้นักเลี้ยงนกได้ให้ยาด้วยประเภท ชนิด และปริมาณที่ถูกต้อง จากประสพการณ์พบว่า บางครั้งให้มากไปจนเป็นพิษ หรือบางครั้งให้น้อยไปจนไม่ได้ผล แล้วอาจจะเกิดอาการดื้อยาได้ ข้อแนะนำที่จะให้ขึ้นอยู่กับการรวบรวมจากประสพการณ์ จากแหล่งต่าง ๆ ที่ใช้ยาที่จะกล่าวถึง ไม่ใช่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์โดยตรง โดยเฉพาะจากการใช้ยาที่ไม่ได้ผลิตขึ้นเพื่อนกพิราบโดยตรง

3.ปริมาณยาที่ให้จะกำหนดเป็นโด๊ส มากน้อย ที่กำหนดเช่นนี้เนื่องมาจาก 2 เหตุผล
คือหนึ่ง ให้ปริมาณมากในกรณีเหตุการณ์ไม่รุนแรง และให้ปริมาณมากขึ้น ในกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรงมาก และสอง ยาส่วนใหญ่จะเป็นยาผสมน้ำ ดังนั้นจะต้องศึกษาปริมาณน้ำ เทียบเคียงกับจำนวนนก และสภาพอาการ เพื่อกำหนดปริมาณที่ถูกต้อง เช่นนก 30 ตัวดื่มน้ำ 4 ลิตรต่อวัน แต่อาจดื่มน้ำมากขึ้นในช่วงอากาศร้อน ข้อมูลนี้สำคัญมากโดยเฉพาะการใช้ยาที่อาจเป็นพิษได้เช่น Dimetridazole (Emtryl) ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือให้ยาจำนวนมากขึ้นผสมในนำดื่มในกรณีอากาศเย็นเพราะนกจะดื่มน้ำน้อยดังนั้นยาควรจะเข้มข้นขึ้น แต่ให้ยาเจือจางลงในกรณีอากาศร้อน เพราะนกจะดื่มน้ำมาก ถ้าเข้มข้นมากก็จะทำให้นกได้ยามากเกินไป

4. อีกข้อที่ต้องตระหนักคือการให้ยาจะต้องต่อเนื่องตามวิธีใช้ยาที่ระบุ ถ้ากำหนดต้องให้ 5 วัน ก็ต้องเป็นไปตามนั้น มิฉะนั้นอาจไม่ได้ผล แล้วทำให้เกิดดื้อยาได้

5. ต้องวิเคราะห์โรคก่อน ระวังอย่าให้ยาแบบเหวี่ยงแห (ฝรั่งเรียกว่าให้แบบยิงปืนลูกซองดาวกระจาย) เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว อาจจะทำให้รักษาไม่ทันการ ยาปฏิชีวนะบางตัวอาจได้ผลดีกับโรคบางสายพันธุ์ แต่อีกสายพันธุ์ก็อาจต้องใช้อีกตัว เพราะเดี๋ยวนี้ Bacteria หรือ Parasites บางชนิดอาจดื้อยาต่างกันออกไป ดังนั้น ระวัง ต้องใช้ยาให้ถูก

6. ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับมาตรการชั่งตวงวัดกันเสียก่อน (สำหรับคนไทยไม่ค่อยสับสน เพราะคนไทยซื้อยาก็ถามคนขายได้ แต่ฝรั่ง ส่วนใหญ่ต้องศึกษาคู่มือกันเอาเอง)

1 กรัม - 1000 มิลลิกรัม
1 ซีซี (คิวบิทเซนต์) 1 มิลลิลิทเตอร์
5 ซีซี 1 ช้อนชา
100 ซีซี 20 ช้อนชา
15 ซีซี 1 ช้อนโต๊ะ
30 ซีซี 1 ออนซ์
1000 ซีซี 1 ลิตร
8 ออนซ์ 1 ถ้วย
2 ถ้วย 1 ไพท์
2 ไพท์ 1 คว๊อท
4 คว๊อท 1 แกลลอน

7. มีการยกตัวอย่างมาด้วย ในส่วนที่ยกตัวอย่างมานั้น ชี้ให้เห็นว่าควรใช้ยากี่ช้อนต่อน้ำเท่าไหร่ ซึ่งผมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องลงลึกไปในตัวอย่างนั้น - ผู้แปล

8. ข้อแนะนำในการใช้ยา โอริโอไมซิน Aureomycin สำหรับนก ควรให้ 600 - 1500 mg มิลลิกรัม ผสมกับน้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 7 - 14 วัน และก็เช่นกันขอให้ดูสภาพอากาศด้วย ในการพิจารณาความเข้มข้นของยา (ในกรณีของยุโรป อากาศร้อนกับหนาวของเขาจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ของเรา ส่วนใหญ่มีแต่ร้อนกับร้อน ดังนั้นคงต้องขึ้นกับผู้เลี้ยงแต่ละคนที่จะต้องศึกษาข้อมูลการดื่มน้ำของนกในกรงของตนเอง - ผู้แปล)
มีข้อแนะนำเพิ่มเติมให้ด้วยว่า เพื่อการป้องกันโรคทางเดินหายใจให้ได้ผล ควรจะนำ tylosin มาใช้พร้อม ๆ ไปกับ tetracycline ด้วย

9. ในการใช้ยาประเภท Antibacterials. แอนตี้แบคทีเรีย มีข้อแนะนำดังนี้

ยาBaytril (Enrofloxacin) เป็นยาที่ดีที่สุดสำหรับโรค พาราไทฟอยด์ Paratyphoid หรือ Salmonellosis สามารถแทรกซึมเข้าในเนื้อเยื่อต่าง ๆ
ใช้ โด๊ส 5 mg ต่อนกหนึ่งตัว ต่อวัน ถ้าแยกใช้ หรือให้ 250 mg ต่อน้ำสี่ลิตร ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 วัน
ข้อสังเกตุ ยา Baytril ที่เป็นเม็ดไม่สามารถละลายในน้ำ ใช้ประเภทน้ำเท่านั้นถ้าให้ทั้งฝูง กรณีใช้เดี่ยว ใช้ครึ่งเม็ดต่อตัววันละสองครั้ง

ยา Saraflox (sarafloxacin hydrochloride) เป็นยาคล้ายกับ Baytril ใช้ 1 tsp Teaspoon ช้อนชา ต่อน้ำ 4 ลิตร

ยา Amoxicillin สำหรับโรคในลำใส้ Salmonella, E. coli. Strep & Straph หรือแบคทีเรียอื่น ๆ ใช้ 50 mg ต่อนกหนึ่งตัว หรือ 3000 mg ต่อน้ำ 4 ลิตรเป็นเวลา 5 - 10 วัน

ยา Cephalexin คล้ายกับ Amoxicillin แต่แรงกว่าเล็กน้อย ใช้โด๊สเท่ากันกับ Amoxicillin

ยา Trimethoprim/sulfa มีส่วนผสมที่ดี แต่ระวังการดื้อยาของแบคทีเรียบางตัว ใช้ 30 mg ต่อตัวต่อวัน 1500 mg ต่อน้ำ4 ลิตร เป็นเวลา 7 - 14 วัน

ยา Nitrofurans (nfz, furacin etc. ) เป็นยาปฏิชีวนะและมียารักษาโรคบิดด้วย ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เป็นยาเลือกใช้ ใช้ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 5 - 7 วัน

Erythromycin (gallimycin) ใช้ได้กับเชื้อน้อยชนิด ส่วนใหญ่โรคอันเกิดจาก Mycoplasma ถ้าเข้ากระแสเลือดแล้วรักษาให้หายขาดลำบาก ใช้ 50 mg ต่อตัวต่อวัน 1500 - 3000 ทเ ต่อ น้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 7 - 10 วัน

Lincomycin คล้ายกับ Erythromycin โด๊สเท่ากัน

Tylosin คล้ายกับ Erythoromycin และ Lincocin แต่ได้ผลดีกว่า และใช้โด๊สเท่ากัน ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจได้ดียิ่งขึ้นถ้าใช้ควบคู่ไปกับ Tetracyclines (ใช้เต็มโด๊สของยาทั้งคู่)

Tetracyclines (tetracycline cholrtetracycline (Aureomycin) ) Oxytetracycline กลุ่มนี้ใช้ดียิ่งขึ้นเมื่อใช้รวมกับ Tylosin ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ได้ผล ยกเว้นเชื้อที่ดื้อยาที่มีบ้างเล็กน้อย ใช้ 60 - 75 mg ต่อตัว 600 1500 mg ต่อ น้ำสี่ลิตร 7 - 14 วัน

Doxycycline เป็นกลุ่ม Tetracycline ที่แยกมาต่างหากเพราะนกสะสมยาในร่างกายนาน ใช้นาน ๆ ครั้งและจำนวนน้อยเข้าไว้ ใช้ 10 - 50 mg ต่อตัวต่อวัน 500 - 1000 mg ต่อน้ำ 4 ลิตร เป็นยาปฏิชีวนะที่ดี

ข้อควรระวัง เมื่อใช้ยา Tetracyclines ให้เอาธาตุเช่นเกลือ อิฐ เปลือกหอยทั้งหลายออกจากกรง เพราะธาตุจะไปลดประสิทธิภาพของยา

10. Coccidiostats กลุ่มโรคลำใส้ บิด

Amprolium (corid, Amprol) เป็นยาดีมากสำหรับโรคลำใส้ ต้องใช้อย่างน้อย 3 - 5 วันเพื่อให้ได้ผล หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับวิตามิน แต่ให้ใช้วิตามินอีก 1 - 2 วัน ได้หากต้องการ ให้ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอน

Toltazuril (baycox) ตรวจดูว่าผ่านการอนุญาติให้ใช้หรือยัง ให้ 1 ml ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลา 2 วัน


Sulfonamides เป็นยาดีใช้ได้ผล ให้ใช้ 1250 mg ต่อน้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 5 วัน

11. ยารักษาโรค แคงเกอร์ Trichomonas และ Hexamita โรคติดเชื้ออื่น ๆ

Spartrix Ronidazole ยาในกลุ่มเชื้อโรคเหล่านี้ เมื่อใช้ จะต้องใช้ต่อเนื่อง 3 - 5 วัน ใส่ในน้ำดื่ม ถึงแม้บางครั้งอาจรักษาเดี่ยวได้ และถึงแม้ให้มากไปก็ไปเกิดพิษ ปลอดภัยกว่า ยา Emtryl หรือ Flagyl มีผลต่อประสาทนก หายได้หลังจากหยุดยา แต่ก็มีความเสี่ยงนกเสียชีวิตได้

Dimetridazole (ridsol) ให้ 3/4 ช้อนชา ต่อน้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 5-7 วัน (Canadian Emtryl 40% ยาผงผสมน้ำ) ใช้โด๊สตามนี้ 1-2 วันต่ออาทิตย์ ตอนต้นอาทิตย์ ตลอดฤดูแข่งขัน

Ronidazole (Ridsol) 400 mg ต่อน้ำ 4 ลิตร ใช้เป็นเวลา 5 วันก่อนฤดูแข่ง และ 2 วันทุก ๆ 2 อาทิตย์ ตลอดฤดูแข่ง

Metronidazole (flagyl) 25-50 mg ต่อนกหนึ่งตัวต่อวัน 1250 - 2500 mg ต่อน้ำ 4 ลิตร 4 - 6 วัน

Carnidazole (Spartrix) เม็ด 10 mg 1เม็ดต่อตัวขณะท้องว่าง แต่ได้ผลดีไม่เท่าประเภทผสมน้ำ

12. ยารักษามาเลเรีย (Antimalarials)

ในประเทศไทยมีโอกาศติดเชื้อจากยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อมาให้ โด๊สที่จะให้ดังต่อนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อการป้องกันเท่านั้น ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะช่วยรักษาโรคจากบางสายพันธุ์ได้เช่นโรคโลหิตจางเฉียบพลัน ควรจะให้ยานี้ เป็นเวลา 28 วันก่อนเข้าแข่งขัน และให้ตามหลัง หนึ่งหรือสองวัน ตลอดการแข่งขัน

ยา Primaquine (Aralen) หายากในตลาด ให้ 1-2 เม็ดผสมน้ำ4ลิตร เป็นเวลา 10-21 วัน ก่อนเข้าแข่ง และทุก1-2 วันต่ออาทิตย์ตลอดฤดูแข่ง

ยา Quinacrine (Atabrine) 200 mg ต่อน้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 10-21 วัน ก่อนเข้าแข่ง และทุก 1-2 วันต่ออาทิตย์ตลอดฤดูแข่ง

ยา Cholroquine 500 mg ต่อ 4 ลิตร สูตรเดียวกัน

13. ถ่ายพยาธิ

ยาIvermectin (ivomec, Eqvalen) สำหรับพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นผม และพยาธิในผนังกระเพาะ บางทีอาจมีการดื้อยา ให้ 500-1000 ug ต่อตัว จะใช้ผสมในน้ำดื่มตามส่วนที่แจ้งไว้ในสลากก็ได้แต่วิธีดีที่สุดคือให้เป็นตัว ๆ ไป เอายา ivomec หยดเข้าปาก 2 หยด ในกรณีของพยาธิตัวกลมอาจต้องให้มากกว่านั้น ปัจจุบัน ยาในกลุ่ม avermectins เช่น Moxidectin ใช้ได้ผลดีกว่า

ยา Fenbendazole (Panacur) ใช้ได้ดีกับ พยาธิตัวกลม พยาธิเส้นผม และพยาธิผนังกระเพาะ เป็นยาอันตรายมีผลต่อขนนกหากใช้มากเกินไป ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง ใช้ 5 mg ต่อตัวต่อวัน เป็นเวลา 3 วัน

ยา Levamisole (Tramisol, Levasol. Ripercol) ใช้ได้ดีกับพยาธิตัวกลม แต่ไม่ค่อยได้ กับ พยาธิเส้นด้ายและพยาธิผนังกระเพาะ ใช้ 1-1.5 กรัมต่อน้ำ 4 ลิตรเป็นเวลา 1-2 วัน แต่ให้ระวัง ปริมาณขนาดนี้อาจทำให้นกอ๊วก ยานี้เป็นยาเร่งภูมิต้านทานถึงแม้จะให้จำนวนน้อย

ยา Piperazine ได้ผลกับพยาธิตัวกลมเท่านั้น หวังผลได้เพียง 60-80 % เท่านั้น ให้ 15 mg ต่อนกหนึ่งตัว (300 mg ต่อ 4 ลิตร) เป็นเวลา 2 วัน ยานี้หมอไม่แนะนำ

ยา Praziquantel (Droncit) ใช้สำหรับพยาธิตัวแบน และ flukes (พยาธิอีกชนิดหนึ่ง) ใข้ 6 mg ต่อตัวหรือ 1/4เม็ดต่อตัว

ยา Pyrantel Pamoate ใช้สำหรับพยาธิตัวกลม ใช้ 1-2 mg ต่อตัว หรือ 75 mg ต่อน้ำ 4 ลิตร เป็นเวลา 1-2 วัน ทำซ้ำในอีก 3 อาทิตย์

บทความโดย Gordon A chalmers.

อนุญาติให้แปลแล้ว
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
การดูแลนก Health Care (พิราบ)
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Siam Falconry Club :: สุขภาพ อาหาร การดูแล สุขาภิบาล Care and Prevention-
ไปที่: