Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum

 

 Canker โดย Gordon A Chalmers (อติสิทธิ์)

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
SFC.Thai
Admin members
Admin members
SFC.Thai


จำนวนข้อความ : 230
Points : 443
Join date : 14/07/2010
Age : 52
ที่อยู่ : Thailand

Canker โดย Gordon A Chalmers (อติสิทธิ์) Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Canker โดย Gordon A Chalmers (อติสิทธิ์)   Canker โดย Gordon A Chalmers (อติสิทธิ์) EmptyMon Mar 17, 2014 5:24 pm

บทความที่สตีฟส่งมาเรื่อง Canker โดย Gordon A Chalmers

1. จากบทความที่ผมได้อ่านเร็ว ๆ นี้ มีคำถามว่า มีโรคแคงเกอร์สายพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นบ้างหรือไม่ ทำให้ผมต้องย้อนกลับมาค้นดูเรื่องนี้

2. แคงเกอร์เป็นชื่อของโรคอันเกิดจากพยาธิตัว จิ๋ว ๆ ชื่อว่า Trichomonas Gallinae ดังนั้นก่อนจะดำเนินเรื่องต่อไป ผมขอให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคนี้ตามที่ได้ค้นมาจากที่มีเดิมรวมกับข้อมูลใหม่ในเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโรคที่ผมอยากเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า T Gallinae

3. โรคนี้ถูกพบในปี 1878 โดยนักวิจัยชื่อ Rivota หลาย ๆ ปีต่อมาในปี 1938 ที่ประเทศอเมริกา รัฐ โคโลราโด นักวิทยาศาสตร์ ชื่อ Dr. Robert Stabler ได้ทำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง และให้ชื่อโรคนี้ว่า Trichomonas Gallinae ดังกล่าว ในปี 1948 เขาได้ตีพิมพ์บทความระบุว่า ไม่ใช่ว่านกทุกตัวที่ติดเชื้อนี้จะเสียชีวิต แต่ยังมีบางตัวที่ติดเชื้อแล้วยังไม่แสดงออกถึงโรคอีกด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่า พ่อแม่นกบางคู่ที่ติดเชื้อ ให้ลูกนกที่ไม่แข็งแรง จะติดเชื้อและเสียชีวิตหมด แตกลับมีนกที่ติดเชื้อบางคู่สามารถให้ลูกที่แข็งแรงคอกแล้วคอกเล่า จึงเป็นที่มาของความเชื่อที่ว่า มีแคงเกอรหลาย ๆ สายพันธุ์ และแต่ละสายพันธุ์ก็มีความสามารถในการทำให้นกติดเชื้อที่รุนแรงต่างกัน ด้วยการสนับสนุนในแนวเดียวกันจากนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ Dr. Stabler จึงได้ตั้งโครงการทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเลือกตัวอย่างของโรคจาก 5แหล่งที่ได้ คือ

ตัวอย่าง 1 ได้มาจากนกพิราบป่าที่ติดเชื้อ
...........2 ได้มาจากนกเนื้อพันธุ์ King ที่โตเต็มวัยแล้ว
...........3 ได้มาจากนกเนื้อพันธุ์ Carneaux ที่โตเต็มวัยแล้ว
...........4 ได้มาจากนกแข่งที่โตเต็มวัยแล้ว และมีประวัติติดเชื้อและถ่าย
ทอดสู่นกอื่น ๆ อีกด้วย
...........5. ได้จากเหยี่ยวนกเขาที่ตายลงและแสดงเชื้อที่ปาก

(ขอให้สังเกตุว่า นกล่าเหยื่อก็มีเชื้อแคงเกอร์เหมือนกัน และในกลุ่มเชื้อโรคเดียวกันนี้ยังติดไปถึงสัตว์ในปศุสัตว์อื่น ๆ และผมยังเห็นโรคนี้ระบาดสู่นกกระจอกซึ่งมีเชื้อในปากมีอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดกับนกพิราบอีกด้วย)

4. Dr. Stabler จึงได้นำเชื้อจากในปากของนกทั้ง 5 ตัวอย่างนี้มา ถึงแม้นว่าอาจเป็นไปได้ที่บางตัวอย่างอาจมีเชื้อมากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามทุกตัวอย่างก็สามารถบ่งบอกถึงผลของการติดเชื้อได้ถูกต้องเช่นกัน

5. ในการทดลองรอบแรก เขานำนกมาแบ่งเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนก 5 ตัว อายุตั้งแต่ 6 อาทิตย์(ต้นฉบับอาจพิมพ์ผิด อาจเป็น 5 วันหรือเปล่า - ผู้แปล) 5 1/2 อาทิตย์ 5 1/2 เดือน 7 เดือน และ 9 เดือน รวมแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 25 ตัว เมื่อแบ่งกลุ่มแล้ว ก็หยอดเชื้อโรคแต่ละตัวอย่างให้แต่ละกลุ่ม กลุ่ม 1 ให้ตัวอย่าง 1 กลุ่ม 2 ให้ตัวอย่าง 2 ไปเรื่อย ๆ จนครบ

6. ผลการวิจัยปรากฏว่า โรคจากแหล่ง 1 (นกป่า) แหล่ง 4 (นกแข่ง) และ แหล่ง 5 (เหยี่ยว) ออกอาการรุนแรง ทำให้นกตายเกือบทั้งหมด มีเหลืออยู่เพียง 2 ตัวคือ ที่อายุ 7 เดือน และ 9 เดือน เท่านั้นที่รอดมาจากการหยอดเชื้อจากแหล่ง 4 และนกทั้ง 2 แสดงอาการแคงเกอร์เป็นอาทิตย์และหายได้ในที่สุด ส่วนจากแหล่ง 2 (King) และ 3 (Carneaux) บางส่วนไม่แสดงอาการ ส่วนที่แสดงอาการก็เพียงเล็กน้อยและเป็นอยู่ไม่กี่วัน ในการติดตามผลต่อไป Dr. Stabler พบว่า เชื้อที่ได้จากแหล่ง 1 ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า Jones Barn ซึ่งได้จากนกป่า ถือว่าเป็นเชื้อที่รุนแรงที่สุด ซึ่งได้ฆ่านกไป 12 ตัว จาก 13 ตัว ภายในเวลา 10.6 วันโดยเฉลี่ย และโดยรวม Dr. Stabler แสดงให้เห็นว่า ในจำนวน 119 ตัว ที่ทดลองให้เชื้อโรคนี้ จำนวน 114 ตัว หรือ 95.8 % ของนกได้ตายภายในเวลา 4 ถึง 18 วัน
และเมื่อวิจัยต่อไปก็พบว่า แม้เต่เชื้อแค่หนึ่งหน่วยที่หยอดเข้าปาก จะขยายตัว เป็นพัน ๆ หน่วยในร่างกายของนก และทำให้เกิดอาการรุนแรง ได้ข้อสรุปว่า ทั้ง 5 แหล่งให้อาการรุนแรงต่างกัน ทั้งออกอาการมากจนน้อย

7. ในการศึกษาที่สำคัญ Dr. Stabler พบว่า แคงเกอร์ที่ไม่รุนแรง สามารถช่วยป้องกันนกพิราบจากเชื้อที่รุนแรงได้ การวิจัยจึงดำเนินต่อไป เขาได้นำนกที่ปลอดแคงเกอร์มาก่อน เป็นจำนวน 8 ตัว นำมาหยอดเชื้อจากแหล่ง 5 (เหยี่ยว) ปรากฏว่าทั้งหมดแสดงอาการได้รุนแรงที่ปาก ตายไป 2 ตัว อีก 6 ตัวหายดี อีก 54 วันถัดไปเขาจึงนำนกที่รอดทั้ง 6 ตัว มาหยอดเชื้อจากแหล่ง 1 ปรากฏว่านกทุกตัวไม่มีอาการไปตลอดทั้งเดือนถัดไป

8. จากนั้นเขาจึงจัดการผ่านกทั้ง 6 ตัวนี้เพื่อตรวจอวัยวะภายใน ปรากฏว่ามีรอยแผลที่ตับในนก 3 ตัว ซึ่งเชื่อว่ามาจาการติดเชื้อ อีก 3 ตัวแทบไม่ปรากฏร่องรอยแต่อย่างใด นอกจากเพดานปากบนแหว่งไปบ้าง ซึ่ง Dr. Stabler เชื่อว่าเนื่องมาจากโรงแคงเกอร์นี่แหละ

9. เขาได้วิจัยต่อไป จึงนำนกที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน อีก 8 ตัว มาหยอดเชื้อจากแหล่งที่ 3 (Carneaux) มีอยู่ 2 ตัวที่ปรากฏอาการเล็กน้อย ที่เหลือปลอดภัย จากนั้นอีก 1 เดือนถัดมาก็นำนกทั้ง 8 มาหยอดเชื้อจากแหล่ง 1 มีเพียงนก 2 ตัวจาก 8 ตัว แสดงผลของการติดเชื้อแคงเกอร์ 1 ในนั้นเป็นเล็กน้อย อีก 1 เป็นมากแต่หายได้ในที่สุด สรุปไม่มีตัวไหนตาย

10. จากการผ่าพิสูจน์ นกทั้ง 8 ตัว พบว่าอวัยวะภายในดูปกติทั้ง 7 ตัว อีก 1 ตัวที่แสดงอาการแคงเกอร์แรงแรงนั้น เห็นร่องรอยได้ในตับ

11. ในการวิจัยที่ทำควบคู่กันไป Dr. Stabler ได้ให้เชื้อจากแหล่ง 1 แก่นก 13 ตัว ผลก็คือตายไป 12 ตัว จึงเป็นคำตอบว่า การติดเชื้ออ่อน ๆตามที่ทำไว้ในข้อ 9 ของนกอีกกลุ่มก่อนหน้านี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อชนิดรุนแรงที่ได้รับมาภายหลังได้ แต่ภูมิต้านทานที่มีอยู่ในตัวนก จะยืนยาวขนาดไหน การวิจัยนั้นไม่ได้แสดงไว้

ผู้แปล: ต้องขอพักไว้ก่อน มีภาระกิจอื่นต้องทำครับ จริง ๆ แปลและเขียนด้วยลายมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมาพิมพ์ให้อ่านคืนนี้ ขอตัวก่อนนะครับ

อติสิทธิ์

เอาละ พร้อมแล้ว มาต่อกัน .......

12. ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ร้อน และใบไม้ร่วงของปี 1950 ได้เกิดโรคแคงเกอร์ระบาดขึ้นในหมู่นกพิราบป่า ตลอดเขตตอนใต้ขออเมริกาซึ่งหนักที่สุดที่รัฐอลาบบามา มีนกตายไปหลายพันตัว Dr Stabler ได้นำเชื้อจากนกเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อหาว่าเชื้อจะติดสู่นกพิราบแข่งได้หรือไม่ เขาหยอดเชื้อประมาณ 50,000 ถึง 100,000 หน่วย ที่ได้จากนกป่าหลาย ๆ ตัว ต่าง ๆ กัน ให้แก่นกพิราบที่ไม่เคยติดเชื้อ มีการจัดกลุ่มนก กลุ่มละ 5 ตัว ขึ้นมาหลาย ๆ กลุ่ม แล้วให้เชื้อที่ได้จากนกป่าหลาย ๆ ตัว ที่เชื่อว่าจะมีเชื้อต่างกัน ขณะเดียวกัน จากการทำวิจัยควบคู่กันไปเพื่อเปรียบเทียบ เขาได้หยอดเชื้อตัวรุนแรงคือ Jones Barn ให้แก่นกที่ไม่เคยติดเชื้ออีก 5 ตัว ในปริมาณ 3,000 ถึง 10,000 หน่วย ผลก็คือนกทั้ง 5ตายจากการติดเชื้อในตับ
ส่วนผลวิจัยที่ได้จากเชื้อนกป่าที่ระบาดในรัฐอลาบามา แสดงผลรุนแรงคล้ายกับ เชื้อ Jones Barn มาก และได้ฆ่านกไป 4 ตัว จาก 5 ตัว ส่วนนกที่ได้รับเชื้อจากนกป่าในเขตอื่น ๆ กลับพบว่าไม่ได้แสดงอาการรุนแรง และทั้งหมดรอดชีวิต

13. คำถามต่อมาคือ นกพิราบที่ได้ถูกทดลองให้รับเชื้อจากนกพิราบป่าอื่น ๆ นั้น จะสามารถทนกับเชื้อ Jones Barn ได้หรือไม่ เพื่อทดลองตามคำถามนี้ Dr. Stabler จึงได้นำนกทั้งหมดที่รอดหลังได้รับเชื้อนกพิราบป่า นำมาหยอดเชื้อ Jones Barn เข้าไป ปรากฏว่าทุกตัวรอดหมด ผลที่ปรากฏเช่นนี้พอจะสรุปได้หรือไม่ว่า 1. เชื้อที่ไม่รุ่นแรงจากนกป่า ได้ฆ่า เชื้อ Jones Barn ไปแล้ว หรือ 2. เชื้อโรค Jones Barn ยังคงฝังตัวอยู่ในนกพิราบนั้น ๆ หรือไม่ และได้เปลี่ยนสภาพเป็นเชื้อโรคที่ไม่รุนแรงไปแล้ว หรือ 3. เชื้อ Jones Barn ยังคงแข็งแรงอยู่ แต่ไม่สามารถทำอะไรแก่นกที่เคยได้รับเชื้ออื่นมาแล้วได้

14. การพิสูจน์ดำเนินต่อไป Dr. Stabler จึงนำเชื้อ Jones Barn รวมกับเชื้ออ่อน ๆ จากแหล่งอื่นมารวมกันแล้วหยอดใส่ปากนกหลาย ๆ ตัว ผลที่ได้รับออกมาหลากหลาย บางตัวปรากฏอาการน้อย บางตัวตาย หรือบางตัวปางตาย นี่จึงเป็นการยืนยันได้ว่า แม้จะปะปนกับเชื้ออื่น ๆ Jones Barn ก็ยังคงแข็งแรงและอยู่ได้ต่อไป จากนกที่นำมาทดลอง 13 ตัว 6 ตัวตายทันที 1 ตัวรอดหวุดหวิด ส่วนที่เหลืออีก 6 ตัวมีอาการเล็กน้อย อนึ่ง Dr. Stabler ชี้ว่าเชื้อ Jones Barn มีผลไปถึงตับ ส่วนเชื้ออ่อน ๆ อื่น ๆ เป็นแค่การติดเชื้อบริเวณปากเท่านั้น

15. มีการทดลองจาก Dr Richard Kocan จากอเมริกา เคยนำเกล็ดเลือดจากนกที่เคยติดเชื้อแคงเกอร์อ่อน ๆ มาใช้ และสามารถช่วยไม่ให้นกพิราบอื่น ๆ ติดเชื้อที่รุนแรงได้ และนกที่เคยได้รับการรักษาด้วยยาแก้แคงเกอร์ Enheptin และหายดีผ่านมาแล้ว 16 เดือน นกยังคงมีภูมิต้านทานสามารถต่อต้านเชื้อรุนแรงที่นำมาหยอดใส่ได้ แม้ในทางปฏิบัติ การนำเกล็ดเลือดมาใช้กระทำได้ยากโดยนักเลี้ยงนกทั่ว ๆไป ในเรื่องนี้ ผลการวิจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า 172 ตัวจาก 313 ตัว และ 54 ตัวจาก 66 ตัว ของนกพิราบป่า หรือนกพิราบภูเขา ที่จับได้ซึ่งไม่เชื้อแคงเกอร์มาก่อน ปรากฏว่ามีภูมิต้านทานเชื้อ Jones Barn
ข้อสรุปของ Dr. Richard Kocan คือนกที่หายขาดจากโรคแคงเกอร์แล้ว จะยังคงมีภูมิต้านทานอยู่

16. ในเรื่องเกี่ยวกับการดื้อยาของโรคแคงเกอร์ต่อยาสมัยใหม่ ก็เป็นเรื่องที่ควรรู้เช่นกัน ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ในปี 1990 Dr. Lumeij และ Dr. Zwijwenberg จาก utrecht University ประเทศ Holland แสดงให้เห็นว่า โรคแคงเกอร์ที่หลงอยู่ในฝูงนกพิราบในประเทศนั้น มีผลดื้อต่อยาที่เราใช้กันอยู่คือ ยา Emtryl Riazol Spartrix และ Flaqyl บนพื้นฐานของข้อมูลนี้ ก็น่าจะเชื่อได้ว่า มีฝูงนกจำนวนมากที่มีโอกาสติดเชื้อจากแคงเกอร์ที่ดื้อยา แคงเกอร์เกิดดื้อยาก็เพราะว่านักเลี้ยงนกทั่ว ๆ ไปเมื่อมีโอกาสใช้ยานก ก็จะใช้แบบไม่ครบโด้ส Under dose

17 ในหัวข้อเรื่อง Under dosing นี้ โดยเฉพาะกับยา Emtryl พบว่าในอเมริกาและแคนาดา มีการใส่ส่วนผสมของยาน้อยเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อการดื้อยา ที่จริงควรจะต้องใช้ 3 กรัมต่อน้ำหนึ่งแกลลอนที่มี 4.55 ลิตร เป็นเวลาต่อเนื่อง 5 ถึง 7 วัน

18. และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการให้ยานกในน้ำมากเกินไป ทำให้เกิดเป็นพิษ โดยเฉพาะหน้าร้อนที่นกจะดื่มน้ำมากเป็นพิเศษ ให้ลองใช้วิธีที่ใช้ในประเทศออสเตเลียดู ที่นั่นหลังให้อาหารเย็นแล้ว จะให้น้ำที่ผสมยาแล้วทิ้งไว้ให้นกดื่ม 3 ชั่วโมงแล้วจึงเก็บทิ้ง แล้วเติมน้ำธรรมดาแทนทิ้งไว้จนถึงวันถัดไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่อง วิธีนี้จะทำให้นกได้รับยาเพียงพอและไม่ก่อให้เกิดพิษด้วย ขณะเดียวกันขอแนะนำว่า ไม่ควรให้ยา Emtryl หรืออื่น ๆ ในช่วงนกเข้าคู่เพราะจะมีผลต่อจำนวนเชื้อของนก และยังขอแนะนำอีกด้วยว่า ควรจะเปลี่ยนจากEmtryl ไปเป็นยาอื่นในประเภทเดียวกัน เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ในโอกาสต่อไป ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการดื้อยา และแน่นอนจะต้องให้ยาครบโด้สด้วย

19. ในเรื่องของการรักษาอาการแคงเกอร์ มีคำกล่าวที่ว่า ถ้าไม่เสียก็อย่าไปซ่อม ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คนก็เห็นด้วย ต้องตระหนักว่า ยาอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมแคงเกอร์ได้ เราควรจะให้นกได้รู้จักสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเพื่อต่อสู้กับโรคด้วยตัวเองด้วย Dr. Walker กล่าวว่า หากนกในกรงนกพันธุ์รวมทั้งลูกนกไม่มีปัญหาเรื่องแคงเกอร์ในปีก่อน ปีต่อไปก็ไม่ต้องให้ยา อย่างไรก็ตาม หากปรากฏว่านกพันธุ์และลูกนกมีอาการของแคงเกอร์ในปีก่อน นกก็ควรได้รับการให้ยาให้ครบโด้สก่อนเข้าคู่ แล้วกระทำต่อเนื่องเป็นเวลา 2 วัน ทุก ๆ อาทิตย์ แล้วทำต่อเนื่องไปจนถึงนกเจาะไข่ หากยังปรากฏอาการแคงเกอร์ในตัวลูกนกอีก ก็ให้ยาแก่พ่อแม่รวมทั้งลูกนกที่แข็งแรงพอแล้วด้วยยา Spartrix หรือ Flaqyl เป็นเวลา 3 วัน (อย่างไรก็ตาม มีหมออีกหลายคนคิดว่าเวลา 3 วันนั้นสั้นไป อาจมีผลให้ดื้อยาได้)

20. Dr. Walker ยังแนะนำอีกว่า จงหลีกเลี่ยงการให้ยาแก่นกที่ป้อนลูกถ้าลูกนกนั้นไม่ได้แสดงอาการของแคงเกอร์ ทั้งนี้เพื่อให้นกพัฒนาภูมิขึ้นเองโดยธรรมชาติ

21. เมื่อพูดถึงภูมิต้านทานตามธรรมชาติแล้ว จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมทำงานอยู่ที่นิวซีแลนด์เมื่อปี 1980 มีหมอ (ที่รักษาคน) ที่เลี้ยงนกพิราบและไม่เคยให้ยาใด ๆ เลย คือพึ่งพาแบบธรรมชาติล้วน ๆ

22. สำหรับ Gordon เอง เป็นเวลาหลาย ๆ ปีแล้ว เขาไม่ใช้ยาป้องกันแคงเกอร์กับนกที่เลี้ยงเลยไม่ว่าจะเป็นนกเก่าหรือลูกนกใหม่ เป็นไปได้ว่าภูมิต้านทานตามธรรมชาติเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับแคงเกอร์

23. ในช่วงฤดูแข่งขัน มีการตรวจปากนกว่ามีเมือกหรือสีแดงหรือเปล่า ซึ่งอาจจะบอกถึงว่าติดเชื้อเคงเกอร์อยู่ การเพิ่มจำนวนเชื้อในปากก็เพราะนกพิราบอยู่ในช่วงเครียด อย่างไรก็ตามก็ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องใช้ยาเพื่อให้นกมีลำคอสีชมพูและปากสะอาดในช่วงแข่ง ส่วนที่ลึกเข้าไปถึงกระเพาะนั้นสุดวิสัยจะมองเข้าไปเห็น แม้นจะมีคนกล่าวว่า การรักษาแคงเกอร์ให้หายมีส่วนช่วยให้นกมีผลงานดีขึ้นก็ตาม ผมเองยังยึดคติที่ว่า ถ้าไม่เสียก็ไม่ต้องซ่อม อาการที่เห็น ๆ ข้างต้นนั้น ยังไม่ถือว่าเสียหรอก จึงยังไม่ต้องซ่อม จนกว่าจะเกิดอาการเลวร้ายจริง ๆ จึงจะเริ่มให้ยา

24. ผมหวังว่า การได้ย้อนไปดูถึงข้อมูลเก่า ๆ ที่รวบรวมนำออกมาให้ดูนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้นักเลี้ยงนกตระหนักถึงหัวข้อนี้ เนื่องจากความเสี่ยงของการดื้อยารักษาแคงเกอร์รวมทั้งตัวยาอื่น ๆ เริ่มปรากฏมากขึ้น

25. และยังหวังว่านักเลี้ยงนกจะสามารถประเมินเรื่องภูมิต้านทานตามธรรมชาติและจะนำความจริงเหล่านี้มาให้เป็นประโยชน์ และโดยการยอมรับถึงข้อดีของเชื่อโรคที่ไม่รุนแรงซึ่งมีอยู่ในตัวนกเอง มาเป็นตัวป้องกันโรคที่รุนแรง เรื่องนี้ ผมเองยอมรับว่าว่าการรักษนกด้วยยาก็ยังมีความจำเป็นอยู่ แต่ควรจะมีการผสมผสานการป้องกันและการรักษาที่เหมาะสมควบคู่กันไป ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิต้านตามธรรมชาติจึงนับว่าเป็นวิธีที่ดีและน่าได้รับปฏิบัติ

26. สุดท้าย ผมยังหวังอีกว่าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาในลักษณะไม่ครบโด๊สของยา Emtryl และยาอื่น ๆ จะช่วยให้นักเลี้ยงนกได้หาทางเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เคยใช้อยู่ให้เหมาะสมถูกต้องมากยิ่งขื้น ในที่สุด

โดย Gordon A Chalmers, DVM
ได้รับอนุญาตให้แปลแล้ว
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
Canker โดย Gordon A Chalmers (อติสิทธิ์)
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Siam Falconry Club :: สุขภาพ อาหาร การดูแล สุขาภิบาล Care and Prevention-
ไปที่: