Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
Similar topics
    เข้าสู่ระบบ(Log in)
    Username:
    Password:
    เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
    :: ลืม(forget) password
    ค้นหา
     
     

    Display results as :
     
    Rechercher Advanced Search
    Latest topics
    Navigation
     Portal
     Index
     รายชื่อสมาชิก
     ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
     ช่วยเหลือ
     ค้นหา
    Forum

     

     บทความ เรื่องโรคในลำใส้

    Go down 
    ผู้ตั้งข้อความ
    SFC.Thai
    Admin members
    Admin members
    SFC.Thai


    จำนวนข้อความ : 230
    Points : 443
    Join date : 14/07/2010
    Age : 52
    ที่อยู่ : Thailand

    บทความ เรื่องโรคในลำใส้  Empty
    ตั้งหัวข้อเรื่อง: บทความ เรื่องโรคในลำใส้    บทความ เรื่องโรคในลำใส้  EmptyMon Mar 17, 2014 5:21 pm

    แปลของสตีฟส่งมา เรื่องโรคในลำใส้

    1. เนื่องจากการเคลื่อนย้ายและการค้านกที่เกิดมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับนกพิราบตามมา อันเนื่องมาจากสาเหตุสามประการคือ

    1.1 ภูมิต้านทานของนกพิราบเอง
    1.2 แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ พาราไชร์ ฯลฯ ที่มีอยู่
    1.3 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและความเครียดของตัวนก

    ด้วยสาเหตุหลัก ๆ ที่กล่าวมานี้จะทำให้เกิดโรคแก่ตัวนกได้

    2. เป็นที่น่าสังเกตุว่า การได้รับเชื้อโดยผ่านพาหะใดก็ตามมาสู่ตัวนก มิได้หมายความว่าตัวนกเองจะแสดงอาการของโรคนั้น ๆในทันที ตัวอย่างเช่นการได้รับเชื่อบิดเล็กน้อยและฝังตัวอยู่ในเนื่อเยื่อลำไส้ ก็จะทำให้นกสร้างภูมิต้านทานภายในของตัวเองเพื่อต่อต้านเชื้อบิดตัวนั้น ในทางตรงกันข้าม นกจะสามารถสร้างภูมิต้านทานเพื่อควบคุมมิให้เชื่อบิดภายในตัวมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น อาการของโรคจะไม่แสดงออก

    3. อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สมดุลย์ในตัวนกเสียไป เช่นในกรงมีความอับชื้น พื้นเปียกอยู่ตลอดเวลา ในหน้าฝน เชื่อโรคที่ถูกถ่ายออกมาหรือแฝงตัวอยู่ ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นมาถึงจุดที่เป็นอันตรายได้

    4. และในเวลาอันรวดเร็ว อันเนื่องจากพื้นที่เปียก ตัวเชื่อโรคบิดจำนวนมากที่ปนมากับมูลนกที่มีเชื้อ ก็จะมีการะจายตามพื้นกรง เมื่อนกไปจิกกินเข้า ก็จะติดโรคและเกิดอาการ สำหรับลูกนก จะเป็นมากเนื่องจากยังมีภูมิต้านทานน้อย เพราะยังไม่เคยได้สะสมเชื้อเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานมาก่อน จึงทำให้เกิดการติดเชื้อและระบาดอยางรุนแรง

    5. โรคอื่น ๆ อันเกิดจากไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ ก็จะเกิดขึ้นได้อันมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนี้เช่นกัน สภาพกรงดังกล่าวเสริมให้เกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ ขึ้นเช่น พาราไทฟอยร์ เป็นต้น

    6. ในนกพิราบ โรคในกลุ่ม salmonella sp หรือพาราไทฟอยร์นี้ มักจะเกิดจากสายพันธุ์ โคเปนเฮเก็น ถึงแม้นจะมีสายพันธุ์อีกหลาย ๆ ด้วยเช่นกัน แต่สายพันธุ์นี้ดูเหมือนจะเป็นมากในสัตว์ปีกประเภทนกพิราบ ถ้าจะเรียกว่าเป็นข่าวดีที่มีอยู่บ้างในข่าวร้าย ก็คือว่าโรคสายพันธุ์นี้ ยานกที่มีอยู่สามารถกำจัดได้ และมีโอกาสที่ติดเชื่อสู่คนน้อยมาก ชี่งต่างกับสายพันธุ์อื่นที่สามารถถ่ายทอดสู่สัตว์อื่นหรือคนได้ ลูกนกที่ติดเขื้อจะแสดงอาการถ่ายเป็นสีเขียวเนื่องมาจากเมือกของเหลวผ่านลำไส้ออกมา เมื่อการติดเชื่อเข้าสู่สายเลือดอาการจะรุนแรงขึ้น จะเกิดอาการบวมตามปีก หรือข้อขา

    7. โดยทั่ว ๆ ไปยาปฎิชีวนะที่ใช้อยู่จะได้ผลดีพอสมควร แต่เมื่อโรคหายไปแล้ว ก็มีบ้างที่นกที่ดูแข็งแรงเหล่านั้นจะมีบางตัวเป็นพาหะของโรค แม้นจะโดยทั่วไปจะดูไม่ออกว่ามีโรคแผงตัวอยู่ โดยทั่ว ๆ ไปเชื้อโรคจะฝังตัวอยู่ในตับ

    8. และเมื่อสถานการณ์สุกงอม นกที่เป็นพาหะเกิดความเครียดจากการป้อนลูก การแข่งขัน หรืออื่น ๆ เชื้อโรคก็เริ่มจะเคลื่อนย้ายจากตับสู่ลำไส้ และกลายเป็นมูลนกไปในที่สุด เมื่อลูกนกที่อยู่ในกรงเดียวกันไปได้รับเชื้อโดยการจิกกินเชื้อดังกล่าวเข้า ก็จะติดเชื่อด้วยเช่นกัน

    9. ความเครียดทำให้เกิดสารเคมีที่ไปลดภูมิต้านทานต่อโรค ซึ่งโรคนักฉวยโอกาสนี้จะขยายตัวในตัวนกนั้นและถ่ายออกมาสู่ภายนอกในมูลนก
    ตามที่ได้เคยกล่าวมาแล้ว ยาที่ใช้อยู่มักได้ผลดี แต่เมื่อนกหายแล้ว ก็ยังมีโอกาสเป็นพาหะนำโรคติดตัวอยู่ แล้วพร้อมจะถ่ายเทออกมาสู่นกตัวอื่น ๆ หรือรุ่นใหม่ ๆ ในกรงได้ การใช้น้ำยากรดโซเดียม sodium acid sulfate ล้างพื้น คอนเกาะที่กรง หรือช่องต่าง ๆ จะเป็นผลดีในการควบคุมโรค

    10.เนื่องจากเชื้อโรคเหล่านี้เจริญเติมโตได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง ดังนั้น ในช่วงที่มีโรคชนิดนี้ระบาดในกรง ห้ามนำปูนขาว lime ไปใช้เช็ดกรงหรือที่ยืนต่าง ๆ

    11. ในส่วนของการทดแทนการใช้ยาประเภทปฏิชีวนะ antibiotics ต่าง ๆ มีข้อมูลที่น่าสนใจเสริมคือ ในปี 1973 นาย Eska Nurmi ประเทศ ฟินแลนด์ ได้พัฒนาวิธีการดูแลลูกไก่เกิดใหม่ให้อยู่ในสภาพแข็งแรงปลอดโรคโดยการให้มูลนกที่มาจากนกที่ปลอดโรค แข็งแรง แก่ลูกไก่เหล่านี้

    12.หลักการที่หนึ่งก็คือการให้แบคทีเรียที่ดีแก่ลูกไก่เพื่อไปเพิ่มภูมิต้านทาน จะช่วยไปเคลือบลำใส้ไม่ให้ตัวเชื่อโรคแทรกซึมเข้าไปในสายเลือดได้ ขณะเดียวกันหากแม่ไก่ไปคุ้ยเขี่ยบริเวณที่โรคแบคทีเรียดี ๆ นี้ ลุกไก่ก็จะได้รับภูมิดีเข้าไปด้วย กลไกง่าย ๆ ก็คือการได้รับภูมิดีเข้าไปเคลือบลำใส้เพื่อปกป้องและสร้างสมดูลของภูมิต้านทานหากได้รับเชื้อร้ายเข้ามาในโอกาสต่อไป

    13.หลักการที่สองก็คือเมื่อลูกไก่ได้รับแบคทีเรียที่ดีเหล่านี้เข้าไป เชื้อดีเหล่านี้สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้จากสภาพไร้ออกซิเจน เปลี่ยนแปลงตัวเองกลายเป็นสภาพกรด เข้ามาทดแทนสภาพด่างที่มีอยู่ในลำใส้

    14. ตามที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว เชื้อโรคต่าง ๆ มักจะเติมโตได้ดีในสภาพที่เป็นด่าง การเพิ่มแบคทีเรียดี ๆ เหล่านี้ ในรูปแบบที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ ยังมีอยู่มากในโยเกิร์ต ซึ่งจะช่วยเคลือบลำใส้เป็นการลดการเจริญเติบโตของโรคได้มาก อย่างไรก็ตามวิธีป้องกันที่ดีนี้ ควรจะต้องเสริมด้วยมาตรการเสริมอื่น ๆ ตามความจำเป็นด้วยเช่นกัน (ความเห็นผู้แปล: ผมเพิ่งถึงบางอ้อ ที่โฆษณาขายยาคูลท์ ที่ขายดิบขายดีจนแทบไม่พอขายอยู่นั้น มีหลักการคือการส่งจุลินทรีย์ ที่ดีเรียกว่าแลกโตบาซิรัสเพื่อเข้าไปช่วยปรับสมดุลย์ต่อสู้กับเชื่อโรคต่าง ๆ ที่อาจเข้าสู่ร่างกายได้ ผมรับเป็นสมาชิกมาหลายสิบปีแล้ว ดื่มวันละขวด มิน่าละร่างกายจึงแข็งแรงไม่ค่อยเป็นอะไร ก็เพราะอย่างนี้นี่เอง ยังไงก็ไม่เลิกกินแล้ว ทั้งที่ไม่เคยเห็นประโยชน์มา แต่เพราะเห็นว่าไม่แพงจึงรับเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง จึงขอถือโอกาสช่วยประชาสัมพันธ์ให้ยาคูลย์ด้วยเลยในโอกาสนี้)

    15. ในวงการค้ายาสัตว์ปีก ก็ได้ใช้หลักการนี้พัฒนาสารเพื่อเพิ่มภูมิต้านทางโดย วิธีคือการนำเชื้อจากไก่ที่ปลอดชื้อมาสร้างสร้างภูมิต้านทาน ยาเหล่านั้นมาในรูปของยาฝสมน้ำดื่มเพื่อเสริมภูมิ แบบเดียวกับที่เรากินโยเกิร์ตนั่นแหละ ก็ลองเลือกหาซื้อได้ทั่วไป แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่า เคยลองนำยาบางตัวมาวิเคราะห์แล้ว พบว่าตัวแบคทีเรียดีมีน้อยเกินไป

    16. ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก การนำสารดีเหล่านี้มาใช้มีอยู่สามสถานการณ์

    16.1 ให้แก่ไก่โตแล้ว เพื่อเสริมสร้างสารดีในลำใส้

    16.2 สำหรับนกพันธุ์ ในกรณีที่เกิดโรคระบาด ก็จะให้ยาฆ่าเชื้อก่อน แล้วจึงตามด้วยสารนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

    16.3 ในสภาวะที่นกเกิดความเครียด ก็จะให้สารนี้แก่นกเพื่อเพิ่มกรดในลำใส้เพื่อสร้างสมดุลในการต่อต้านโรค

    17. มีข้อแนะนำสำหรับการใช้สารนี้ คือเนื่องจากเป็นเชื้อดี ดังนั้นจึงต้องให้มีชีวิตอยู่ ไม่ใช่เชื้อตายแล้ว จึงไม่ควรนำไปวางไว้ในที่โดนแดด แสงสว่างมาก ต้องไม่ผสมในน้ำที่มีคลอรีน ไอโอดีน หรือ อื่น ๆ ซึ่งจะทำให้เชื้อตาย หรือไม่ให้สารนี้ในช่วงให้ยาแอนตี้ไบโอติก คือยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะทำให้เชื้อดีนี้ตายด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนา สารอื่น ๆ ที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกัน ซึ่งพอสรุปได้ว่า มีหลักการคือ เสริมสร้างสารที่จะลดการขยายตัวของเชื้อโรค และสารที่เคลือบลำใส้เพื่อป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แทรกซึมเข้าไปในสายเลือด

    18. ผลจากการใช้สารเหล่านี้ มีตัวอย่างที่ยกขึ้นมาได้คือ มีผู้เลี้ยงนกคนหนึ่งต้องประสบกับปัญหานกท้องเสียตายเป็นจำนวนมาก เขาจึงนำสารที่ทำโยเกิร์ต มาผสมน้ำนมอุ่น ไว้ในที่อุ่นเพื่อให้แบคทีเรียขยายตัว แล้วนำมาผสมกับอาหารนก นำมาให้พ่อแม่นกฟักกิน เมื่อนำไปป้อนลูก ปรากฏว่า ลูกนกแข็งแรงไม่เป็นโรค ปัญหาหมดไป อีกตัวอย่างหนึ่งคือนักเลี้ยงนกคนหนึ่งมีปัญหาลูกนกฟักรอบแรกมีปัญหาโรคลำใส้ชนิดหนึ่ง ulcerative enteristis เขาจึงนำโยเกิร์ตมาฝสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้เหลวพอแล้วป้อนให้ลูกนกอายุ 10 ถึง 11 วัน วันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ปรากฏว่านกไม่เป็นปัญหานี้อีกต่อไป

    19. ถึงแม้นเรื่องนี้จะไม่สามารถยืนยันผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน เพราะว่าไม่ได้มีการทดลองนกในลักษณะแยกเป็นสองกลุ่ม คือ กล่มที่ให้สาร และกลุ่มที่ไม่ได้ให้ แต่ก็พอจะมาทดลองใช้เพื่อเสริมกับการให้สารเพิ่มภูมิต้านทานที่มีขายอยู่ได้

    20. พูดถึงสาเหตุที่เกิดความเครียดในตัวลูกนก ก็มีสาเหตุเมื่อลูกนกเริ่มหย่าอาหารจากพ่อแม่ ต้องถูกแยกออกมา ดูแลตัวเอง ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ต้องหิว อาหาร หิวน้ำ กลัวนกอื่น เหล่านี้จะเพิ่มความเครียดให้แก่ลูกนก เราสามารถเพิ่มภูมิต้านทานได้โดยการผสมโยเกิร์ตในน้ำดื่ม หรือในอาหารเพื่อให้แก่นก สองสามวันก่อนและหลังการแยกจากพ่อแม่

    21. โดยทางปฏิบัติ จริง ๆ แล้วเราสามารถให้อาหารในลักษณะดีได้แก่นกทั้งหมดที่กำลังเพาะลูก เพราะพ่อแม่จะได้รับสารดีไปป้อนลูก ในขณะเดียวกัน ก่อนและหลังการแยกลูกนก เราก็สามารถทำซ้าได้เช่นกัน การให้โยเกิร์ตหนึ่งช้อนโต๊ะผสมในน้ำดื่มหนึ่งแกลลอนนับว่าได้ผลดี แต่ในช่วงแรก ๆ นกอาจจะไม่อยากดื่มน้ำ ก็ลดลงมาเหลือเศษหนึ่งส่วนสี่ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มภายหลัง ๆ จากนกคุ้นแล้ว

    22. มีช่วงสำคัญอีกสองช่วงที่ควรใช้วิธีนี้ คือก่อนส่งนกเข้าแข่งขัน และหลังจากนกบินกลับมาแล้ว เพราะเป็นช่วงเครียดของนกเช่นกัน การเพิ่มปริมาณแบททีเรียดี ๆนกจะควบคุมปริมาณของเชื้อโรคได้ดี และป้องกันจากการไปได้รับเชื่อใหม่ได้ การเพิ่มสารดี หนึ่งหรือสองวันก่อนเข้าแข่งจะทำให้โอกาสที่จะติดเชื้อใหม่น้อยลง ขณะเดียวกันเมื่อนกบินกลับมาแล้ว ปริมาณเชื่อที่ได้รับมาใหม่จะถูกลดลงไม่ให้มาทำอันตรายนกที่อยู่ในกรงได้ สำหรับนกที่กลับกรงช้าหลาย ๆ วันถัดมาเนื่องจากหลงหรือบาดเจ็บ ก็ควรได้รับการดูแลด้วยวิธีการนี้เช่นกัน รวมทั้งการขนย้ายนกไปตามที่ต่าง ๆ เช่นนำนกไปขายหรือย้ายที่อยู่

    23. โดยเฉพาะนกใหม่ ๆ ทั้งหลาย ซึ่งอาจจะติดโรคต่าง ๆ เช่น circavirus infections, แค็งเกอร์ และบิด canker or coccidiosis ซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อน ก็จะได้รับประโยชน์จากการเสริมภูมิต้านทานโดยเชื้อแบคทีเรียดี ๆ เหล่านี้

    24. โปรดระวัง อย่าให้สารดีเหล่านี้พร้อมกับยาปฏิชีวนะ เพราะยาจะฆ่าสารดีด้วยเช่นกัน ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ให้ใช้ก่อนตามจำนวนวันที่ต้องการ แล้วจึงให้สารดีในน้ำหลังจากจบจากการให้ยาแล้ว

    25. ยังมีวิธีการคล้ายคลึงกันในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ที่ให้แก่ไก่พ่อแม่พันธุ์ หรือแม้แต่ไก่ที่นำไปทำเป็นอาหารคือ นำนำตาลแลกโต้ส ผสมในอาหารหรือน้ำในอัตราส่วนเล็กน้อยเช่นห้าเปอร์เซนต์ สารเหล่านี้ได้จากหางน้ำนมจากโรงงานนมและเนยแข็ง ซึ่งเมื่อเติมเข้าไปแล้วไก่กินเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นสารดีในลำใส้ ข่วยปรับภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกัน

    26. วิธีการที่ใช้ สามารถนำมาใช้สำหรับนกพิราบได้ มีทั้งที่ผสมในอาหาร และผสมในน้ำ วิธีการใช้จะมีอธิบายอยู่ในฉลากหน้าถุง ขอให้เลือกดูได้เอง สารเสริมเหล่านั้น จะระบุในฉลากว่า acid packs

    27. จะมีคำถามว่า นกพิราบไม่ใช่สัตว์ปีกที่ทำเป็นปศุสัตว์ ทำไมเรานำวิธีการของเขามาใช้ คำตอบก็คือ ข้อมูลทางวิชาการที่ดี ๆ สำหรับสัตว์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันควรจะนำมาพิจารณาด้วย เนื่องจากวงการนกพิราบยังเล็กอยู่ การคิดค้นโดยเฉพาะภายในวงการยังมีน้อย ดังนั้นควรจะยืมวิธีการจากสิ่งใกล็เคียงมาใช้โดยผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบได้เช่นกัน

    28. ไม่เพียงเท่านั้น วิธีการนำโยเกิร์ต มาใช้เพื่อเพิ่ม lactobacillus and streptococcus ซึ่งจะสร้างกรดและ จะมีส่วนช่วยป้องกันและเสริมภูมิต้านทานจากโรคสำใส้ และ ลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น salmonella E coli and clostridium spp อันเกิดจาก แบททีเรีย

    29. จุดใหญ่ใจความของบทความนี้ คือการเพิ่ม แบททีเรีย ดี ๆ ให้แก่ลำใส้นกและมีผลในการเพิ่มกรดซึ่งสร้างขึ้นภายในตัวนกเอง ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นในการลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ และยา แอนตี้ แบคทีเรีย อื่น ๆ ที่มีใช้อยู่มากมาย เกินความจำเป็น ซึ่งบางครั้งก็ใช้อย่างผิด ๆ ไม่เพียงจะเป็นข้อคิดสำหรับนักเลี้ยงนกพิราบ แต่จะช่วยกระตุ้นถึงปศุสัตว์อื่น ๆ ด้วย นี่จะเป็นวิธีที่จะให้หาหนทางป้องกัน แทนที่จะคิดแต่ใช้ยาแก้อยู่ตลอดเวลา เราควรใช้ยาต่อเมื่อจำเป็นและป้องกันไม่ได้เท่านั้น เราควรจะมีการนำข้อคิดจากบทความนี้ไปคิดและหาทางนำมาใช้เพื่อป้องกันแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ก้าวหน้าทันโรคต่าง ๆ หรือกล่าวแบบเชิงบวก ก็คือทำการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง นั่นเอง

    บทความโดย Gordon A chamlers

    อนุญาตให้พิมพ์และแปลแล้ว


    ผู้แปลและเรียบเรียง atisit pilanun

    --------------------------------------------------

    ผมถูกสตีฟวางยา แกเล่นเอาบทความทางวิชาการมาลง ผมเองไอ้เรื่องภาษาทางแพทย์ทางเคมีนะ ถนัดซะที่ไหน แต่เห็นว่าบทความน่าเป็นประโยชน์ เลยกัดฟันแปลซะเมื่อยเลย ผิด ๆ ถูก ๆ ก็ต้องขออภัย

    เรียนท่านสมาฃิก

    บทความอีกตอนหนึ่งที่สตีฟนำมาลง เรื่อง Coccedia and racing Performance
    ตีความได้ว่าเชื่อโรคทีมีอยู่ในตัวนก จะมีผลต่อผลงานการบินของนกมากน้อยเพียงใด

    ผมได้อ่านดูแล้ว เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่ถ้าจะนำมาแปลประโยคเป็นประโยคเลยก็จะเกินความจำเป็น เพราะมีเรื่องของสถิติเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ซึ่งผมคิดว่าไม่มีประโยชน์ที่เราจะต้องไปจำ เช่นว่ามีไข่พยาธิอยู่กี่หมื่นตัวในมูลหนึ่งกรัม เป็นต้น

    ผมจึงขอสรุปสาระสำคัญดังนี้

    มีคำถามตามหัวข้อนี้เข้ามาถึงนายกอดอน ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไม่เคยได้สำรวจวิจัยอย่างจริงจังมาก่อน เมื่อค้นหาข้อมูลก็พบว่า มีการใช้กล้องจุลทัศน์มานับไข่ของโรคบิดรวมทั้งพยาธิตัวกลม ตัวแบน แล้วกำหนดเป็นจำนวนว่ามีเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าปกติ มีจำนวนสูงขึ้นเท่าไหร่จึงจะเรียกว่ามากไปจนต้องมีการเยียวยารักษา

    โดยผลทางสถิตินั้น ยังไม่สามารถบอกได้ว่านกที่ถ่ายมาแล้วมีตัวเชื่อโรคปะปนออกมาน้อย จะทำสถิติการบินที่ดีกว่า แต่พอจะบ่งบอกภายในกรงของตัวเองได้ว่า นกตัวใดจะมีสุขภาพดีกว่ากัน จากการนับจำนวนนี้

    แต่วิธีการนี้ถ้านำไปใช้ก่อนเอานกเข้าไปแข่ง ก็จะสามารถบอกถึงสุขภาพส่วนหนึ่งของนกได้ เอาไว้เป็นข้อมูลว่า ว่าควรจะจดกุ๊กนกตัวไหนดี (นี่เขาเขียนไว้ทำนองนี้) ทั้งนี้เป็นเพราะการเพิ่มและลดของจำนวนไข่เชื่อโรคที่ปรากฏออกมาของนกตัวนั้น ๆ บ่งบอกถึงภูมิต้านทานภายในตัวนกเองว่า ในช่วงนั้น นกมีสุขภาพเป็นอย่างไร

    แต่ถึงแม้นเมื่อนกบินกลับมาแล้ว ผลของการตรวจจะพบปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ก็อย่าตกใจ ไม่จำเป็นต้องรีบทำการรักษา แต่ควรจะติดตามดูเมื่อนกได้รับการพักผ่อนเพียงพอแล้ว สุขภาพดีขึ้น ปริมาณของไข่เชื่อโรคก็ควรจะลดน้อยลงเอง

    คุณกอดอนบอกว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยพัฒนาในวงการที่อาจเป็นประโยชน์ในอนาคต

    ความเห็นของผู้แปล: ฝรั่งที่เลี้ยงนกที่เมืองนอกมีความคิดในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มีการใช้วิชาการหลายแขนงเข้าไปช่วยให้ผลงานดีขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของคำถามนี้ และโดยทางปฏิบัติก็มีการใช้กล้องจุลทัศน์นับกันจริง ๆ เรียกว่ามีการเข้าห้องแลปเลย

    ในเมืองไทยผมไม่แน่ใจว่าเราจะคิดกันไปไกลถึงขนาดนั้นหรือเปล่า แต่ที่เห็นแน่ ๆ คือ มีการใช้แว่นขยายในการส่องตานกเพื่อดูกันอย่างแพร่หลาย บางกรงนอกจากจะมีแว่นขยายแบบนี้แล้ว ยังมีกล้องส่องทางไกลเพื่อดูนกที่บินกลับมาด้วย แต่ผมว่าเซียนนกบางคนซื้อมาโดยมีจุดประสงค์จริง ๆเพื่อส่องเข้าไปดูในห้องคอนโดใกล้ ๆ กรงมากกว่า ฮ่า

    ดูนกบินบนท้องฟ้ากว้างจะไปเห็นอะไร สู้ส่องเป้านิ่งไม่ได้ สร้างจินตนาการได้ดีกว่าเยอะๆเลย

    มีบทความที่สตีฟนำมาลงค้างอยู่อีกเรื่อง ไว้จะหาเวลาแปลให้ครับ

    ขอบคุณครับ

    อติสิทธิ์
    ชมรมคนรักนกพิราบแข่งแห่งประเทศไทย
    ขึ้นไปข้างบน Go down
     
    บทความ เรื่องโรคในลำใส้
    ขึ้นไปข้างบน 
    หน้า 1 จาก 1
     Similar topics
    -
    » สัตว์ป่าต้องเพาะพันธ์ (บทความ)

    Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
    Siam Falconry Club :: สุขภาพ อาหาร การดูแล สุขาภิบาล Care and Prevention-
    ไปที่: