Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum

 

 โรคเชื้อราในสัตว์ปีก Apergillosis

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
SFC.Thai
Admin members
Admin members
SFC.Thai


จำนวนข้อความ : 230
Points : 443
Join date : 14/07/2010
Age : 52
ที่อยู่ : Thailand

โรคเชื้อราในสัตว์ปีก  Apergillosis Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: โรคเชื้อราในสัตว์ปีก Apergillosis   โรคเชื้อราในสัตว์ปีก  Apergillosis EmptySat Apr 20, 2013 3:30 am

โรคเชื้อราในสัตว์ปีก

Apergillosis

Aspergillosis


เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราในสกุล Aspergillus ซึ่งเป็นเชื้อราสกุลหนึ่งที่พบ
ได้ทั่วโลกและมีมากกว่า

185 ชนิด แต่มีประมาณ 20ชนิดที่สามารถก่อโรคในคนและสัตว์ได้
ชนิดที่พบมากที่สุดที่ก่อโรคได้ คือ

Aspergillus fumigatus, A. flavus, และ
A. niger


ตามลำดับ โดยประมาณว่า 90-95 % ของโรคที่เกิดจากเชื้อราในสัตว์ คือโรค
aspergillosis

เชื้อราบางชนิด เช่น A. flavus, A. parasiticus สามารถเจริญเติบโต
บนพืชผลทางการเกษตร เช่น เมล็ดข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเหลืองเมล็ดฝ้าย ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี และ

สร้างสารพิษ

(mycotoxin) บางอย่างได้โดยเฉพาะ Aflatoxin เชื้อราในสกุล Aspergillus พบได้
ทั่วไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก เช่นในดิน น้ำหรือพืชพรรณธัญญาหาร บริเวณที่พบเชื้อมากได้แก่

บริเวณที่อุ่น ชื้น เช่น พื้นคอกสัตว์ แหล่งให้น้ำและสิ่งที่กำลังเน่าเปื่อย เช่น อาหารที่ชื้น บูดเสีย

ซากพืชที่เน่าเปื่อย เชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วสร้างเยื่อใยได้ โคโลนีบนอาหาร

เลี้ยงเชื้อจะมีสีแตกต่างกัน เช่น สีเขียวแกมน้ำเงิน เหลือง ดำ เนื่องจากสามารถสร้างสปอร์ที่มีสี

ได้เชื้อราสกุลนี้ก่อให้เกิดโรค

Aspergillosis ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกและพบได้ในสัตว์หลาย
ชนิดเช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์ชนิดอื่นรวมทั้งคนและยังสามารถก่อโรคในพืชได้

อีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วสัตว์ที่เป็นโรคมักจะเป็นสัตว์ปีก เช่นไก่ เป็ด นกกระจอกเทศ เป็นต้น การ

ติดต่อส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราเข้าไป

สาเหตุโน้มนำที่ทำให้สัตว์ติดโรคนี้

ได้แก่

-

สภาพแวดล้อม
-

ภาวะเครียด เช่น อยู่กันหนาแน่น อาหารไม่เพียงพอ
-

ระดับภูมิคุ้มกัน
-

การได้รับยาต้านจุลชีพต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเมื่อสัตว์ได้รับสปอร์ของเชื้อราเข้าไป จะไม่
แสดงอาการของโรคทุกตัว ขึ้นอยู่กับปริมาณสปอร์ที่สูดเข้าไป และระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายสัตว์

ถ้าได้รับสปอร์เข้าไปในปริมาณน้อย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็สามารถจัดการได้ ถ้าได้รับ

สปอร์เข้าไปในปริมาณมากเกินกว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะจัดการได้ก็จะก่อโรคได้ ถ้า

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ดี เช่น ลูกสัตว์ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาหรือสัตว์อยู่ในภาวะ

เครียด เช่น มีโรคอยู่แล้ว อยู่กันอย่างหนาแน่นหรือได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็น

โรคได้ง่าย สัตว์ที่เป็นโรคจะแสดงอาการดังนี้

ชนิดเฉียบพลัน

( acute )
มักเกิดกับลูกสัตว์อายุน้อย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนา โดยจะแสดงอาการหายใจ

เร็วมีไข้ เบื่ออาหาร ท้องเสีย ช่วงเวลาการเกิดโรคจะเร็วสัตว์อาจตายได้ภายในเวลา

24-48 ชม. ถ้า
สัตว์เป็นโรคอื่นอยู่แล้วอาจทำให้โรครุนแรงยิ่งขึ้น

ชนิดเรื้อรัง

(chronic)
ส่วนใหญ่จะพบในสัตว์โต เมื่อได้รับสปอร์เข้าไปจะไม่แสดงอาการในทันทีทันใดแต่

อาการจะค่อยปรากฎเมื่อเวลาผ่านไป โดยจะแสดงอาการหายใจเร็ว อ้าปากหายใจ ปีกตก ไอ จาม

ซึม คอบิด ในระยะสุดท้ายจะมีอาการซึมมาก ไม่อยากเคลื่อนไหวหายใจลำบาก โดยสังเกตได้

จากการเคลื่อนไหวขกระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกจากนั้นไม่นานก็ตายไปจะไม่แสดงอาการใน

ทันทีทันใดแต่อาการจะค่อยปรากฎเมื่อเวลาผ่านไป โดยจะแสดงอาการหายใจเร็ว อ้าปากหายใจ

ปีกตก ไอ จาม ซึม คอบิดในระยะสุดท้ายจะมีอาการซึมมาก ไม่อยากเคลื่อนไหวหายใจลำบาก

โดยสังเกตได้จากการเคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกจากนั้นไม่นานก็ตาย

พยาธิกำเนิด

เมื่อสัตว์ได้รับสปอร์เข้าไปโดยการสูดสปอร์ก็จะไปที่ปอดแล้วเจริญงอกงามสร้างเยื่อใยสี

ขาวเป็นจำนวนมากแทรกอยู่ที่เนื้อเยื่อปอดทำให้เกิดเนื้อตายที่ปอด ร่างกายก็จะสร้างเม็ดตุ่มสีขาว

(nodularformation)

ซึ่งมีลักษณะคล้ายเม็ดตุ่มที่เกิดจากวัณโรค (tubercle) ทำให้พื้นที่ในการ
แลกเปลี่ยนก๊าซของปอดจะลดลงมาก จึงทำให้สัตว์ต้องการ

oxygen มากขึ้นซึ่งจะเห็นได้จาก
อาการที่สัตว์อ้าปากหายใจและทำให้สัตว์ตายได้ในที่สุด

การวินิจฉัยโรค

วิธีวินิจฉัยโรคที่ให้ผลแน่นอนและแม่นยำคือ การผ่าซาก การเพาะหาเชื้อราจากเม็ดตุ่มสี

ขาวที่ขึ้นบริเวณเนื้อปอด และการตรวจดูเนื้อเยื่อทางห้องปฏิบัติการ

การผ่าซาก

การเกิดโรคอาจเกิดแบบเฉพาะที่ หรือกระจายทั่วอวัยวะแต่ส่วนใหญ่มักจะพบที่ปอดเมื่อ

ผ่าซากจะพบเม็ดตุ่มเล็กๆ จนถึงขนาดเม็ดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วมีสีขาวเหลืองกระจายอยู่บริเวณปอด

หรือถุงลม ซึ่งจะคล้ายกับเม็ดตุ่ม

tubercle ของวัณโรคและยังพบเยื่อใยสีขาวของเชื้อรากระจาย
อยู่เต็มปอด ถุงลมหรือขั้วปอด

การรักษา

ในสัตว์อายุน้อยมักรักษาไม่ได้ผล เนื่องจากสัตว์จะตายเสียก่อน ส่วนสัตว์โตที่เป็นโรคควร

ให้ยาฆ่าเชื้อรากินติดต่อกันนาน

3-6 เดือน ซึ่งจะใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายมาก จึงควรเน้นที่
วิธีป้องกันมากกว่ารักษา

การควบคุมและป้องกัน

การป้องกันที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้ดังนี้

-

กำจัดแหล่งที่เป็นที่เจริญเติบโตของเชื้อรา เช่น บริเวณที่เปียกชื้น สิ่งปูรองพื้นคอกพื้นโรงเรือน เศษหญ้าหรือผักที่เน่าเปื่อย
-

ควบคุมปริมาณของฝุ่นในฟาร์มเนื่องจากฝุ่นจะเป็นตัวนำสปอร์ของเชื้อรากระจายไปใน
ฟาร์มฉะนั้นจึงควรใช้วัตถุที่มีคุณภาพเพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่น

-

การจัดการด้านสุขอนามัยที่ดีจะลดปริมาณเชื้อราไม่ให้มากจนก่อโรคได้ การใช้ยาฆ่าเชื้อ
ราที่มีประสิทธิภาพเช่น

glutaldehyde spray หรือformaldehyde ที่อยู่ในรูปก๊าซฆ่าเชื้อบริเวณ
โรงเรือนพื้นคอก รวมทั้งสิ่งปูรองก็ต้องมีการรมควันฆ่าเชื้อราด้วยเช่นกัน สิ่งปูรองใหม่ต้องทำความ

สะอาดโดยการฆ่าเชื้อก่อนที่นำมาใช้ทุกครั้ง

ที่มาของข้อมูล: สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
โรคเชื้อราในสัตว์ปีก Apergillosis
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Siam Falconry Club :: สุขภาพ อาหาร การดูแล สุขาภิบาล Care and Prevention-
ไปที่: