Siam Falconry Club
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Siam Falconry Club

ชมรมผู้ฝึกเหยี่ยวเป็นกีฬาแห่งประเทศไทย
 
บ้านบ้าน  Events  PublicationsPublications  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum

 

 ยารักษาสัตว์

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyMon Mar 21, 2011 4:55 pm

ยารักษาสัตว์
ข้อมูลที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับยาสัตว์ อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากธรรมชาติ ที่สัตวแพทย์นิยมนำมาใช้กับสุนัขและแมว เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อเจ้าของสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าตูบ เจ้าเหมียว หรือไอ้ตัวเล็กๆ ของชั้น ไอ้หมูตอน อื่นๆ อีกมากมายที่มีการสรรหามาใช้ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เจ้าของควรรู้ เป็นต้นว่า ชื่อสินค้า ทั้งชื่อการค้า (trade name) ชื่อตัวยาสำคัญ (active ingredient) รูปแบบของยา หรือสารสำคัญ (form) การเก็บรักษา (storage) ขนาดของยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับสัตว์ (dose) การให้ หรือฉีด (administration) การใช้ (uses) ผลข้างเคียงต่างๆ (side effects) ที่เกิดจากการใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ข้อบ่งใช้ หรือข้อห้ามการใช้ต่างๆ (contraindications) ความเป็นพิษของยา (toxicities) และคำเตือนต่างๆ ที่เกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์นั้น จะได้มีการนำมากล่าวถึงในลำดับต่อๆ ไป

อย่างไรก็ตามพึงระลึกอยู่เสมอว่า ยา หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่นำมาใช้กับสัตว์ ตูบ หรือเหมียว ควรนำมาใช้ด้วยความระมัดระวังและมีการใช้ภายใต้การแนะนำของสัตวแพทย์ประจำตัวสัตว์เลี้ยงของท่าน ขนาดของยาที่ใช้กับสัตว์จะมีการผันแปรไปตามขนาดของตัวสัตว์ หรือน้ำหนักตัวของสัตว์ (ทุกครั้งที่ใช้มีการใช้ยาจึงควรมีการชั่งน้ำหนักสัตว์เสมอ) ภาวะทางสุขภาพของสัตว์ (health conditions) อายุและแม้แต่พันธุ์ของสัตว์ในบางกรณีต้องคำนึงถึงเช่นกัน กรณ๊ที่มีการใช้ยา หรือสารเสริม (supplement) ในเวลาเดียวกันหลายๆ ชนิด อาจจะต้องคำนึงถึงผลที่จะมีต่อประสิทธิผลและความเป็นพิษของยา ดังนั้นควรตรวจสอบกับสัตวแพทย์ประจำตัวสัตว์ของท่านเสมอ เมื่อจะมีการให้ยา หรือสารเสริมกับสัตว์เลี้ยงของท่าน

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
Aminopenicillins
Cephalosporin (Keflex, Cefa-drops)
Clindamycin (Antirobe)
Enrofloxacin (Baytril)
Erythromycin
Gentamicin (Gentocin)
Kanamycin (Amforal, Kantrim)
Marbofloxacin (Zeniquin)
Metronidazole (Flagyl)
Neomycin
Novobiocin (Albaplex)
Orbifloxacin (Orbax)
Ormetroprim/sulfadimethoxine (Primor)
Penicillinase-resistant Penicillins (Cloxacillin)
Extended-spectrum Penicillins (Carbenicillin)
(Natural) Penicillins (Penicillin G, Crystiben, Penicillin V)
Potentiated Penicillins (Clavamox, Augmentin)
Sulfadimethoxine & Ormetroprim (Primor)
Sulfadimethoxine (Albon, Bactrovet)
Tetracyclines (Doxycycline, Oxytetracycline)
Trimethoprim plus Sulfadiazine/Sulfamethoxazole (Tribrissen, TMP-SDZ)
Amikacin

ยาที่ออกฤทธิ์ต้านจำเพาะ (Antidotes)
Vitamin K (Phytonadione)
Acetylcysteine

ยาต้านเชื้ออรา (Antifungal)
Griseofulvin (Fulvicin)
Itraconazole (Sporanox)

ยาต้านฮีตามิน (Antihistamines)
Clemastine (Tavist 1)
Cyproheptadine
Dimenhydrinate (Dramamine)
Diphenhydramine (Benadryl)
Hydroxyzine (Atarax)
Chlorpheniramine (Chlor-Trimeton)
ยาต้านโปรโตซัว (Antiprotozoal)
Sulfadimethoxine (Albon, Bactrovet)
Trimethoprim plus Sulfadiazine/Sulfamethoxazole (Tribrissen, TMP-SDZ)
Metronidazole (Flagyl)

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอร์รอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatories)
Carprofen (Rimadyl)
Etodolac (Etogesic)
Meclofenamic Acid (Arquel)
Phenylbutazone
Aspirin

ยาที่ใช้ในการรักษาปัญหาทางพฤติกรรม (Behavior Modification)
Amitriptyline (Elavil)
Buspirone (Buspar)
Clomipramine (Clomicalm, Anafranil)
Diazepam (Valium)
Fluoxetine (Prozac)
Selegiline (Anipryl)

ยาที่ใช้กับระบบทางเดินอาหาร (Digestive Tract)
Activated Charcoal
Aminopentamide(Centrine)
Antacids/Phosphate Binders (Maalox, Milk of Magnesia)
Bismuth Subsalicylate (Pepto Bismol)
Cimetidine (Tagamet)
Cisapride (Propulsid)
Diphenhydramine (Benadryl)
Famotidine (Pepcid)
Kaolin/pectin (Pet Pectate, Kaopectate, Canine Pectate)
Loperamide (Immodium)
Metoclopramide (Reglan)
Metronidazole (Flagyl)
Misoprostol (Cytotec)
Omeprazole (Prilosec)
Pancreatic Enzymes (Pancrezyme, Viokase-V)
Petroleum-based Laxatives and Hairball Remedies (Laxatone)
Psyllium (Metamucil, Vetasyl)
Ranitidine (Zantac)
Sucralfate
Dimenhydrinate (Dramamine)
ยาขับน้ำ(Diuretics)
Furosemide (Lasix)
Mannitol

ยาที่ใช้ในการรักษาตา (Eye Medications)
Artificial Tears Atropine
Cyclosporin (Optimune)
Ophthalmic Medications

ยาที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันและยาต้านมะเร็ง(Immune System, Anti-cancer)
Acemannan
Azathioprine (Imuran)
Cyclosporin
Glucocorticosteroids (Prednisone, Dexamethasone, Hydrocortisone)
ยาที่ใช้เกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะและไต(Urinary Tract and Kidney)
Allopurinol
Antacids/Phosphate Binders (Maalox, Milk of Magnesia)
Erythropoietin (EPO, Epogen)
Estrogens (ECP, DES)
Methionine
Phenylpropanolamine (Dexatrim)
Potassium Supplements (Tumil K, K-Dur)

วิตามิน เแร่ธาตุ อิเลกโตรไลท์และสารผลิตจากธรรมชาติ(Vitamins, Minerals, Electrolytes, Nutraceuticals)
Fatty Acids (Vitacaps, Vitacoat, 3V Caps, Derm Caps)
Glycosaminoclycans (Glucosamine, Chondroitin)
Polysulfated Glycosaminoglycan (Adequan)
Potassium Supplements (Tumil K, K-Dur)
Vitamin K (Phytonadione)

ที่มา http://learners.in.th/blog/warat-64-15/251052
http://www.thaicalory.com/index.php?topic=5017.0;wap2
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyMon Mar 21, 2011 5:04 pm

1.ยาสามัญประจำบ้านสำหรับนกที่ควรมีใว้ติดบ้าน

ชื่อยา: ด้อคซี่ไซคลีน (doxycycline)
ประเภท: ยาแก้อักเสบ มีทั้งเป็นรูปเม็ด แคปซูล หรือแบบผงละลายน้ำ
ใช้รักษาอาการ: ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจ หวัด หลอดลม ทางเดินอาหารและลำไส้อักเสบหรือนกที่ซึมจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
การ ให้ยา: โดส 25mg/1ก.ก. ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ครึ่งเม็ดผสมน้ำ100ซี.ซี.ให้กินน้ำยาเอง 5 วัน เช้าละลายยา เย็นเทน้ำยาทิ้ง
หมายเหตุอื่นๆ: ยาตัวนี้ค่อนข้างระคายเคืองกระเพาะครับ หากกินผสมอาหารจะดี อีกอย่างยาจะค่อนข้างขม นกไม่ค่อยชอบ แต่หากผสมกับวิตามินรวมที่เป็นไซรัป ก็จะดีครับ ป้อนง่ายกว่า

ชื่อยา: เอ็น โรฟล๊อคซาซิน10% (enrofloxacin10%)
ประเภท: ยาแก้อักเสบ
ใช้รักษาอาการ: สามารถต่อต้านเชื้อทังแกรมบวกและแกรมลบคอบคุมได้กว้างกว่าด้อคซี่ รักษาอาการท้องเสียได้ด้วย
การให้ยา: โดส 15mg/1ก.ก. ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ละลายยาให้นกกินน้ำเอง 0.2ซี.ซี./น้ำ 50ซี.ซี.
หมายเหตุอื่นๆ: เป็นยาสัตว์ สรรพคุณจะดีกว่าด้อคซี่

ชื่อ ยา: เมโทรนิดาโซล (metronidazole)
มีหลายรูปแบบทั้งชนิดที่เป็นม็ด และเป็นน้ำ โดยแบบน้ำนั้นจะเป็นรูปแบบของยาฉีด คุณภาพและมีความบริสุทธิ์ของตัวยาสูง แต่นำมาคำนวณขนาดการให้ยาใหม่ให้เหมาะสมกับรูปแบบกิน ใช้ผสมน้ำให้กิน หรือใช้ป้อนโดยตรง แต่ยาฉีดจะหาซื้อยาก รูปแบบที่หาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไปคือในรูปแบบเม็ดซึ่งใช้ได้ดีเหมือน กัน ราคาไม่แพง ยิ่งซื้อเป็นกระปุกจะยิ่งถูกมาก สามารถนำมาบดผสมอาหารได้
ประเภท: ยาตัวนี้ปลอดภัยในการรักษาโรคเบื้องต้นเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และออกฤทธิ์ได้ดีกับแบคทีเรียกลุ่มอื่นๆ รวมถึงเชื้อบิดซึ่งถือเป็นโปรโตซัวที่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารทำให้อึมี เลือดปน
ใช้รักษาอาการ: ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวหรือโรคบิด อาการของโรคท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือดและโรคแคงเกอร์ มักเกิดในนกพิราบและนกเล็กบางสายพันธุ์เช่นฟิ้นส์7สี อาการของโรค กินอาหารแล้วผอมลงๆ อกจะแหลมและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากเป็นเชื้อราที่ทางเดินอาหาร นอกจากนี้ในนกปากขอจะมีโปรโตซัวอีกชนิดหนึ่งที่ก่อปัญหาเรื้อรัง ทำให้นกผอมลงเรื่อยๆ ซึ่งยา Metronidazole ก็ออกฤทธิ์คลอบคลุมโปรโตซัวชนิดนี้ด้วย การใช้ยาชนิดนี้ เป็นครั้งคราวจะช่วยลดปัญหาโปรโตซัวได้
การให้ยา: โดส25-50mg/1ก.ก. วันละครั้ง ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ละลายยาให้นกกินน้ำเอง ครึ่งเม็ด125mg/น้ำ100ซี.ซี.
หมายเหตุอื่นๆ: ซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป

ชื่อ ยา: poly-oph
ประเภท: ยาหยอดตา - แก้อักเสบ
ใช้รักษาอาการ: ในกรณีที่ยุงกัดหรือติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเลียทั้งแกรมบวกและลบได้
การให้ยา: หยอดตา
หมาย เหตุอื่นๆ: -

ชื่อยา: ไมโครสตาติน ชื่อการค้า (mycostatin)
ประเภท: ยาต้านเชื้อรา
ใช้รักษาอาการ: สาเหตุการเกิดโรคคือป้อนอาหารที่ข้นเกินไปและปริมาณมาก ทำให้เกิดเชื้อราที่กระเพาะพัก ต้องดูดอาหารเก่าออกให้หมดแล้วให้ยา
การ ให้ยา: โดส3ซ.ซี./1ก.ก. วันละ4ครั้งก่อนอาหาร5-10นาที 2-3วัน
หมายเหตุ อื่นๆ: มักใช้เฉพาะกับนกลูกป้อน

ชื่อยา: Bio+12
ประเภท: ยาปฏิชีวนะโบราณที่ไม่ค่อยแรงมาก และมีวิตามินบี 12 ผสมร่วมกับตัวยา มีตัวยาออกฤทธิสำคัญคือ Erythromycin
ใช้รักษาอาการ: แนะนำให้ให้ยาตัวนี้ในบางกรณีเพื่อป้องกันโรค เช่นในช่วงที่ฝนตกบ่อยๆ ให้ติดต่อกันสามวันเป็นอย่างน้อย
การให้ยา: ขนาดยาที่ให้สามารถดูข้างซองได้เลย
หมายเหตุอื่นๆ: -

ชื่อยา: KIALEXIN
ประเภท: ตัวยา CEPHALEXIN เป็นยาลดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจและปอด
ใช้รักษาอาการ: ใช้ตอนเมื่อนกเกิดอาการสำลักอาหารเข้าในหลอดลม โดยนกจะมีอาการสำลักอาหาร ( อ้าปากหายใจเหมือนหอบ แลบลิ้นออกมา )
การให้ยา: ตัวยาเป็นผง วิธีใช้ผสมน้ำ ให้เช้า / เย็น ขนาดอิเล็คตัสขนหนาม หรือกระตั้วมีเดียม ใช้ 1 ช้อนคนกาแฟ ( MAC ) ให้ติดต่อกัน 7 - 10 วัน
หมายเหตุอื่นๆ: -


2. วิธีเก็บรักษายา และ ข้อมูลทั่วไปของยาที่ควรรู้

ส่วน ใหญ่เรื่องการเก็บรักษายา ก็ดูข้างกระปุกหรือซองได้เลยครับ ให้หาคำว่า Expiry date หรือ Exp. date หรืออาจจะเขียนว่า วันหมดอายุ หรือวันสิ้นอายุ ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ฉลากที่แปะมาข้างกระปุก หรือไม่ก็ตรงฝา นอกจากนี้ก็ก็ดูหากยาเปลี่ยนสีก็เลิกใช้ไม่ว่ายาเม็ดหรือยาน้ำ โดยทั่วไปก็ควรเก็บยาในที่ที่ไม่ชื้น และอุณหภูมิไม่สูงเกินไป

สำหรับ บางคนที่ใช้ยาที่เป็นชนิดผงผสมน้ำป้อน (ขวดมักจะเป็นสีชา) หลังผสมแล้วควรเก็บในตู้เย็น ซึ่งใช้ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์)


3. อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการรักษาที่ควรมีติดบ้านหรือสำรองไว้

เพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องของ น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างกรงนก
อ่านได้จากกระทู้ http://www.siamphoenix.com/2008/htdoc ... php?topic_id=2001&forum=1

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนก
อ่าน ได้จากกระทู้ http://www.siamphoenix.com/2008/htdoc ... php?topic_id=1976&forum=1


4. การรักษาอาการเบื้องต้น
ลักษณะ อาการของนกป่วยในด้าน...
1. ทางเดินหายใจ
อาการ: นกอาจจะมีอาการจาม อ้าปากหายใจ หรือมีน้ำมูกเขรอะจมูก สำหรับนกปากขอนั้น จะมีเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างจำเพาะในนกปากขอคือไข้หวัดนกแก้ว (Psittacosis)
ยาที่แนะนำ: Doxycycline ยาตัวนี้เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (Broad spectrum) จึงนิยมให้ในโรคทางเดินหายใจอื่นๆด้วย ซึ่งเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย จึงแนะนำให้มีทุกครัวเรื่อน

2. ทางเดินอาหาร
อาการ: สังเกตจากอึนก ดูในเบื้องต้นว่าเหลวกว่าปกติไหม ปกติอึนกจะแบ่งเป็นสามส่วน ได้แก่ส่วนที่เป็นเนื้อของอึ ซึ่งจะมีสีต่างกันขึ้นกับอาหาร ส่วนที่สองคือส่วนปัสสาวะ ซึ่งจะเป็นของเหลว มีปริมาณไม่มากเนื้องจากนกไม่มีกระเพาะปัสสาวะ และส่วนสุดท้ายก็จะเป็นส่วนสีขาว ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นยูเรต เป็นรูปแบบหนึ่งของการขับปัสสาวะในนก นอกจากให้ดูลักษณะว่าเหลว หรือไม่แล้ว ให้ดูว่ามีสีขาวมากเกินกว่าปกติไหม และมีสีแดงปนอยู่หรือไม่ ซึ่งหากมีสีแดงก็จะเกิดจากการมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนปลาย ซึ่งเรามักจะนึกถึงบิด นอกจากนี้ก็ต้องดูที่กระเพาะพัก (Crop) ด้วย ว่านกสามารถย่อยอาหารได้ปกติหรือไม่
ยาที่แนะนำ: ยาในทางเดินอาหารที่แนะนำให้ใช้เบื้องต้นคือ Metronidazole


***การ ให้ยา โดยส่วนมากมักจะให้โดยตรง ยกเว้นในกรณีที่นกโตแล้ว ไม่สามารถป้อนได้ก็ต้องผสมน้ำให้กิน(แต่ไม่ควรผสมน้ำทิ้งไว้เกิน10-12ชม.คือ เช้าละลายน้ำ-เย็นเทน้ำยาทิ้ง)

ที่มา http://www.siamphoenix.com/2008/htdocs/modules/newbb/viewtopic.php?post_id=31120
http://fws.cc/luvbirds/index.php?topic=210.0
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyMon Mar 21, 2011 5:14 pm

น่าสนใจครับ เอามาให้อ่านกันอีก

ปกติแล้ว เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในนกปากขอ จะอยู่ในกลุ่ม แกรมเนคกาทีฟ หรือ แกรมลบ เสียเป็นส่วนใหญ่ สำหรับยาที่ออกฤทธ์กับแบคฯ แกรมลบ มีอยู่หลายตัว แต่ที่คิดว่า เป็นตัวเลือกตัวแรก สำหรับนกปากขอ น่าจะเป็น เอนโรฟลอกซาซิน [ Enrofloxacin ] ครับ โดสของยา 15-35 มิลลิกรัม/น.น.นก เป็นกิโลกรัม

คิดดังๆ..."การตอบปัญหาเรื่องนกป่วย เป็นเรื่องที่ค่อนข้างหมิ่นเหม่กับการล้ำเส้น ต่อผู้ที่ประกอบอาชีพสัตว์แพทย์ เป็นอย่างมาก แต่การที่ไม่ตอบ ก็ทำให้เกิดความสงสัยว่า นกที่ป่วยนั้นจะมีชีวิตอยู่รอดต่อไปอีกนานแค่ไหน "

คิดในใจ......" เมื่อมีคำถามเรื่องนกป่วย ถ้าจะตอบว่า.... พาไปหาหมอ... เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ เรื่องไปหาหมอ ใครๆก็ทราบ แต่ถ้าทำได้ หรือ ได้ทำไปแล้ว ก็คงจะไม่มาตั้งคำถาม เมื่อมาตั้งคำถาม ก็แสดงว่า ไม่สามารถ หรือ คิดว่าจะไม่พานกไปหาหมอ จึงต้องการคำตอบ "

อาการสำรอกอาหารของนก
สาเหตุมีอยู่หลายอย่างครับ เอาไว้จะค้นตำรามาเล่ากันทีหลัง แต่ที่แน่ๆ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ การที่มีเชื้อราในระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาหารที่กินเข้าไปไม่ย่อย พบได้บ่อยมากในลูกนกที่แยกออกมาป้อน ลักษณะของเชื้อรา จะเป็นจุด หรือ เป็นฝ้า สีขาว อยู่ภายในกระเพาะพัก หลอดอาหาร ภายในช่องปาก

นกที่ป่วย จะมีลักษณะผอม ร่างกายขาดน้ำ ผิวหนังที่นิ้วจะเหี่ยว ผิวหนังตามลำตัวจะมีสีคล้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ รวมทั้งอาหาร โอกาสที่จะมีโรคอื่นแทรกซ้อนได้ง่าย นก (โดยเฉพาะลูกป้อน)มักจะมีชีวิตอยู่รอดได้ไม่เกินสามวัน

วิธีการรักษา เชื้อราในช่องปากและกระเพาะอาหาร[Crop]
ให้ยา Nystatin (ชื่อวิทยาศาสตร์ ) ซึ่งได้แก่ Mycostatin(ชื่อการค้า) หรือ Tystatin(ชื่อการค้า) ขนาด0.3 ซีซี ต่อ น้ำหนักตัวนกหนึ่งกิโลกรัม วันละสามถึงสี่ครั้ง
ยารักษาสัตว์ 0030040000072

ยาตัวนี้ จะออกฤทธิ์โดยการสัมผัสกับบริเวณที่เป็นเชื้อราโดยตรง จึงต้องหยดเข้าที่มุมปาก ปล่อยให้นกค่อยๆกลืนลงไป ไม่ควรใช้สายยางหยอดเข้าไปในกระเพาะ

ผมคิดว่า การให้ยา น่าจะให้ก่อนที่จะให้อาหาร(หรืออะไรอื่นๆ)ประมาณสิบนาที เพื่อว่า ยาจะได้มีโอกาสสัมผัสกับบริเวณที่เป็นเชื้อราได้สักพัก ก่อนที่จะถูกเจือจางโดยอาหารที่ป้อนเข้าไป

Nystatin เป็นยาที่ไม่ถูกดูดซึมภายในระบบทางเดินอาหาร นกกินเข้าไปเท่าไหร่ ก็ถ่ายออกมาเท่านั้น การให้ในปริมาณที่เกินไปบ้างนิดหน่อย จึงคิดว่า คงไม่มีผลเสียมากนัก ครับ

เป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ใช้รักษาโรคเชื้อราในช่องปาก(สำหรับคน) ขวดเล็กๆ ขนาดบรรจุ 12 ซีซี ราคาประมาณๆ สี่สิบไปจนถึงแปดสิบ บาท เมื่อใช้กับนก ควรหาซื้อไซริ้งค์ขนาด 1 ซีซี มาด้วย และควรให้ยาติดต่อกันสักห้าวัน หรือ ประมาณหมดขวด สำหรับนกขนาดกลางๆ ครับ

ในช่วงที่เชื้อรายังไม่หาย ป้อนอะไรๆเข้าไป นกจะสำรอกออกมาหมด เพื่อเป็นการพยุงไม่ให้อาการทรุดหนักลงไปก่อนที่จะหาย(จากเชื้อรา) จึงควรให้น้ำและเกลือแร่ ดังนี้ครับ

ใช้สารละลาย Lactate Ringer's Solution (หาซื้อได้ตามร้านขายยาใหญ่ๆ) ผสมน้ำอุ่น ในอัตราส่วน 1:1 ป้อนให้นกกิน (โดยสายยาง) ครั้งละน้อยๆ วันละหลายครั้ง ป้อนไปอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มต้นด้วยอาหารที่เหลวมากๆ (1:4 - 5 ) ต่อไป

ที่กำหนดให้ใช้สายยาง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำนะครับ

1:4-5 คือ อาหารหนึ่งส่วน :น้ำสี่-ห้าส่วน

Lactate Ringer's Solution หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Lactate Ringer's Injection จัดอยู่ในประเภทน้ำเกลือชนิดหนึ่ง อยู่ในขวดพลาสติก มีสองขนาดคือ 500 และ 1000 ซีซี ปกติแล้ว จะใช้กับผู้ป่วย(คนหรือสัตว์)ที่ได้รับการผ่าตัดและสูญเสียเลือดไปมาก

สำหรับนก นอกจากใช้เมื่อต้องรักษาเชื้อราในกระเพาะแล้ว ยังใช้ในกรณีที่ลูกนกมีอาการอาหารไม่ย่อย และ ลูกนกแรกเกิดที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากด้วยครับ

วันนี้งานเยอะครับ มีโอกาสเปิดตำราได้แค่ไม่กี่หน้า เลยคงจะไม่มีอะไรมาเล่ามากนัก

หากอาหารที่นกสำรอกออกมา[regurgitation] เป็นอาหารที่ยังไม่ได้ผ่านการย่อยเลย อาหารส่วนนั้นจะมาจากกระเพาะพัก[Crop]ครับ แต่ถ้ามีบางส่วนที่ผ่านการย่อยไปบ้างแล้ว จะเป็นการอาเจียร [Vomit] อาหารจะไหลออกมาจากกระเพาะส่วนต้น [proventiculus]

สำหรับเรื่องที่นกผอมมาก เท่าที่นึกออกในตอนนี้ ก็อาจมีสาเหตุมาจาก

1.โรคหวัดเรื้อรัง [ CRD : Chronic respiratory disease ] โรคนี้ บางนก บางครั้ง จะไม่เห็นว่ามีน้ำมูกออกมา แต่หากจับมาตรวจดูอย่างไกล้ชิด จะเห็นว่า ขอบ หรือ รู จมูกจะชื้นๆ และ อาจจะรูขยายใหญ่ขึ้นด้วย เนื้อเยื่อรอบๆสีจะเปลี่ยนไป

2.โรคคลาไมเดีย หรือ ไข้หวัดนกแก้ว โรคนี้นกจะค่อยๆผอมลงๆ แต่อาจสังเกตุ แยกได้ตรงที่มักมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ เยื่อตาอักเสบ ทำให้ตาแฉะ ถ่ายเหลวเป็นสีเขียวซึ่งเป็นสีของน้ำดี(น้ำที่มาจากถุงน้ำดี) ช่วงท้องบวม(ตับโต) ฯลฯ

3.โรคแอสเปอร์จิโลซีส เกิดจากเชื้อราในระบบทางเดินหายใจ นกจะผอมได้มากเช่นเดียวกัน แยกจากโรคอื่นได้จากการที่มีเสียงร้องที่เปลี่ยนไป มีน้ำมูกใสๆ หรือ คราบน้ำมูกใสๆ รอบรูจมูก

4. พยาธิ์ นกจะผอมได้มากเช่นเดียวกัน ตรวจสอบได้โดยเอาขี้นกไปส่องกล้องครับ

5. ฯลฯ

ปัญหาเรื่องการเอานกไปหาหมอ มีมานานมากแล้ว และคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกนาน
หมอเกือบทั้งหมด ถนัดที่จะดูแลหมาและแมว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้คนส่วนใหญ่
หมอที่ชำนาญเรื่องนก ก็อยู่ห่างไกลจากผมเป็นพันกิโลเมตร
หมดปัญญาหอบหิ้วไปแล้วครับ และถ้าไปแล้ว เข้าไม่ถึงอีก ก็ไม่รู้ว่าจะไปทำไม
จึงเป็นที่มาของความพยายามช่วยเหลือตัวเอง และเล่าสู่กันฟังในหมู่เพื่อนพ้อง

หากการให้ยา รักษาสัตว์เลี้ยง โดยเจ้าของสัตว์นั้นๆ ถือเป็นความผิด ก็คงจะผิดกันทั้งบาง นะขอรับ

ที่มา http://www.siamphoenix.com/2008/htdocs/modules/smartfaq/faq.php?faqid=2


แก้ไขล่าสุดโดย nui_rc เมื่อ Tue Apr 19, 2011 5:03 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyMon Mar 21, 2011 5:33 pm

โรคคอดอก ในไก่ชน

โรคคอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไม่ยากนัก

โรคคอดอก จะหมายถึงโรคที่ทำให้เกิดดอก หรือตุ่มสีขาวบริเวณหลอดอาหาร บางรายเป็นก้อนขนาดใหญ่คล้ายฝี ที่คนเลี้ยงไก่สามารถมองเห็นได้ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชื่อว่า Trichomonas gallinae (ทริโคโมนาส กัลลิแน)

เป็นโรคติดต่อโดยการปนเปื้อนเชื้อในน้ำกิน จะพบรอยโรคเป็นตุ่มคล้ายดอกกระดุมสีขาว สามารถขูดออกได้ พบในปาก หลอดอาหาร และกระเพาะพัก ช่องปากจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไก่จะทำท่ากลืนบ่อยๆ คนเลี้ยงไก่มักจะบอกว่าขูดออกแล้วหาย พอไม่นานก็เป็นอีกครั้ง เหมือนโรคจะไม่ค่อยรุนแรง แต่บางรายเกิดเป็นก้อนเนื้อฝีขนาดใหญ่อยู่ที่เพดานปาก และคอได้ทีเดียว

แต่สิ่งที่ผู้เลี้ยงกังวล คือ ไก่ขันเสียงเปลี่ยน และการติดต่อไปยังตัวอื่น ซึ่งแน่นอนเป็นหนึ่ง มักจะพบตัวอื่นๆ เป็น คงต้องแก้ไขกันจริงๆ เสียที

เมื่อมาถึงมือหมอแล้ว หมอก็อย่าชะล่าใจคิดว่าเป็นเพียงโรคคอดอกที่จะพบดอกสีขาวแบบนั้น

ลักษณะอาการมีความใกล้เคียงกับโรคขาดไวตามินเอ ซึ่งจะเป็นฝ้าสีขาว และโรคติดเชื้อแคนดิเดีย (Candidiasis) รวมทั้งฝีดาษ แต่ฝีดาษจะมีอาการอื่นร่วมเพื่อแยกโรค

การวินิจฉัยโดยการขูดแล้วป้ายลงบนสไลด์ (wet smear) ตรวจลักษณะของเชื้อโปรโตซัวจากกล้องจุลทรรศน์ โดยจะเห็นการเคลื่อนไหวของเชื้ออย่างชัดเจนภายใต้กำลังขยายวัตถุ 40 เท่า

การรักษา

โดยการให้ยา dimetridazole 3 กรัม ในน้ำกิน 1 ลิตร หรือ 0.01875% ในอาหาร ในอเมริกาห้ามใช้ยาชนิดนี้ เพราะมีพิษต่อตับ หรือ

carnidazole 20-30 มิลลิกรัมต่อไก่หนัก 1 กิโลกรัม ให้กินครั้งเดียว หรือ

metronidazole 20-35 มิลลิกรัมต่อไก่หนัก 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละครั้งติดต่อกัน 2 วัน หากเจ้าของไม่สะดวกมักจะให้ยาในรูปกิน ขนาด 30 มิลลิกรัมต่อไก่หนัก 1 กิโลกรัม กินวันละ 2 ครั้ง นาน 5-7 วัน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ควรแยกไก่ป่วย จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค จนกว่าจะหายขาด

ก็คงไม่เห็นว่าเป็นโรคที่ยากเย็นนัก เห็นโพสถามกันมากมายหลายเว็บ จนคิดว่าโรคนี้มันกลายพันธุ์เป็นโรคปัญหาไปแล้วหรือ การรักษาต้องรักษาให้หายขาด และควรนำไก่มาตรวจอยู่เสมอ เพื่อลดการติดต่อไปสู่ตัวอื่น
ที่มา http://kailannaedu.ob.tc/-View.php?N=17
-----------------------------------------------------
ไก่เป็นหวัด

ถ้าไก่เป็นหวัดต้องหยุดอาบน้ำให้ไก่ การรักษาไก่ชนต้องใจเย็นๆ การรักษาต้องไม่ให้ไก่แพ้แรงเกินไป ไก่ที่เป็นหวัดควรทำการรักษาดังนี้
1. หยุดอาบน้ำให้ไก่
2. เตรียมยาแซดต้า
3. น้ำมันมะพร้าว
4. ยาขมตราใบห่อ
วิธีขั้นตอนการรักษา
1. เตรียมน้ำเย็น ขนไก่แยงคอ ผ้าอาบน้ำ เมื่อนำไก่มาแล้ว ให้เป่าจมูก จับไก่อ้าปากมองดูที่เพดานในปากว่ามีน้ำมูกอยู่ที่ เพดานหรือเปล่า ให้เอาขนไก่พันน้ำมูกที่เพดานออก แล้วเป่าจมูกไก่อีกครั้งดูว่าจมูกโล่งหรือยัง
2. เมื่อเห็นว่าจมูกโล่งดีแล้ว ให้เอาน้ำมันมะพร้าวหยอดที่จมูก แล้วเป่าน้ำมันให้ทะลุเพดาน แล้วเป่าอีกครั้งเมื่อเห็นว่าจมูกโล่งดีแล้ว ให้ทำอย่างนี้ทุกวัน
3. ยาขม 5 เม็ดยาแซดต้า 1 เม็ดให้กินพร้อมกันเช้าเย็นก่อนให้ยาจะต้องเป่าจมูกไก่ด้วยน้ำมันมะพร้าวให้โล่ งก่อน เมื่อรักษาจนเห็นว่าหายดีแล้วก็เริ่มอาบน้ำตามปกติ
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyFri May 27, 2011 11:11 pm

ยาประจำบ้านผมเอง
ยารักษาสัตว์ Dsc04388small
ขึ้นไปข้างบน Go down
SFC.Thai
Admin members
Admin members
SFC.Thai


จำนวนข้อความ : 230
Points : 443
Join date : 14/07/2010
Age : 52
ที่อยู่ : Thailand

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyWed Jun 13, 2012 11:42 pm

Chevi-kok 6,5g sachet (Coccidiosis) for Pigeon & Birds. For cage birds and pigeons. Pack of Two satchets.

Treatment against Coccidiosis

COMPOSITION
- Contains amprolium
- Contains vitamin A and vitamin K3 to support the recreation of the damaged gut mucosa
- Contains camomile flower extract as an anti-inflammatory agent

USE
- For 7 days, once a day, 1 sachet per 2 litres of drinking water
o r
admixed to the daily feed ration of 40

pigeonsยารักษาสัตว์ $(KGrHqR,!jQE68o5+uJ1BO+Z0)Y)Y!~~60_1

Chevi-Kok 6,5 ซองกรัม (โรคบิด) สำหรับพิ & นก สำหรับนกกรงและนกพิราบ

การรักษาโรคบิด
องค์ประกอบ
- มี amprolium
- มีวิตามินและวิตามิน K3 เพื่อสนับสนุนการนันทนาการของเยื่อบุลำไส้ที่เสียหาย
- ประกอบด้วยสารสกัดจากดอกแคมะไมล์เป็นตัวแทนต้านการอักเสบ

ใช้ - สำหรับ 7 วันเมื่อวันที่ 1 ซองต่อ 2 ลิตรของน้ำดื่ม r o admixed เพื่อปันส่วนอาหารประจำวันของ 40 นกพิราบ
ขึ้นไปข้างบน Go down
SFC.Thai
Admin members
Admin members
SFC.Thai


จำนวนข้อความ : 230
Points : 443
Join date : 14/07/2010
Age : 52
ที่อยู่ : Thailand

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyMon Jun 18, 2012 10:31 am

Hairworm, roundworm and tapeworm infestations in pigeons

Capsules assure an exact dosing of the active substance Fenbendazole
For deworming one capsule per bird is sufficient
Effective against all major types of worms
Attention: No deworming during the main moulting season and during hatching.

For contra-indications, side effects, interactions with other preparations, and special instructions: see package label.

infestations Hairworm, พยาธิตัวกลมและพยาธิตัวตืดในนกพิราบ

แคปซูลมั่นใจยาที่แน่นอนของ Fenbendazole สารที่ใช้งาน
สำหรับ deworming หนึ่งแคปซูลต่อนกก็เพียงพอแล้ว
มีผลบังคับใช้กับชนิดที่สำคัญทั้งหมดของเวิร์ม
ข้อควรระวัง: ไม่มี deworming ในช่วงฤดู​​ผลัดขนหลักและในระหว่างการฟักไข่

สำหรับข้อบ่งชี้ contra-, ผลข้างเคียงปฏิสัมพันธ์กับการเตรียมการอื่น ๆ
ยารักษาสัตว์ Ascapilla_capsules

ยารักษาสัตว์ P-ascapillaai-1262970162
ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Metronidazole   ยารักษาสัตว์ EmptyTue Jan 15, 2013 2:06 pm

Metronidazole 10% by DAC is a medicament that acts specifically trichomonades, hexamites, canker.

ยารักษาสัตว์ Dsc3667small

ขึ้นไปข้างบน Go down
nui_rc
Admin members
Admin members
nui_rc


จำนวนข้อความ : 1047
Points : 1494
Join date : 08/08/2010

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyTue Feb 26, 2013 2:44 pm

การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ

- การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการ mycoplasms, E.coli, Haemophilus gallinarium หรือ pasteurellae

- จำหน่ายในรูปแบบผงสำหรับการรักษาทางน้ำดื่มและในรูปแบบแคปซูลสำหรับการรักษาของนกแต่ละ

ปริมาณ:
1 ซองใน 2 ลิตรของน้ำดื่ม 3-5 วัน

ยารักษาสัตว์ Dsc5111small

ขึ้นไปข้างบน Go down
SFC.Thai
Admin members
Admin members
SFC.Thai


จำนวนข้อความ : 230
Points : 443
Join date : 14/07/2010
Age : 52
ที่อยู่ : Thailand

ยารักษาสัตว์ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ยารักษาสัตว์   ยารักษาสัตว์ EmptyMon May 06, 2013 3:00 am

ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ยารักษาสัตว์
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Siam Falconry Club :: สุขภาพ อาหาร การดูแล สุขาภิบาล Care and Prevention-
ไปที่: